• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Fern751

#11282


ราคาทองฟิวเจอร์ ปิดวันจันทร์ (9ส.ค.)ดิ่งลง 36.60 ดอลลาร์ แตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน โดยปรับตัวลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่นักลงทุนพากันขายทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนก.ค.
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 36.60 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,726.50 ดอลลาร์/ออนซ์

ทางด้านกองทุน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุน ETF ทองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ลดการถือครองทอง สู่ระดับ 1,025.28 ตันเมื่อวันศุกร์

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 943,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 845,000 ตำแหน่ง จากระดับ 938,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย.


ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 5.4% ในเดือนก.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.7% หลังจากแตะระดับ 5.9% ในเดือนมิ.ย.

นอกจากนี้ ราคาทองยังถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และการดีดตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่ง


ทั้งนี้ ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นจะลดความน่าดึงดูดของทอง โดยทำให้สัญญาทองมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น ส่วนการดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ จะเพิ่มต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือครองทองคำ เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย

ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังกังวลว่าตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) รวมทั้งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบต่อราคาทอง

นักลงทุนจับตาการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันที่ 26-28 ส.ค. โดยเฟดอาจส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งแนวโน้มการปรับลดวงเงินคิวอีในการประชุมดังกล่าว


ตลท.ขยาย JTS ติดแคชบาลานซ์-ห้ามคำนวณวงเงินถึง 30 ส.ค.64

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย โดยขยายช่วงดำเนินการมาตรการระดับ 2 กับ บริษัท จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JTS มีผลระหว่างวันที่ 10-30 ส.ค.2564 โดยระหว่างนี้ห้ามหลักทรัพย์ของบริษัทคำนวณวงเงินซื้อขายและติดแคชบาลานซ์ (ต้องใช้บัญชีเงินสดในการซื้อขายหุ้น)

สำหรับความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น JTS วันนี้ (9 ส.ค.2564) ปิดที่ 48.75 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 2.00 บาท หรือเพิ่มขึ้น 4.28% และมีมูลค่าการซื้อขายรวม 2.6 ล้านบาท ขณะที่ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา (9 ก.ค.- 9 ส.ค.) ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 15 บาท หรือ 44.44% จาก 33.75 บาทต่อหุ้น ส่วนตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 46.92 บาท หรือ 2,563.93% จาก 1.83 บาทต่อหุ้น
#11285


อว. เผยฉีดวัคซีนของไทย ณ วันที่ 9 สิงหาคม ฉีดวัคซีนแล้ว 20,669,780 โดส และทั่วโลกแล้ว 4,450 ล้านโดส ใน 201 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 182.951 ล้านโดส โดยจังหวัดของไทยที่ฉีดมากที่สุด คือ ภูเก็ต โดยฉีดวัคซีนเข็มแรกกว่า 75.9%

เมื่อวันที่ 9 ส.ค.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 4,450 ล้านโดส ใน 201 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 42.7 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 351 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 166 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว

ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 182.951 ล้านโดส โดยสิงคโปร์ฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (74.0% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 75.42 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2564 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 20,669,780 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 53.84%

ในการฉีดวัคซีน จำนวน 4,450 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ

1. ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2564
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 20,669,780 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 15,986,354 โดส (24.2% ของประชากร)
-เข็มสอง 4,461,861 โดส (6.7% ของประชากร)
-เข็มสาม 221,565 โดส (0.3% ของประชากร)

2. อัตราการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.- 9 ส.ค. 64 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 20,669,780 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 400,465 โดส/วัน

3. อัตราการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย
วัคซีน Sinovac
- เข็มที่ 1 6,606,930 โดส
- เข็มที่ 2 3,436,086 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน AstraZeneca
- เข็มที่ 1 8,234,544 โดส
- เข็มที่ 2 653,195 โดส
- เข็มที่ 3 182,082 โดส

วัคซีน Sinopharm
- เข็มที่ 1 1,1136,014 โดส
- เข็มที่ 2 360,601 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน Pfizer
- เข็มที่ 1 31,866 โดส
- เข็มที่ 2 11,979 โดส
- เข็มที่ 3 39,483 โดส

4. การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย
- บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่1 116.3% เข็มที่2 100.3% เข็มที่3 31.1%
- เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เข็มที่1 49.3% เข็มที่2 29.3% เข็มที่3 0%
- อสม เข็มที่1 52.3% เข็มที่2 23.2% เข็มที่3 0%
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่1 32.7% เข็มที่1 5.6% เข็มที่3 0%
- ประชาชนทั่วไป เข็มที่1 29.0% เข็มที่2 8.2% เข็มที่3 0%
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 30.6% เข็มที่2 2.0% เข็มที่3 0%
- หญิงตั้งครรภ์ เข็มที่1 1.1% เข็มที่2 0.1% เข็มที่3 0%
รวม เข็มที่1 32.0% เข็มที่2 8.9% เข็มที่3 0.4%

5. จังหวัดที่ฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 แบ่งเป็น 2 ชุดข้อมูล
กรุงเทพฯ และปริมณฑล เข็มที่1 51.1% เข็มที่2 11.9% เข็มที่3 0.4% ประกอบด้วย
- กรุงเทพฯ เข็มที่1 70.9% เข็มที่2 15.5% เข็มที่3 0.6%
- สมุทรสาคร เข็มที่1 31.4% เข็มที่2 13.2% เข็มที่3 0.3%
- นนทบุรี เข็มที่1 33.5% เข็มที่2 11.2% เข็มที่3 0.3%
- สมุทรปราการ เข็มที่1 33.6% เข็มที่2 6.3% เข็มที่3 0.3%
- ปทุมธานี เข็มที่1 28.3% เข็มที่2 6.2% เข็มที่3 0.2%
- นครปฐม เข็มที่1 18.0% เข็มที่2 4.2% เข็มที่3 0.4%

จังหวัดอื่น ๆ 71 จังหวัด เข็มที่1 14.7% เข็มที่2 4.7% เข็มที่3 0.3%
- ภูเก็ต เข็มที่1 75.9% เข็มที่2 59.8% เข็มที่3 0.6%
- ระนอง เข็มที่1 41.6% เข็มที่2 12.6% เข็มที่3 0.3%
- สุราษฎร์ธานี เข็มที่1 22.1% เข็มที่2 8.6% เข็มที่3 0.2%
- พังงา เข็มที่1 41.1% เข็มที่2 11.4% เข็มที่3 0.4%
- กระบี่ เข็มที่1 23.1% เข็มที่2 6.9% เข็มที่3 0.2%
- ฉะเชิงเทรา เข็มที่1 34.4% เข็มที่2 4.4% เข็มที่3 0.4%

6. ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 182,951,774 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 75,426,933 โดส (18.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
2. มาเลเซีย จำนวน 24,542,437 โดส (48.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
3. ฟิลิปปินส์ จำนวน 24,479,750 โดส (11.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca
4. ไทย จำนวน 20,669,780 โดส (24.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
5. กัมพูชา จำนวน 13.949,503 โดส (48.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
6. เวียดนาม จำนวน 9,405,819 โดส (8.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm
7. สิงคโปร์ จำนวน 8,167,147 โดส (74.0%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
8. พม่า จำนวน 3,500,000 โดส (N/A* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
9. ลาว จำนวน 2,620,478 โดส (18.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
10. บรูไน จำนวน 189,927 โดส (33.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร/2 เหมือนกันทุกประเทศ

7. จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 66.19%
2. อเมริกาเหนือ 11.52%
3. ยุโรป 13.76%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 6.45%
5. แอฟริกา 1.70%
6. โอเชียเนีย 0.38%

8. ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 4 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 1,770.30 ล้านโดส (63.2% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก)
2. อินเดีย จำนวน 506.81 ล้านโดส (18.5%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 351.40 ล้านโดส (54.9%)
4. บราซิล จำนวน 151.71 ล้านโดส (37.1%)

9. ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. มัลดีฟส์ (81.3% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinopharm)
2. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (79.6%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
3. บาห์เรน (79.6%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
4. สิงคโปร์ (74.0%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ Sinovac)
5. กาตาร์ (70.7%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
6. อุรุกวัย (69.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
7. ภูฏาน (67.8%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Moderna)
8. แคนาดา (67.3%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford Moderna และ Pfizer/BioNTech)
9. ชิลี (67.2%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, CanSino, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
10. เดนมาร์ก (66.6%) (ฉีดวัคซีนของ Moderna, Pfizer/BioNTech และ J&J)
แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
#11290


ดร.แลร์รี บริลเลียนท์ นักระบาดวิทยาที่มีชื่อเสียงระดับโลก หนึ่งในคณะทำงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ทำให้เกิดโรคติดต่อมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา 

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา สหรัฐ อินเดีย จีน ประเทศต่างๆในยุโรป แอฟริกา และเอเชีย ต่างต้องต่อสู้กับสายพันธุ์เดลตา ที่แพร่กระจายเชื้อได้สูง 

ดร.บริลเลียนท์ กล่าวกับรายการ "Squawk Box Asia" ทางสถานีโทรทัศน์ CNBC ว่า ข่าวดีคือ วัคซีนที่เป็นเทคโนโลยี mRNA และวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน กำลังพัฒนาประสิทธิภาพต้านเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา 

"เว้นแต่ว่า จะฉีดวัคซีนให้ประชาชนทุกคนใน 200 ประเทศขึ้นไป แม้จะยังมีสายพันธุ์เกิดขึ้นใหม่" ดร.บริลเลียนระบุ และกล่าวว่า ขณะนี้มีเพียง 15% ของประชากรโลกที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 และมีมากกว่า 100 ประเทศที่ฉีดวัคซีนน้อยกว่า 5% ของประชากรประเทศ


ดร.บริลเลียนท์ มองว่า เราใกล้จุดเริ่มต้นของการแพร่บาดไวรัส มากกว่าสิ้นสุด และะเรากำลังเฝ้าดูอยู่ว่า การแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลตา ที่มีอยู่ตอนนี้ จะอยู่นานเพียงใด 

ในแบบจำลองของดร.บริลเลียนท์ ได้คาดการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในซานฟรานซิสโก และนิวยอร์ก เป็นลักษณะ "เส้นโค้งรูปตัววี กลับหัว" นั่นแสดงว่าการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ก็จะลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน 

ถ้าหากคาดการณ์นี้เป็นจริง หมายความว่า สายพันธุ์เดลตาแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว อย่างที่เกิดขึ้นในสหราชอาณาจักร และอินเดีย ซึ่งการระบาดของสายพันธุ์เดลตาลดต่ำลงจากที่เคยขึ้นสูงสุด

เว็บไซต์ Our World in Data ระบุว่า ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหราชอาณาจักร เฉลี่ยในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ลดลงจากจุดสูงสุดที่อยู่ประมาณ 47,700 รายในวันที่ 21 ก.ค. เหลืออยู่ที่ 26,000 รายในวันที่ 5 ส.ค. 

ส่วนที่อินเดีย พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันต่ำกว่า 50,000 ราย ตั้งแต่วันที่ปลายเดือน มิ.ย. จากที่เคยติดเชื้อรายวันสูงสุด 390,000 รายในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา 
#11291
สำนักงานบัญชี เอทีเอส บริการบัญชีและภาษี
1158/14  ซอยจันทน์ 37/1  ถนนจันทน์  แขวงทุ่งวัดดอน  เขตสาทร  กรุงเทพฯ 
สนใจติดต่อคุณสมบูรณ์ 089-793-5707 , 02-212-3064
Email : ats_audit@hotmail.com

สำนักงานบัญชี , รับทำบัญชีถนนจันทน์ , รับทำบัญชีบางคอแหลม , รับทำบัญชียานนาวา , รับทำบัญชีพระราม 3 , รับทำบัญชีสาทร , รับทำบัญชีบางรัก ,รับทำบัญชีทุ่งมหาเมฆ , รับทำบัญชีสีลม , รับทำบัญชีศาลาแดง , รับทำบัญชีพระราม1 , รับทำบัญชีสยาม , รับทำบัญชีเพลินจิต , รับทำบัญชีชิดลม , รับทำบัญชีปทุมวัน , รับทำบัญชีเซ็นหลุยส์ , รับทำบัญชีสาธุประดิษฐ์ , รับทำบัญชี , รับทำบัญชีรายเดือน , รับทำบัญชีรายปี , ตรวจสอบบัญชี , ตรวจสอบบัญชีบริษัทจำกัด , ตรวจสอบบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด
#11294
เรื่องงานดิน ให้เป็นหน้าที่เรา บริการครบวงจร ยินดีให้คำปรึกษา โทร 080-022-3804 หรือ www.mmee2000.com
#11295


สหภาพแรงงานและกลุ่มสิทธิแรงงาน 33 กลุ่มจากกัมพูชา ซึ่งทำการศึกษาวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลจากโรงงานผลิต 114 แห่งในกัมพูชา ได้เขียนจดหมายถึงแบรนด์เสื้อผ้าแฟชันชั้นนำระดับโลกทั้งหลายในสัปดาห์นี้ รวมถึง อาดิดาส เอชแอนด์เอ็ม ลีวายส์ ไนกี้ พูมา ทาร์เก็ต แก๊ป ซีแอนด์เอ และวีเอฟ คอร์ป ให้ดำเนินการช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ พร้อมระบุว่า ในช่วงที่กัมพูชาล็อกดาวน์ประเทศในเดือนเม.ย.และพ.ค. อุตสาหกรรมสิ่งทอสูญเสียรายได้ 117 ล้านดอลลาร์

กลุ่มฯดังกล่าวประเมินว่าแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชาซึ่งมีจำนวนกว่า 700,000 คนถูกผู้ว่าจ้างติดค้างค่าจ้างและเงินชดเชยจำนวนกว่า 393 ล้านดอลลาร์นับตั้งแต่โรคโควิด-19 แพร่ระบาดตั้งแต่ปีที่แล้ว ที่กระทรวงแรงงานของกัมพูชาแนะนำให้โรงงานผลิตปิดโรงงานเพราะสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่โดยไม่ได้จ่ายเงินเพื่อชดเชยค่าเสียหายแก่แรงงาน รวมทั่้งไม่ได้แจ้งให้แรงงานทราบล่วงหน้า 

"คุน ธาโร"ที่ปรึกษาด้านสิทธิแรงงานจากศูนย์กลางเพื่อพันธมิตรแรงงานและสิทธิมนุษยชน(Center for Alliance of Labor and Human Rights) กล่าวว่า "เนื่องจากแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอไม่ได้รับค่าจ้างแรงงานที่ควรได้ บรรดาแบรนด์ดังทั้งหลายจึงตกเป็นที่พึ่งของแรงงานเหล่านี้ จนเกิดเป็นการเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อขอความช่วยเหลือจากแบรนด์ดังที่ถือเป็นผู้ว่าจ้าง"

ในส่วนของกระทรวงแรงงานกัมพูชา ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้

               
แบรนด์ดังเสื้อผ้าแฟชันชั้นนำของโลกจำนวนมากที่มีรายได้และผลกำไรเพิ่มขึ้นในปีนี้ บอกว่า พยายามที่จะจำกัดผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19ที่มีต่อแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

อาดิดาส เปิดเผยกับเว็บไซต์นิกเคอิ เอเชียว่า บริษัทมีพันธกิจในการจ่ายค่าแรงที่ยุติธรรมและโปร่งใสแก่แรงงานทุกคนในกัมพูชาพร้อมทั้งให้การช่วยเหลือบรรดาซัพพลายเออร์หลักๆให้ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารเจ้าหนี้เพื่อนำมาใช้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19   

"บรรดาโรงงานที่เป็นซัพพลายเออร์ส่วนใหญ่ของเราในกัมพูชายังคงรักษาแรงงานที่โรงงานผลิตเอาไว้แต่ลดชั่วโมงการทำงานสืบเนื่องจากการล็อกดาวน์"โฆษกอาดิดาสกล่าว

ด้านพูมา ยืนยันว่า บริษัทพยายามหลีกเลี่ยงไม่ใช้วิธีการยกเลิกคำสั่งซื้อและพยายามไม่ลดออร์เดอร์ซื้อสินค้าจากโรงงานรับจ้างผลิตในกัมพูชาในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19

"เฉิง ลู"นักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรม ให้ความเห็นว่าว่า บรรดาแบรนด์ต่างๆเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและการฉีดวัคซีนให้ประชาชนในสหรัฐและใรนยุโรปมีความคืบหน้าด้วยดี ถึงแม้ว่ายังคงมีปัจจัยเสี่ยงหลักๆหลายด้าน รวมถึง ความไม่แน่นอนและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น

"ปีนี้ทุกอย่างแพงขึ้นทั้งต้นทุนการขนส่งทางเรือและต้นทุนด้านโลจิสติกส์ วัตถุดิบด้านสิ่งทอไปจนถึงต้นทุนด้านแรงงาน ยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดในฤดูร้อนปี 2564 โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตา เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดความไม่แน่นอนแก่ตลาด" ลู กล่าว

ในเวียดนาม ซึ่งปีที่แล้วแซงหน้าบังกลาเทศในฐานะผู้ส่งออกสิ่งทอใหญ่สุดอันดับสองของโลกรองจากจีน ที่กำลังประสบปัญหายอดผู้ติดเชื้อโควิด-19เพิ่ม ก็ปิดโรงงานสิ่งทอและรองเท้าประมาณ 30-35% 

สำหรับกัมพูชา การระบาดของโรคโควิด-19 เป็นเหมือนสิ่งซ้ำเติมทางการค้าระลอกสอง หลังจากปีที่แล้ว กัมพูชาสูญเสียสถานภาพพิเศษทางการค้าจากยุโรปเพราะปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยยอดส่งออกเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องของกัมพูชาไปยุโรปหดตัว 14% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2564