• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Naprapats

#9721
ขายบ้านริมน้ำเจ้าพระยา (สรรพยา) ชัยนาท 850000 โทร 0837124115
#9723


กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดตัวกิจกรรม Design Service Sandbox (สนามทดลองแนวคิดธุรกิจ) ขึ้นเป็นครั้งแรก สานฝันคนรุ่นใหม่ระดมความคิดสร้างสรรค์นำเทคโนโลยี พัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ ตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ด้านการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของ SMEs และ Micro SMEs ให้สามารถปรับตัว แสวงหาโอกาส สามารถนำความรู้ด้านการออกแบบและเทคโนโลยีดิจิทัล มาพัฒนาธุรกิจให้เป็นที่ยอมรับในสากล ล่าสุดจัดกิจกรรม Design Service Sandbox : DEMO Day เปิดเวทีให้นักออกแบบนักพัฒนาเทคโนโลยี ดิจิทัล และ SMEs ที่เป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์รุ่นใหม่ ลงสนามทดลองแนวคิดธุรกิจ (Sandbox) สร้างนวัตกรรมสินค้าและบริการตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ และขยายโอกาสเติบโตสู่ระดับสากล



หม่อมหลวงคฑาทอง ทองใหญ่ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมบริการออกแบบ หรือ Design Service Society 2021 ดำเนินงานโดยสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งในปีนี้ มุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการออกแบบ (Design Service) และนักพัฒนาเทคโนโลยี ผู้ประกอบการ Tech Startup/ SMEs ในคอนเซ็ป "Tech Innovation x Design Creativity" เพื่อดึงศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อผลักดันภาคธุรกิจให้พร้อมรับมือความท้าทายและการแข่งขันในอนาคตของประเทศไทยและในตลาดโลกด้วย Digital Transformation ซึ่งสอดรับกับนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ด้านการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของ SMEs และ Micro SMEs สามารถนำความรู้ด้านการออกแบบและเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจสู่สากล



โครงการ Design Service Society 2021 มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมบริการออกแบบ หรือ Design Service ให้เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ช่วยสนับสนุน ยกระดับ ผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัว เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต โดยกิจกรรมภายใต้โครงการ ประกอบด้วย

1. กิจกรรมสัมมนาส่งเสริมความรู้ด้านการออกแบบเพื่อการพัฒนาธุรกิจ (Webinar) ภายใต้หัวข้อ "The future of business: transformation through design and technology" จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 ซึ่งกรมได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในวงการมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการออกแบบและเทคโนโลยีอาทิ เช่น เรื่อง Business Transformation by Design / Design Service / Design-Driven Enterprise และ Digital Solution for Business ซึ่งได้รับผลตอบรับดีมาก มีผู้สมัครเข้าร่วมกว่า 600 ราย

2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการออกแบบและพัฒนาผลงานต้นแบบ "Design Service Sandbox" ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง นักออกแบบ กับ นักพัฒนาเทคโนโลยี Startup หรือ SMEs ในการขับเคลื่อนโมเดลธุรกิจใหม่ที่สามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมของประเทศได้ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักออกแบบ นักพัฒนาเทคโนโลยีและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ตลอดการรับสมัครโครงการ โดยกิจกรรมดังกล่าวมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกว่า 200 ราย ซึ่งมีผู้ผ่านคัดเลือกเข้าร่วมทั้งสิ้น 44 ราย โดยผู้เข้าร่วม 44 ราย ได้แบ่งเป็น 10 ทีม เพื่อร่วมกันพัฒนาผลงานต้นแบบตลอดระยะเวลา 1 เดือน ภายใต้ 4 โจทย์หลัก ได้แก่ Thailand: Kitchen of the World (สรรสร้างนวัตกรรมอาหาร บรรจุภัณฑ์ หรือ บริการ ดันครัวไทยสู่ครัวโลก ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์แห่งอนาคต), Agricultural Transformation (ปั้นเกษตรอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยีและดิจิทัล คิดค้น Solution ที่ช่วยยกระดับภาคการเกษตรของไทย ให้มีมูลค่าเพิ่มสู่สากล), Innovation Solutions to for a Renewable-Powered Future (ค้นหาคำตอบ สำหรับแหล่งพลังงานทางเลือก สร้างโอกาส ปั้นธุรกิจ รับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคต) และ Innovation solution for New Normal (คิดค้นนวัตกรรมสินค้าและบริการใหม่ ๆ แก้ปัญหาธุรกิจ คาดการณ์เทรนด์สินค้าในยุค New Normal)

3. กิจกรรมแสดงผลงานต้นแบบ "Demo Day" ซึ่งจัดขึ้น เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2564 เพื่อเฟ้นหาสุดยอดไอเดียจากไอเดียของผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะเป็นการนำเสนอผลงานและรับฟังคำแนะนำจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชน เช่น ผู้บริหารจาก DITP, DEPA, THAI BISPA, SCG Adventure, Banpu และ RISE เป็นต้น จากนั้นกรมจะมีการประชาสัมพันธ์ผลงานต้นแบบให้เป็นที่รู้จัก เพื่อให้เกิดการรับรู้ถึงศักยภาพอุตสาหกรรมบริการออกแบบให้เป็นที่รู้จักในระดับประเทศและสากล โดยกลุ่มผู้ประกอบการและนักพัฒนาเทคโนโลยีสามารถนำความรู้และคำแนะนำไปต่อยอดไอเดียทางธุรกิจในอนาคตได้ รวมถึงมีการผลักดันเหล่านักออกแบบให้สามารถแสดงศักยภาพในเวทีการประกวดระดับนานาชาติ อาทิ DEmark, G-Mark ซึ่งเป็นเวทีประชันฝีมือของบรรดานักออกแบบฝีมือดีและเป็นประตูสู่การแข่งขันในระดับสากลอีกด้วย



ผลงานที่ชนะรางวัล Design Service Sandbox "Demo Day" ในปีนี้ ได้แก่

รางวัลที่ 1 UPCYDE: แนวคิด Startup ผลิตภัณฑ์รองเท้าจากขยะทางการเกษตร Solution ที่ช่วยแก้ปัญหาขยะทางการเกษตรที่มีปริมาณมาก พร้อมสามารถสร้างมูลค่าเพื่มเติมให้กับขยะทางการเกษตร โดยแปรรูปขยะทางการเกษตร โดยเลือกผลิตรองเท้า (หนังเทียม Vegan Leather) ที่ทำมาจากขยะทางการเกษตร เช่น สับปะรด และ ทุเรียน สนับสนุนให้เกิด Sustainability Society มากยิ่งขึ้น และสนับสนุน circular economy และ waste transformation

รางวัลที่ 2 Happy meal : นวัตกรรมอาหาร Future Food โปรตีนจาก "ไข่ผำ" ต่อยอดวัตุดิบของไทยจับกระแสอาหาร Plant-based จาก "ไข่ผำ" พืชน้ำในประเทศไทย แหล่งโปรตีนทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ อัดแน่นด้วยโภชนาการ ผ่านสินค้าต้นแบบอาทิ Green Pearl Protein Bar หลากหลายรสชาติ

รางวัลที่ 3 GachaThani : แนวคิด Art Toy และ AR Guide tour ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี จับเทรนด์การเติบโตของ Art Toy มาสร้างโอกาสเพื่อพัฒนา Gallery platform เชื่อมโยง community ของผู้ซื้อ-ผู้ขายในประเทศไทยผ่านเว็บไซต์ ต่อยอดสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าโดยการนำเทคโนโลยี AR ร่วมถึงเกมเข้ามาใช้งานเพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมกับลูกค้า
#9728


GGC จับมือ GIZ หนุนเกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้มาตรฐานสากล ยกระดับการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน

บริษัท โกล.กรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) ประจำประเทศไทย ดำเนินโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ SCPOPP เพื่อส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO(Roundtable on Sustainable Palm Oil) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยสร้างโอกาสทางการตลาดน้ำมันปาล์มยั่งยืนของไทยเพื่อให้สามารถเข้าถึงตลาดโลก

นายไพโรจน์ สมุทรธนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกล.กรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า GGC เห็นว่าในสภาวะการแข่งขันสูง การยกระดับคุณภาพผลผลิตให้ได้ตรงตามมาตรฐาน RSPO (The Roundtable on Sustainable Palm Oil) เป็นสิ่งจำเป็น บริษัทชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศมีการเลือกคู่ค้าที่ได้รับมาตรฐานดังกล่าวมาพิจารณาซื้อสินค้ามากขึ้น รวมทั้งการกำหนดกฎเกณฑ์มาตรฐานในการรับซื้อวัตถุดิบ ส่วนประกอบ หรือแสดงจุดยืนในการรับสินค้ามาขายจากผู้ประกอบการที่เป็นต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่มีกระบวนการผลิตที่รักษ์สิ่งแวดล้อม การเข้ามามีบทบาทในการยกระดับการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มของประเทศไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติจึงเป็นเรื่องที่เรามองว่าสำคัญ

นอกจากการสร้างโอกาสให้แก่การดำเนินธุรกิจของ GGC แล้ว เรายังมองหาแนวทางที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้แก่ภาคเกษตรกรรมของประเทศ โดยการขยายผลที่จะสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้รับความรู้ด้านการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราได้มีโอกาสเจอพันธมิตร คือ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) ประจำประเทศไทย ซึ่งได้ดำเนินโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO

สำหรับความร่วมมือในการดำเนินโครงการฯ ในครั้งนี้ คือ การส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกปาล์มน้ำมันจำนวน 500 ราย ในพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดตรัง และจังหวัดพังงา ให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO ภายในปี 2567 โดยมีแนวทางการดำเนินงานหลักๆ คือ การส่งเสริมการปฏิบัติที่ยั่งยืนให้แก่เกษตรกรรายย่อย ด้วยการสร้างวิทยากรการฝึกอบรมที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ โดยใช้หลักสูตรการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยผลิตปาล์มน้ำมันของไทย หรือที่เรียกว่า TOPSA (Thailand Oil Palm Smallholder Academy) ถ่ายทอดหลักสูตรให้แก่เกษตรกร และพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรรายย่อยให้มีการปฏิบัติที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับมาตรฐานน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนในระดับนานาชาติ และการพัฒนาความร่วมมือ สร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานเพื่อสนับสนุนเกษตรกรรายย่อย รวมถึงสร้างความตระหนักรู้และเพิ่มความต้องการใช้น้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนในประเทศ
#9729
รับประทานข้าวอินทรีย์ที่มีค่าน้ำตาลต่ำ ทำไมถึงเหมาะกับสุขภาพคุณแม่ตั้งท้อง
( ข้าวจังหวัดสุรินทร์) ถึงแพงกว่าข้าวธรรมดา     ข้าวอินทรีย์ไทยมีราคาแพง   การผลิตข้าวอินทรีย์(ออแกนิค)   ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต่างก็ให้ความสนใจกับการดูแลรักษาสุขภาพกันมากขึ้น  อย่างยิ่งกับการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยซึ่งมีมากมายหลากหลายในปัจจุบัน  รวมถึงผลผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์ที่เป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้บริโภคทั้งหลายให้ความไว้วางใจ  แต่ก็ยังมีคำถาม ข้อสงสัย ติดอันดับยอดนิยมจากผูบริโภคว่า  "ทำไมข้าวเกษตรอินทรีย์ถึงราคาแพงกว่า ทั่วไป ทั้งที่ข้าวในนาผลิตตามธรรมชาติ ไม่ต้องมีต้นทุนปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง"    ข้าวอินทรีย์  ข้อมูลจากเวปไซด์ขององค์กรการอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กล่าวถึงข้อเท็จจริงบางประการ ข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์ ที่เป็นเหตุผลของราคาผลผลิตและสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สูงกว่าเอาไว้  ดังนี้- ฟาร์มเกษตรอินทรีย์มีขนาดเล็ก ใช้แรงงานต่อหน่วยในการผลิตมากกว่าฟาร์มทั่วไป (สาเหตุหนึ่งที่ต้นทุนการผลิตสูง)
- ค่าใช้จ่ายในขบวนการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเกษตรอินทรีย์  ข้าวหอมสุรินทร์  สูงกว่าเพราะในการขนส่ง หรือแปรรูปจะต้องแยกออกจากผลผลิตทั่วไปอย่างชัดเจน
- ปริมาณของข้าวเกษตรอินทรีย์ค่อนข้างน้อย ทำให้ค่าใช้จ่ายในการกระจายสินค้าต่อหน่วยของ ข้าวสุขภาพ ออกสู่ตลาดนั้นสูงกว่าผลผลิตทั่วไป
- ข้าวเกษตรอินทรีย์ทำให้เกษตรกรได้รายได้ที่เป็นธรรมและพอเพียง
- ข้าวเกษตรอินทรีย์ข้าวกล้องหอมมะลิอินทรีย์  มีการจัดการมาตรฐาน คุ้มครองสัตว์เลี้ยงในฟาร์มได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
- และสุกท้ายที่สำคัญที่สุด ข้าวเกษตรอินทรีย์มีจำนวนจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการของผู้บริโภค
เพื่อความมั่นใจถึงความเป็นข้าวออร์แกนิคที่แท้จริงของเรา  




ข้าวฮอร์ (HOR) ข้าวกล้องอินทรีย์  ได้รับมาตรฐาน 
1. ใบรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์ ( Organic Thailand)
2. ใบรับรองเครื่องหมาย "ข้าวพันธุ์แท้"  จากกรมการข้าว  จาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ในประเภทของ 
2.1  ข้าวขาวดอกมะลิ 105 (ข้าวขาว)  
2.2  ข้าวขาวดอกมะลิ105 (ข้าวกล้อง)  
2.3  ข้าวมะลินิลสุรินทร์

ข้าว Hor.Boutique ข้าวเกษตรอินทรีย์สุรินทร์  ข้าวหอมมะลิออแกนิคส่งทั่วไทย  ข้าวกล้องหอมมะลิอินทรีย์
277 หมู่ 14 ถ.พิชิตชัย ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
โทร. 092-8245655
website : www.hor.boutique
Facebook :   hor-boutique.lnwshop.com/
Twitter : https://twitter.com/hor_boutique
IG : https://www.instagram.com/hor.boutique/
Line: @Hor.Boutique

เรามีข้าวอินทรีย์ 7 ประเภทครับ  ข้าวหอมมะลิออแกนิค  ข้าวorganicส่งทั่วไทย
1.  ข้าวหอมมะลิปลอดสารพิษ
2.  ข้าวกล้องเกษตรอินทรีย์หอมมะลิ
3.  ขายข้าวปะกาอำปึลอินทรีย์
4.ข้าวผสมห้าสายพันธุ์อินทรีย์
5.  ข้าวกล้องหอมมะลิแดงออร์แกนิก
6. ข้าวกล้องมะลินิลอินทรีย์
7. ข้าวไรซ์เบอรี่  ข้าวกล้องหอมมะลิแดงเพื่อสุขภาพ

ข้าว Hor พร้อมขายแล้วที่ Shopee & Lazada
https://shopee.co.th/hor.boutique
https://www.lazada.co.th/shop/horboutique/

#ข้าวออร์แกนิก #ข้าวออแกนิค  #ข้าวออแกนิก #ข้าวอินทรีย์ 
#ข้าววสุขภาพ  #ข้าวเกษตรอินทรีย์
 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 
#9731


'แอ๊บโซลูท คลีนเอ็นเนอร์จี้' คว้าโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) มากสุดรวม 18 โครงการ คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งรวมและกำลังการผลิตเสนอขายรวม 59 เมกะวัตต์ และ 50 เมกะวัตต์

นายธนะชัย บัณฑิตวรภูมิ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอ๊บโซลูท คลีนเอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) (ACE) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 มีผู้ได้รับการคัดเลือกจำนวน 43 รายนั้น บริษัทย่อยของแอ๊บโซลูท คลีนเอ็นเนอร์จี้จำนวน 18 บริษัท รวม 18 โครงการ ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งรวมและกำลังการผลิตเสนอขายรวม 59 เมกะวัตต์ และ 50 เมกะวัตต์ตามลำดับ โดยโครงการที่ได้รับการคัดเลือกดังกล่าวเป็นโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) ทั้งหมด 18 โครงการ โดยอยู่ในจังหวัดเชียงราย กำแพงเพชร บุรีรัมย์ และราชบุรี

สำหรับขั้นตอนต่อไปจะเป็นการศึกษาเงื่อนไขการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 120 วันหลัง กกพ.ประกาศรายชื่อ โดย กกพ.กำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายใน 36 เดือนนับจากวันลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือภายในวันที่ 21 มกราคม 2568

"การได้รับคัดเลือกประมูลโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าสำคัญของบริษัทที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความเชี่ยวชาญด้านการเป็นผู้นำพลังงานสะอาด ซึ่งจะช่วยเสริมให้เป้าหมายการเพิ่มกำลังการผลิตมากกว่า 1,000 เมกะวัตต์รุดหน้ามากขึ้น โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการประมูลครั้งนี้มาจากการที่บริษัทมีประสบการณ์และความสำเร็จในการพัฒนาและดำเนินงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด รวมถึงข้อเสนอที่เชื่อว่าจะช่วยสร้างให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนแต่ละพื้นที่ได้สูงสุด"
#9732


กำลังจะครบ 3 เดือนของการนำร่อง "เปิดประเทศ" เพื่อการท่องเที่ยว!! ประเดิมด้วยโครงการ "ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์" คิกออฟไปเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2564

โดยโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ใช้โมเดลเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วมาเที่ยวแบบไม่กักตัว และต้องอยู่ภายในพื้นที่ที่กำหนด (Sealed Area) จ.ภูเก็ต อย่างน้อย 14 วัน จึงจะเดินทางไปเที่ยวพื้นที่อื่นในไทยได้

ต่อด้วยโครงการ "สมุย พลัส โมเดล" รับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วมาเที่ยวพื้นที่ 3 เกาะดังของ จ.สุราษฎร์ธานี ได้แก่ เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า ในเส้นทางที่กำหนด (Sealed Routes) เริ่มเมื่อวันที่ 15 ก.ค.2564

โดยโมเดลของ สมุย พลัส โมเดล นั้นแตกต่างจากภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เพราะใช้สูตร "0+3+4+7" กล่าวคือ เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงสมุยวันที่ 0 จะต้องรับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ครั้งที่ 1 และรอผลตรวจภายในห้องพักโรงแรมเท่านั้น จากนั้นวันที่ 1-3 หลังทราบผลตรวจเป็นลบ สามารถออกนอกห้องพักได้ แต่ยังต้องอยู่ในบริเวณโรงแรม และใช้บริการในบริเวณหรือพื้นที่ที่โรงแรมจัดสรรไว้ (Area Quarantine) ส่วนวันที่ 4-7 สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ใน อ.เกาะสมุย ตามเส้นทางและโปรแกรมท่องเที่ยวที่กำหนดไว้ (Sealed Route) ทั้งนี้จะทำการตรวจหาเชื้อโควิดครั้งที่ 2 ณ โรงแรมที่พักในวันที่ 6-7 โดยในช่วง 7 วันแรกจะต้องเข้าพักโรงแรมที่เป็นสถานที่กักตัวทางเลือก (ALQ) เท่านั้น

ส่วนตั้งแต่วันที่ 8-14 สามารถท่องเที่ยวได้อย่างเสรีภายใน 3 เกาะ ทั้งเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า หลังทราบผลการตรวจครั้งที่ 2 เป็นลบ แต่ต้องพักโรงแรมที่ได้รับเครื่องหมายมาตรฐานความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวและสุขอนามัย "SHA Plus" บน 3 เกาะดังกล่าว และจะทำการตรวจหาเชื้อโควิดครั้งที่ 3 ในวันที่ 12-13 เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขตรวจหาเชื้อครบ 3 ครั้ง และนักท่องเที่ยวพำนักในพื้นที่อย่างน้อย 14 คืน ก่อนออกเดินทางไปเที่ยวพื้นที่อื่นในไทย

ตามมาด้วยโครงการ "7+7 ภูเก็ต เอ็กซ์เทนชั่น" (7+7 Phuket Extension) เที่ยวเชื่อมโยงภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ครบ 7 วันแรก สามารถท่องเที่ยวเชื่อมโยงสู่พื้นที่นำร่องใน 3 จังหวัด ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า), จ.กระบี่ (เกาะพีพี เกาะไหง ไร่เล) และ จ.พังงา (เขาหลัก เกาะยาว) เริ่มเมื่อวันที่ 16 ส.ค.2564 เพื่อรองรับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งนิยมเที่ยวข้ามเกาะ (Island Hopping) และเพิ่มตัวเลือก

ถือเป็น "จุดเริ่มต้นที่ดี" ในการแง้มประตูเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่เมื่อดูความสำเร็จเชิงปริมาณ ต้องยอมรับว่ายังห่างไกลจากเป้าหมายที่ทั้ง "กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา" กับ "การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย" (ททท.) และภาคเอกชนท่องเที่ยวแต่ละพื้นที่ตั้งเป้าไว้!

เพราะเดิมโครงการ "ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์" กระทรวงการท่องเที่ยวฯและ ททท.ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วเดินทางมาเยือนรวม 1 แสนคนในช่วงไตรมาส 3 หรือตั้งแต่เดือน ก.ค.-ก.ย.นี้ แต่จากสถานการณ์ล่าสุดหลังเปิดโครงการฯมาเกือบ 3 เดือน พบว่าจากสถิติ ณ วันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมา มีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมกว่า 3.7 หมื่นคน ยังไม่ถึงครึ่งของเป้าหมายที่วางไว้!

ส่วนโครงการ "สมุย พลัส โมเดล" จำนวนนักท่องเที่ยวสะสม 2 เดือนกว่า พบว่าจากสถิติ ณ วันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมา มียอดเดินทางเข้ามาไม่ถึง 900 คน ห่างจากเป้าหมายที่สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุยตั้งไว้ 1,000 คนต่อเดือน จึงเป็นที่มาของการเตรียมเสนอต่อที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) พิจารณาให้เริ่มใช้โมเดลใหม่ "สมุย พลัส แซนด์บ็อกซ์" เหมือนกับโมเดลของภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางภายในพื้นที่ที่กำหนดได้แบบไม่ต้องกักตัว หวังเริ่มใช้โมเดลใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2564 เป็นต้นไป

 

เมื่อยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าโครงการนำร่องเปิดประเทศพลาดเป้า!!! "กรุงเทพธุรกิจ" จึงรวบรวมและประมวลความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนท่องเที่ยว เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคไว้ดังนี้

 

การระบาดของโควิด-19 ภายในประเทศ
การระบาดของโควิด-19 ระลอกเดือน เม.ย.2564 ปะทุขึ้นเป็นวงกว้างและรุนแรง จนยอดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันพุ่งสูง และเคยพีคทะลุ 2 หมื่นคนต่อวันมาแล้ว ส่งผลกระทบต่อตลาดความหวังอย่างอย่าง "สหรัฐ" ซึ่งเดินทางมาเที่ยวภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์มากเป็นอันดับ 1 จากสถิติช่วง 2 เดือนแรกของการเปิดโครงการฯ ทางหน่วยงานป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐ หรือ ซีดีซี ได้ประกาศเมื่อ 9 ส.ค.ที่ผ่านมา ยกระดับคำเตือนให้ชาวสหรัฐหลีกเลี่ยงการเดินทางมายังประเทศไทย เนื่องจากเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงสุด (Level 4) ต่อการระบาดของโควิด-19

ด้านตลาด "สหราชอาณาจักร" ซึ่งเดินทางเข้าภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์มากเป็นอันดับ 2 นั้น ทางรัฐบาลได้ประกาศปรับสถานะให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มสีแดง (Red List) เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา ทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาไทย เมื่อกลับเข้าสหราชอาณาจักรจะต้องถูกกักตัวในโรงแรมที่รัฐบาลกำหนดเป็นเวลา 10 วัน และจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง 2,230 ปอนด์ หรือประมาณ 1 แสนบาท

ขณะที่แผนการเปิดเมือง "บุรีรัมย์" จำเป็นต้องเลื่อนไทม์ไลน์การเปิดเมืองภายในปี 2564 ออกไปก่อน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในไทยที่พบยอดผู้ติดเชื้อเพิ่ม ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด กระทบต่อการจัดการแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบชิงแชมป์โลก "โมโตจีพี" ซึ่งเดิมมีกำหนดจัดการแข่งขัน ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ใน จ.บุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 15-17 ต.ค.นี้ มีผลให้ต้องยกเลิกการจัดงานฯในปีนี้

แม้ว่าปัจจุบันยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใหม่รายวันในไทยจะลดลงเหลือที่ระดับ 1 หมื่นคนต้นๆ ต่อวัน แต่ก็ยังน่ากังวล จนกว่าทิศทางของกราฟจะเปลี่ยนเป็นหัวทิ่ม ลดลงสู่ระดับหลักพันคนหรือหลักร้อยต่อวัน เมื่อนั้นประเทศต้นทางเป้าหมายน่าจะปลดล็อกข้อจำกัดและคำเตือนสำหรับการเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย

การเร่งกดยอดผู้ติดเชื้อให้ลดลงเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยฟื้นความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติให้กล้ากลับมาเที่ยวไทยอีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 4 นี้ซึ่งเข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว หรือ "ไฮซีซั่น" ซึ่งเป็นความหวังของผู้ประกอบการว่าจะเริ่มมีรายได้จากตลาดต่างประเทศบ้าง ไม่ใช่พึ่งพิงแค่น้ำบ่อใกล้อย่างตลาดในประเทศเพียงบ่อเดียว

 

การกระจายวัคซีนล่าช้า
การระดมฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นหนึ่งในเงื่อนไขหลักของการเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพราะต้องฉีดแก่ประชากรในพื้นที่ให้ได้อย่างน้อย 70% เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เน้นความปลอดภัยของคนในประเทศเป็นสำคัญ

แต่เมื่อหลายๆ จังหวัดยังไม่ได้รับวัคซีนถึงเกณฑ์ กระทบต่อไทม์ไลน์การเปิดเมืองในพื้นที่เป้าหมาย!

โดยจากข้อมูลเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา หลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกแถลงการณ์ "เปิดประเทศภายใน 120 วัน" เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทาง ททท.ได้ปรับไทม์ไลน์ตั้งเป้าเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวเพิ่มอีก 6 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ (อ.เมืองฯ อ.แม่ริม อ.แม่แตง อ.ดอยเต่า) จ.ชลบุรี (พัทยา อ.บางละมุง อ.สัต.บ) จ.บุรีรัมย์ (อ.เมืองฯ สนามช้างอารีนา) ซึ่งเดิมวางกำหนดเปิดเมืองตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2564 เป็นต้นไป ส่วน จ.ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) จ.เพชรบุรี (ชะอำ) และกรุงเทพฯ เดิมวางกำหนดเปิดเมืองตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2564 เป็นต้นไป

จากนั้นก็มีการปรับเลื่อนไทม์ไลน์เปิดเมืองอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลการกระจายวัคซีนยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

ล่าสุดวันนี้ (27 ก.ย.) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ "ศบค." ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะพิจารณาไทม์ไลน์ "การเปิดเมือง" รับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วแบบไม่ต้องกักตัว เพิ่มอีก 5 จังหวัด เริ่มวันที่ 1 พ.ย.2564 ซึ่งเลื่อนจากแผนเดิมวันที่ 1 ต.ค.นี้ โดยรายชื่อ 5 จังหวัดที่ ศบค.ชุดใหญ่ จะพิจารณานั้น ประกอบด้วย กรุงเทพฯ ชลบุรี (พัทยา อ.บางละมุง อ.สัต.บ) เชียงใหม่ (อ.เมืองฯ อ.แม่ริม อ.แม่แตง อ.ดอยเต่า) ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) และเพชรบุรี (ชะอำ)

ก่อนหน้านี้ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้สัมภาษณ์หลังการประชุม ศปก.ศบค. เมื่อวันที่ 22 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า เหตุผลที่ต้องเสนอให้พิจารณาการเปิดเมือง 5 จังหวัด เลื่อนไปเป็นวันที่ 1 พ.ย.2564 แบบพร้อมกันทีเดียว คือเพื่อรอให้ประชากรในพื้นที่นำร่องได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม ไม่น้อยกว่า 70% ของประชากรในพื้นที่ตามเกณฑ์สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ซึ่งเป็นเงื่อนไขหลักของการเตรียมความพร้อมเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ร้อนไปถึงตัวแทนภาคเอกชนท่องเที่ยวหัวหิน!! เมื่อนายกรด โรจนเสถียร คณะกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและนายกสมาคมสปาไทย กล่าวในฐานะประธานภาคเอกชนของโครงการ "หัวหิน รีชาร์จ" กล่าวว่า "ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง" กับข้อเสนอการเลื่อนเปิดโครงการหัวหิน รีชาร์จ รับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วแบบไม่กักตัว ไปเปิดวันที่ 1 พ.ย.2564 พร้อมกับเมืองอื่นๆ  เพราะหัวหินมีความพร้อมฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ให้ประชากรถึง 71.2% ในวันที่ 29 ก.ย.นี้ โดยทางสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เห็นว่าควรเว้นระยะเวลา 2 สัปดาห์ให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ก็สามารถเปิดหัวหินได้ในวันที่ 15 ต.ค.นี้

 

 

ต่างเมือง ต่าง SOP
"คู่มือแนวทางปฏิบัติ" (Standard Operating Procedure : SOP) คือหัวใจสำคัญของการเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติยุคนิวนอร์มอล

แต่ด้วยข้อจำกัดต่างๆ อาทิ ที่ตั้งของเมืองท่องเที่ยว หากเป็นเกาะ เช่น ภูเก็ต สามารถควบคุมการเดินทางเข้าออกพื้นที่และดูแลได้ง่ายกว่าพื้นที่บนบก, ความพร้อมของแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน จึงใช้ SOP ต่างกัน ภูเก็ตใช้มาตรการอย่างหนึ่ง สมุยใช้มาตรการอีกอย่าง มีเงื่อนไขรายละเอียดปลีกย่อยที่ซับซ้อน และสร้างความสับสนให้กับนักท่องเที่ยวที่สนใจเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย

การปรับมาใช้ SOP เหมือนกันทุกพื้นที่ในการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ น่าจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยลดความสับสนและยุ่งยาก ช่วยดึงชาวต่างชาติมาเที่ยวไทยได้มากขึ้น

 

 

ค่าตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR แพงเกินไป?!
การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR เป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่นักท่องเที่ยวมาไทยต้องปฏิบัติตาม แม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนครบโดส และตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR จากประเทศต้นทางแล้วก็ตาม แต่เมื่อเดินทางเข้าร่วมโครงการพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว (แซนด์บ็อกซ์) ของประเทศไทย จะต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อครั้งที่ 1 ในวันแรกที่เดินทางมาถึง (ที่สนามบินก่อนเข้าโรงแรมที่พัก หรือ ตรวจที่โรงแรมที่พัก ขึ้นกับ SOP ของแต่ละเมือง)

หากนักท่องเที่ยวต้องการอยู่ในไทยเกิน 14 วัน จะต้องรับการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR จำนวน 3 ครั้ง เหตุผลก็เพื่อความปลอดภัยของคนในประเทศ และไม่ให้เป็นที่ครหาว่าการนำเข้านักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นสาเหตุของการระบาดในประเทศ ทว่ากลับมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง! จนนักท่องเที่ยวอดสงสัยและเปรียบเทียบไม่ได้ เช่น กรณีของนักท่องเที่ยวจากตลาดตะวันออกกลาง กังขากรณีค่าตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ในไทย เมื่อเทียบกับการตรวจในประเทศนั้นอยู่ที่ครั้งละ 100-200 บาท หรือบางครั้งตรวจฟรี

ภาคเอกชนท่องเที่ยวหลายรายจึงเสนอให้มีการปรับลดค่าตรวจหาเชื้อโควิด-19 เช่น หากภาครัฐยังต้องการให้มีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 จากนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 3 ครั้ง สามารถปรับมาเป็นการตรวจด้วยวิธี RT-PCR เหลือแค่ 1 ครั้ง เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย จากนั้นการตรวจหาเชื้อครั้งที่ 2 (วันที่ 6-7) และครั้งที่ 3 (วันที่ 13-14) ให้เปลี่ยนมาตรวจด้วย ATK Test แทนได้หรือไม่ เพื่อช่วย "ลดค่าใช้จ่าย" ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และควรกำหนดให้เป็นมาตรฐาน "ราคาเดียวกัน" ทั่วประเทศ

 

การขอ COE เข้าไทยช่างเป็นเรื่องยุ่งยากและซับซ้อน!
นักท่องเที่ยวหลายตลาดต่างรู้สึกว่าการยื่นขอใบอนุญาตเดินทางเข้าประเทศไทย (Certificate of Entry: COE) ช่างเป็นเรื่องยุ่งยากและซับซ้อนยิ่งนัก ทำให้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากถอดใจ ยังไม่ตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวพื้นที่นำร่องในประเทศไทย

ภาครัฐอาจต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนระบบการขอ COE ให้สะดวกแก่นักท่องเที่ยวหลากหลายกลุ่มซึ่งมีพฤติกรรมการจองแตกต่างกันไป ไม่จำกัดแค่การจองโรงแรมที่พักผ่านระบบ SHABA (SHA Plus Booking Authentication System) เพียงช่องทางเดียว แต่สามารถให้บริษัทนำเที่ยวเข้ามาเป็นตัวกลางช่วยทำการจองโรงแรมที่พักได้ด้วย

 

ลดวันกักตัวจาก 14 วัน เหลือ 7 วัน
ภาคเอกชนต่างเสนอความคิดเห็นขอให้ภาครัฐพิจารณา "ลดวันกักตัว" จาก 14 วัน เหลือ 7 วัน หรือ 10 วัน เพื่อกระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ด้วยความหวังที่ว่าเมื่อมีการลดวันกักตัวเหลือ 7 วัน นักท่องเที่ยวต่างชาติก็สามารถอยู่ในพื้นที่นำร่องจำนวนน้อยวันลง เหลือ 7 วัน เมื่ออยู่ครบตามกำหนดก็สามารถไปเที่ยวพื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทยได้อย่างอิสระ

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 9/2564 ได้มีมติเห็นชอบปรับมาตรการผู้เดินทางมาในราชอาณาจักร หรือลดวันกักตัวจากเดิมที่กำหนด 14 วัน รวมถึงตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR เหลือ 7 วัน, 10 วัน และ 14 วัน ตามกรณีดังนี้

1. ลดเหลือ 7 วัน สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบโดส ตรวจหาเชื้อด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย และเมื่อมาถึงประเทศไทยจะต้องตรวจหาเชื้ออีก 2 ครั้งในวันที่ 0 และวันที่ออกจากสถานที่กักกัน ทกช่องทางเข้าออกประเทศ

2. ลดเหลือ 10 วัน ในผู้ที่ไม่มีเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนครบโดส เมื่อถึงไทยต้องตรวจหาเชื้อด้วยวิธีRT-PCR  2 ครั้ง ในวันที่ 0-1 และวันที่ออกจากสถานที่กักกัน ในส่วนของการเดินทางอากาศ

3. กักตัวอย่างน้อย 14 วัน ในผู้ที่ไม่มีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน และตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR 2 ครั้ง ในวันแรกที่มาถึงประเทศไทย และวันที่ 12-13 สำหรับผู้ที่เดินทางเข้าทางบก เนื่องจากไม่มีการตรวจหาเชื้อมาก่อนและมีอัตราการติดเชื้อมากกว่าทางอากาศ

โดยข้อเสนอแนวทางลดวันกักตัวเหล่านี้ จะเสนอ ศบค.เพื่อพิจารณาต่อไป

 

ทั้งหมดนี้คือ "บทเรียน" ในการเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ยังมีเวลาเตรียมความพร้อมและแก้ไขอุปสรรค รองรับการเปิดเมืองเพิ่มอีก 5 จังหวัดรวม "กรุงเทพฯ" ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้
#9733
ขายถูกที่ติดถนนเอเซียAH1 บ้านตาก (ตากออก) จ.ตาก ไร่ละ1.5ลบ.โทร 0837124115
#9734
ขายบ้านริมน้ำเจ้าพระยา (สรรพยา) ชัยนาท 850000 โทร 0837124115
#9735
ถมที่ ขุดสระ จัดสวน วางท่อ ติดต่อ 080-022-3804
www.mmee2000.com ทำจริงไม่ทิ้งงาน