• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Panitsupa

#10576
คปภ. จัดยิ่งใหญ่สุดยอดงาน "Thailand InsurTech Fair 2021: มหกรรมด้านประกันภัย" แบบ Virtual ครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่าง 26-30 ตุลาคม 2564 เพื่อให้บริการผลิตภัณฑ์ราคาพิเศษแก่ประชาชน รับส่วนลดสูงถึง 35%

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัย ประกอบด้วย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย และสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน จัดงาน "Thailand InsurTech Fair 2021" มหกรรมด้านประกันภัย สุดยอดงานประจำปีที่ได้รวบรวมผลิตภัณฑ์ประกันภัยจากทุกบริษัทชั้นนำทั่วไทย และผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านการประกันภัยหรืออินชัวร์เทค (InsurTech) จากทั่วทุกมุมโลก    ให้ได้เรียนรู้ เข้าถึงสินค้าและบริการ ด้านการประกันภัยในรูปแบบต่าง ๆ

 

อีกทั้งยังได้รู้จักเครือข่าย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แล:อัปเดตพร้อมสร้างสรรค์นวัตกรรม ๆ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำต่อยอดธุรกิจให้เกิดคุณค่าสูงสุดกับผู้บริโภคและธุรกิจ โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 ตุลาคม 2564 นี้ พร้อมเชื่อว่าการจัดงานครั้งนี้จะเป็นเวทีระดมความคิดเห็นกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัย สนับสนุนรูปแบบการเข้าถึงการประกันภัยและสร้างการเรียนรู้ให้แก่ประชาชน รวมไปถึงส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย

 

เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า การจัดงานมหกรรมด้านประกันภัย หรือ  "Thailand InsurTech Fair 2021"  ถือว่าเป็นการจัดงานในรูปแบบออนไลน์ Virtual ครั้งแรกในประเทศไทย นับเป็นการปรับโมเดลและยกระดับการจัดงานจากที่ผ่าน ๆ มาของสำนักงาน คปภ. ด้วยผลสืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จนเกิดวิถีชีวิตใหม่ New Normal  ประกอบกับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของนวัตกรรมเทคโนโลยีจนก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว

 


ดังนั้นจึงความจำเป็นที่ต้องเร่งนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้กับอุตสาหกรรมประกันภัยผ่านการจัดงานครั้งนี้ โดยมุ่งหวังเพื่อการส่งเสริมภาคธุรกิจประกันภัย และส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบบริการประกันภัยแบบทั่วถึงอย่างไร้รอยต่อเพื่อผลประโยชน์สูงสุดในยุคดิจิทัล ด้วยนวัตกรรมบริการ หรือ Service Innovation ที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของสังคมในยุค Next Normal 

สำหรับรูปแบบการจัดงานครั้งนี้  ซึ่งถือว่าแตกต่างจากงานเดิม สัปดาห์ประกันภัยที่จัดงานมากกว่า 8 ปี   โดยผู้เข้าร่วมงานสามารถทำการลงทะเบียนผ่าน www.tif2021.com ได้ตั้งแต่วันนี้  ทั้งนี้ไม่จำกัดจำนวนคนเข้างาน   ภายในงานจะได้พบกับซื้อสินค้าประกันภัยในราคาสุดพิเศษ พร้อมทั้งเรียนรู้และอัปเดตข้อมูลเทคโนโลยี ด้านการประกันภัย (InsurTech) เพื่อเพิ่มโอกาสด้านความปลอดภัย ความมั่นคงในชีวิต และทรัพย์สินของคุณและครอบครัว ในยุค New  Normal

 

สำหรับกลุ่มผู้บริหารมั่นใจว่าจะอัปเดตเทรนด์ใหม่ในแวดวงเทคโนโลยีด้านการประกันภัย (InsurTech) จากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำทั่วโลก เพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มโอกาสในการต่อยอดธุรกิจ        ไม่ว่าจะเป็นกับกลุ่มบริโภคเดิมกับผลิตภัณฑ์เดิม หรือกลุ่มผู้บริโภคเดิมกับผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือกลุ่มผู้บริโภคใหม่และผลิตภัณฑ์ใหม่ และค้นหา New S-Curve จาก speakers มากประสบการณ์  ด้านนักลงทุนได้พบปะ ร่วมลงทุน     ในบริษัทอินชัวร์เทคไฟแรงในตลาดที่มีโอกาสเติบโตได้สูง และเป็นที่จับตามองในวงการสตาร์ทอัพ

             พร้อมทั้งกลุ่มอินชัวร์เทคสตาร์ทอัพจะได้มีโอกาสในการนำเสนอผลงานและสร้างคอนเนคชั่นกับผู้บริหารบริษัทประกันภัยและกลุ่มนักลงทุน รวมไปถึงผู้เข้าร่วมงาน หากไอเดียเป็นที่น่าสนใจ อาจจะกลายเป็น unicorn    ตัวต่อไปของประเทศไทย และบริษัทสายเทคฯ มั่นใจว่างานนี้จะสามารถเพิ่มช่องทางเจาะตลาดธุรกิจอินชัวร์เทค ผ่านการนำเสนอโซลูชันและเทคโนโลยีแก่ผู้บริหารทุกระดับชั้น จากทุกบริษัทประกันภัยในประเทศไทยที่เข้าร่วมงาน เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งในกลุ่มตัวแทนนายหน้าประกันภัย  จะได้ข้อมูลเคล็ดลับการบริหารงานประกันภัยให้มีประสิทธิภาพด้วยการใช้เทคโนโลยี  เทคนิคการสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคในทุกๆ มิติ  และเรียนรู้การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ next generation เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แบบไร้ขีดจำกัด สำหรับตัวแทนและนายหน้าประกันภัย

"หวังว่าการจัดงานในครั้งนี้ จะเป็นการสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมประกันภัยปรับตัวให้ทันกับความก้าวล้ำของเทคโนโลยีและนวัตกรรมภายใต้ระบบนิเวศน์ที่เหมาะสม และให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นต่อการประเมินทางเลือกและประกอบการตัดสินใจซื้อประกันภัยได้ตรงกับความต้องการและความเสี่ยงภัยของตนเองได้อย่างแท้จริง อีกทั้ง ให้ประชาชนยังสามารถเลือกซื้อประกันภัยในราคาพิเศษลดสูงสุด 30% ตลอดงานนี้" เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
#10578
ยินดีให้บริการ ทุกขนาดพื้นที่ ติดต่อ 080-022-3804
#10580
คลัง เผย ยอดใช้จ่าย คนละครึ่ง สะสมทะลุ 8 หมื่นล้านบาท ขณะที่การใช้จ่ายผ่านฟู้ดเดลิเวอรี่ ล่าสุดใช้จ่ายแล้วกว่า 112 ล้านบาท

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากการเปิดให้ผู้ใช้โครงการ "คนละครึ่ง ระยะที่ 3" ให้สามารถใช้สิทธิซื้ออาหารและเครื่องดื่มจากร้านอาหารและเครื่องดื่มที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์ม ขณะนี้ ซึ่งมี 2 ราย ได้แก่ แกร๊บ และ ไลน์แมน โดยพบว่า ข้อมูลการใช้จ่ายสะสมผ่านฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มล่าสุด ตั้งแต่ วันที่ 4 – 7 ตุลาคม 2564โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีการใช้จ่ายสะสม 112.4  ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 57.9 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่าย 54.5 ล้านบาท สำหรับ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้มีการใช้จ่ายสะสม 94,703 บาท และมีผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มในโครงการฯ สามารถขายอาหารและเครื่องดื่มผ่านผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มแล้วกว่า 54,000 ราย


ขณะที่ ข้อมูล ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2564 โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 24.76 ล้านราย จากผู้เข้าร่วมโครงการรวม 27.47 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 80,660.3 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่ายสะสม 41,016 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 39,644.3 ล้านบาท และ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้  มีประชาชนผู้ใช้สิทธิจำนวน 79,681 คน จากจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 497,374 ราย โดยมียอดใช้จ่ายสะสมรวมทั้งหมด 2,496  ล้านบาท โดยมีมูลค่าการใช้จ่ายสะสมที่นำมาคำนวณสิทธิ อี-วอยเชอร์ 1,957 ล้านบาท และคิดเป็นมูลค่าสะสม อี-วอยเชอร์ ทั้งสิ้นกว่า 213 ล้านบาท และมูลค่าการใช้จ่ายส่วน อี-วอยเชอร์ 110 ล้านบาท

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถใช้จ่ายในโครงการฯ ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 ยังสามารถลงทะเบียนอย่างต่อเนื่องได้ตั้งแต่เวลา 06.00 – 22.00 น. ของทุกวัน ซึ่งสิทธิเหลือกว่า 4.4 แสนสิทธิ จาก 28 ล้านสิทธิ ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com หรือผ่าน จี-วอลเล็ทบนแอพพลิเคชัน "เป๋าตัง" สำหรับโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com หรือผ่าน จี-วอลเล็ทบนแอพพลิเคชัน "เป๋าตัง" ซึ่งยังมีสิทธิคงเหลือกว่า 5.2 แสนสิทธิ จากครบ 1 ล้านสิทธิ
#10581

ผ่าขุมทรัพย์กองทุน "PIF" ของเจ้าชาย "บิน ซัลมาน" แห่งซาอุฯ มหาศาลขนาดไหน หลังเจียดเงิน 300 ล้านปอนด์ซื้อ "นิวคาสเซิล" สโมสรฟุต.เก่าแก่ของอังกฤษ มาบริหารได้สำเร็จ พร้อมขึ้นแท่นเป็นสโมสรลูกหนังรวยที่สุดในโลก

นับจากวันนี้เป็นต้นไป แฟน. "สาลิกาดง" นิวคาสเซิลที่ก่อตั้งมานาน 128  ปี จะได้เดินยืดอกอย่างเต็มที่ หลังทีมรักได้เจ้าของใหม่เป็นกลุ่มทุนซาอุดีอาระเบียที่มีทรัพย์สินมากกว่าเจ้าของสโมสรพรีเมียร์ลีกที่เหลือรวมกัน

เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา พรีเมียร์ลีกได้อนุมัติข้อตกลงซื้อขายสโมสรนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด อย่างเป็นทางการ ระหว่างไมค์ แอชลีย์ มหาเศรษฐีอังกฤษเจ้าของสโมสรคนเก่าที่บริหารทีมมา 14 ปี กับ กลุ่มทุนที่นำโดย "พับลิค อินเวสต์เมนต์ ฟันด์" (PIF) กองทุนเพื่อความมั่งคั่งของซาอุดีอาระเบีย ที่มีเจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งซาอุฯ ทรงอยู่เบื้องหลัง

ผ่าขุมทรัพย์กองทุน "PIF" แห่งซาอุฯ เจ้าของใหม่ "นิวคาสเซิล"
ผ่าขุมทรัพย์กองทุน "PIF" แห่งซาอุฯ เจ้าของใหม่ "นิวคาสเซิล"

กลุ่มทุนแยกจากรัฐ

ก่อนหน้านี้ การเจรจาดีลเทคโอเวอร์มูลค่า 300 ล้านปอนด์ (ราว 1.38 หมื่นล้านบาท) ยืดเยื้อมา 18 เดือน จนกระทั่งพรีเมียร์ลีกได้รับหลักประกันที่มีผลผูกพันตามกฎหมายจากรัฐบาลซาอุฯว่า กลุ่มทุน PIF เป็นการลงทุนที่ "แยกออก" จากรัฐ และรัฐซาอุฯจะไม่เข้าควบคุมสโมสรนิวคาสเซิล เนื่องจากกฎพรีเมียร์ลีกห้ามการเมืองแทรกแซงการจัดการของสโมสร



ภายใต้โครงสร้างใหม่ของนิวคาสเซิล กลุ่มทุน PIF จะถือหุ้นสโมสร 80% ส่วนอีก 10% จะถือโดยบริษัทไซมอน แอนด์ เดวิด รอยเบน ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และอีก 10% จะเป็นของบริษัทพีซีพี แคปิตอล พาร์ทเนอร์สของ อแมนดา สเตฟลีย์ นักลงทุนชาวอังกฤษ

ผงาดทีมรวยสุดในโลก

นอกจากนี้ การเทคโอเวอร์นิวคาสเซิลจากเจ้าของทีมคนเก่ายังเป็นการจุดประกายความหวังให้สาวก "ทูน อาร์มี่" ที่เบื่อหน่ายยุคบริหารที่ไร้ความทะเยอทะยานของแอชลีย์ เพราะ "ความงก" ตลอด 14 ปีที่ผ่านมา

ผ่าขุมทรัพย์กองทุน "PIF" แห่งซาอุฯ เจ้าของใหม่ "นิวคาสเซิล"
ผ่าขุมทรัพย์กองทุน "PIF" แห่งซาอุฯ เจ้าของใหม่ "นิวคาสเซิล"

ขณะเดียวกัน การเข้ามาของกลุ่มทุนกระเป๋าหนักจากซาอุดีอาระเบีย ทำให้นิวคาสเซิลยกสถานะเป็น "สโมสรที่ร่ำรวยที่สุด" ในพรีเมียร์ลีกและระดับโลก ด้วยทรัพย์สินมูลค่าสูงถึง 3.2 แสนล้านปอนด์ หรือประมาณ 14 ล้านล้านบาท มากกว่า แมนเชสเตอร์ ซิตี ที่ครองตำแหน่งทีมที่ร่ำรวยที่สุดมาอย่างยาวนาน

เจ้าชายซัลมาน มั่งคั่งเพียงใด

เมื่อได้เจ้าของทีมคนใหม่ แฟน.สาลิกาดงน่าจะอยากรู้จักเจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มากขึ้น รวมถึงมีทรัพย์สินร่ำรวยมหาศาลขนาดไหน

ผ่าขุมทรัพย์กองทุน "PIF" แห่งซาอุฯ เจ้าของใหม่ "นิวคาสเซิล"
ผ่าขุมทรัพย์กองทุน "PIF" แห่งซาอุฯ เจ้าของใหม่ "นิวคาสเซิล"


เจ้าชายบิน ซัลมาน พระชนมายุ 36 ปี ไม่เพียงแต่เป็นมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย แต่ยังดำรงตำแหน่งผู้ปกครองประเทศในนามของรัฐบาล โดยรับตำแหน่ง "รองนายกรัฐมนตรี" เป็นประธานสภากิจการฝ่ายเศรษฐกิจและพัฒนา รวมถึงรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมด้วย

นอกจากนี้ เจ้าชายบิน ซัลมาน ยังนั่งตำแหน่งประธานของกองทุน PIF ซึ่งเป็นกลุ่มทุนที่ดำเนินการเข้าเทคโอเวอร์นิวคาสเซิล และมีทรัพย์สินอยู่ในการดูแลมูลค่าถึง 4.3 แสนล้านดอลลาร์ (ประมาณ 14.57 ล้านล้านบาท) ด้วยกัน

ขณะเดียวกัน สิ่งที่การันตีความมั่งคั่งของเจ้าชายบิน ซัลมาน ได้อย่างชัดเจนคือ การถูกบันทึกว่าเป็นเจ้าของคฤหาสน์ราคาแพงที่สุดในโลก

เมื่อปี 2015 เจ้าชายแห่งซาอุฯ จ่ายเงิน 230 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 10,587 ล้านบาท ซื้อคฤหาสน์สุดโอ่อ่า ทางตะวันตกของกรุงปารีส ฝรั่งเศส บนพื้นที่กว่า 5 หมื่นตารางเมตร ซึ่งมี 10 ห้องนอนและมีสระว่ายน้ำทั้งข้างในและข้างนอก เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์

ด้วยทรัพย์สินในราชวงศ์ที่มีอยู่มากกว่า 1 ล้านล้านปอนด์ (ประมาณ 46 ล้านล้านบาท) เจ้าชายบิน ซัลมาน จึงตัดสินใจไม่ยากนักที่จะทุ่มเงินกว่า 380 ล้านปอนด์ (ประมาณ 1.75 หมื่นล้านบาท) ซื้อเรือยอชต์ขนาดใหญ่ 439 ฟุต จาก "ยูริ ชีฟเลอร์" มหาเศรษฐีธุรกิจวอดก้าของรัสเซีย เมื่อปี 2015 โดยเรือลำนี้ชื่อ "เซรีน" ถูกบันทึกว่าเป็นหนึ่งใน 10 เรือยอชต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

------------

อ้างอิง: CNBC, BBC, AFP
#10582
ขายบ้านบางระจัน 126วา ขายถูก โทร 0837124115
#10583


"ดีแทค" วางโรดแมปองค์กรแห่งอนาคต รับพันธกิจ "ดีทั่วดีถึง" สร้างดิจิทัลอีโคซิสเต็ม พร้อมเปลี่ยนผ่านโมเดลปฏิบัติการสู่ดิจิทัล ปูทางดีแทคแอปสู่ "ซูเปอร์แอป"

หลังจาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม 2532 พร้อมดำเนินธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในย่านความถี่ 800 เมกะเฮิรตซ์ และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ภายใต้สัญญา ร่วมการงานซึ่งอยู่ในรูปแบบ "สร้าง-โอน-ดำเนินงาน" จาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (เดิมคือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย)และดำเนินการมาสู่ปีที่ 32 ในปัจจุบัน (ปี 2564)

และ จากการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ มาพร้อมกับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ที่เป็นแรงขับเคลื่อน 'ดีแทค' ครั้งใหญ่ พร้อมเร่งสปีดการใช้งานดิจิทัลลูกค้าดีแทค ตั้งเป้าผู้ใช้งานดิจิทัลทะลุ 10 ล้านคนต่อเดือน เพิ่มยอดลูกค้าใหม่ผ่านดิจิทัล 5 เท่า


ฮาว ริ เร็น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เราเห็นการเติบโตของการใช้ดิจิทัลที่มากขึ้นอย่างเป็นปรากฎการณ์ในกลุ่มลูกค้าดีแทค

โดย 'ดีแทค' ได้กำหนดวาระติดสปีดดิจิทัลเป็นสำคัญ โดยเเบ่งเป็นส่วน 3 ส่วน ได้แก่ 1.ยกเครื่องระบบปฏิบัติการเป็นดิจิทัล ?(Digitize the core) 2. เร่งเปลี่ยนผ่านบริการให้บริการและการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในแบบเฉพาะตัว (Accelerate digital interaction) และ3.การขยายบริการดิจิทัลให้ครอบคลุมความต้องการของลูกค้ามากขึ้นผ่านโมเดลการทำงานแบบเอไจล์กับพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมอื่น (Go beyond connectivity) โดยออกแบบบริการให้เข้าถึงทุกคนได้มากขึ้น

ADVERTISEMENT



สร้างธุรกิจหลักให้เป็นดิจิทัล
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาของการลงทุนในระบบดิจิทัลของดีแทค ช่วยสร้างประสบการณ์ของลูกค้าให้ได้รับการบริการที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างมาก อันเป็นผลมาจากอัตราการปรับใช้ดิจิทัลเพิ่มขึ้น ศูนย์บริการดีแทคได้เปลี่ยนรูปแบบการทำงานแบบดิจิทัลเป็นแบบไร้กระดาษ 100% ด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพจากการที่ใช้คนทำงานจำนวนมาก ร้านตัวแทนจำหน่ายมากกว่า 90% ได้ใช้เครื่องมือดิจิทัลในกิจกรรมการขายและบริการในแต่ละวัน

ปัจจุบันสัดส่วนยอดขายดีแทคดิจิทัลทะลุ 70% ทั้งแบบเติมเงิน ชำระค่าบริการ และการซื้อบริการเสริมผ่านช่องทางของดีแทคเองและช่องทางอื่นๆ

ดีแทค ปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋าเสริมสกิลดิจิทัลรุ่นแรก250คน รับอนาคตเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนโครงสร้าง
ดีแทค เสริมสภาพคล่องการเงินลูกค้าช่วงโควิด ปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลบนมือถือ 
กระตุ้นการใช้งานดีแทคแอป
ปัจจุบันลูกค้าดีแทคมากกว่า 46% ใช้งานดิจิทัลแอคทีฟต่อเดือน และด้วยกลยุทธ์ในการมุ่งเน้นให้ลูกค้าทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการดิจิทัลได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมในแบบ "ดีทั่วดีถึง" ส่งผลให้อัตราผู้ใช้งานผ่าน ดีแทคแอปในกลุ่มลูกค้าในระบบเติมเงินโตขึ้น 3 เท่า และพบการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นถึง 124% ในกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด ซึ่งดีแทคได้พัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มต่างๆ สามารถเข้าถึงบริการดิจิทัลได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

สะท้อนได้จากการพัฒนา dtac app Lite ซึ่งเป็นโมบายแอปที่ไม่ต้องดาวน์โหลดไว้ในเครื่องแต่สามารถให้บริการต่างๆ ได้เหมือนดีแทคแอป ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการด้วยเงื่อนไขทางเทคโนโลยี ทำให้มีลูกค้าดีแทคสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ผ่านช่องทางดิจิทัลได้มากขึ้น โดยแต่ละวันมีลูกค้าดีแทคราว 1 ล้านคนใช้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลของดีแทค

การสร้างสรรค์กิจกรรมในรูปแบบของเกม และสิทธิพิเศษจากดีแทครีวอร์ด Coins เป็นการดึงดูดให้ลูกค้าให้สนุกสนานในการใช้งานดิจิทัล ได้มีส่วนร่วม และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าเข้าสู่แพลตฟอร์มและเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นดิจิทัลในวงที่กว้างขึ้นด้วยรูปแบบการเล่นเกมลุ้นรางวัล

สำหรับช่องทางบริการ Omni-channel ยังมีแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ข้อมูลที่ช่วยขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังประสบการณ์ของลูกค้า ด้วยการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สามารถวิเคราะห์และนำเสนอบริการที่ตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าอย่างแท้จริง ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงช่องทางดิจิทัลเท่านั้นแต่ยังสามารถขยายการให้บริการไปในช่องทางร้านค้าอื่นๆทั้งหมดได้อีกด้วย

ขยายช่องทางขายดิจิทัล เข้าถึงลูกค้า
ช่องทางการขายดิจิทัลได้ขยายออกไปอย่างไร้รอยต่อ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ด้วยการก้าวข้ามช่องทางในดีแทคเองขยายสู่ตลาด เช่น Shopee, Lazada และ JD Central รวมถึงโซเชียลมีเดียอย่าง LINE , Facebook และ WeChat

โซเชียลคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นอีคอมเมิร์ซที่ขับเคลื่อนโดยโซเชียลมีเดีย ได้เติบโตขึ้นเป็นโมเดลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยการผสมผสานระหว่างช่องทางดิจิทัลและหน้าร้าน ลูกค้าจะสามารถทำธุรกรรมดิจิทัลที่คุ้นเคยได้อย่างง่ายดาย ดีแทคได้พลิกโฉมการให้บริการ จากออนไลน์สู่ออฟไลน์ ในช่วงการระบาดโควิด-19 ซึ่งทำให้การให้บริการลูกค้าเป็นไปอย่างราบรื่น

เป็นมากกว่าผู้ให้บริการโทรคมนาคม
นอกเหนือจากการเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมแบบเดิมแล้ว ดีแทคยังตั้งเป้าที่จะขยายบริการไปบริการที่มีการเข้าถึงน้อยและอัตราการเติบโตสูง ด้วยการร่วมมือในเชิงกลยุทธ์กับผู้เล่นในอุตสาหกรรม ดีแทคตั้งเป้าที่จะพัฒนาสู่อีโคซิสเต็มของพันธมิตรที่ลูกค้าจะได้รับประโยชน์จากทั้งข้อเสนอที่ดีที่สุดของพันธมิตรและประสบการณ์ดีแทคที่ดีที่สุดเช่นเดียวกัน ด้วยโมเดลนี้ ดีแทคจะมีความคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลง เติบโต และขยายบริการไปสู่บริการที่ "มากกว่า" โทรคมนาคม สะท้อนจากความร่วมมือจากบริการใจดี มีวงเงินให้ยืม ร่วมกับ LINE BK และเว็บเติมเกม Gaming Nation ได้แสดงให้เห็นความสำเร็จเบื้องต้นจากการเป็นมากกว่าผู้ให้บริการโทรคมนาคมในรูปแบบใหม่

"ดีแทคจะเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมและเป็นพันธมิตรกับผู้เล่นในอุตสาหกรรมที่มีกลยุทธ์มากขึ้น เพื่อนำเสนอคุณค่าใหม่ๆ ให้กับลูกค้าด้วยการมุ่งเน้นที่ชัดเจนในการส่งต่อดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ดีแทคตั้งเป้าที่จะนำเสนอคุณค่าใหม่ๆ แก่ผู้ใช้ที่ใช้งานอยู่ 10 ล้านคนต่อเดือน และการเติบโต 5 เท่าของการเข้าซื้อกิจการดิจิทัลในปี 2566" ริ เร็น กล่าว
#10584
"ไทยบีเอ็มเอ" คาดเอกเชนออกหุ้นกู้ไตรมาส4/64 มูลค่า 2.18 แสนล้าน หวั่นเฟดขึ้นดอกเบี้ย ดันต้นทุนขายปีหน้าเพิ่มขึ้น หนุนทั้งปีทะลุ 1 ล้านล้าน จากปัจจุบันมียอดออกแล้ว 8.4 แสนล้าน

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า  คาดบริษัทเอกชนออกหุ้นกู้ไตรมาส 4ปี 2564 ประมาณ  218,930 ล้านบาท แบ่งเป็น หุ้นกู้ออกใหม่ จำนวน  111,930ล้านบาท และอีกราว 107,000 ล้านบาท เป็นการออกเพื่อทดแทนหุ้นกู้เดิมที่ครบกำหนด   เนื่องจากภาคเอกชนที่เป็นผู้ออกหุ้นกู้ คาดว่าหากเฟดเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้ต้นทุนการออกหุ้นกู้สูงขึ้นในปีหน้า ดังนั้นจึงใช้จังหวะช่วงที่เหลือปีนี้ออกหุ้นกู้อย่างต่อเนื่อง  

ดังนั้นคาดว่าการออกหุ้นกู้ของภาคเอกเชน มีโอกาสแตะ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งมากกว่าเป้าที่ตั้งไว้900,000 ล้านบาท ถือว่ากลับมาเพิ่มขึ้นในระดับเดียวกับเมื่อปี 2562 ก่อนเกิดโควิด-19ที่ทำสถิตินิวไฮทะลุ 1 ล้านล้านบาท

"แม้บอนด์ยิลด์ในตลาดตราสารหนี้ไทยจะมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางในตลาดโลก แต่ส่วนชดเชยความเสี่ยง (Credit spread) ของหุ้นกู้ที่ปรับลดลง ประกอบกับสภาพคล่องในระบบ ทำให้ต้นทุนของผู้ออกตราสารหนี้ภาคเอกชนไม่ได้เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปี ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการออกหุ้นกู้ ดังนั้น การออกหุ้นกู้ระยะยาวของปีนี้จะไม่ต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้" 



นางสาวอริยา กล่าวว่า  ในช่วง9 เดือนแรกปีนี้ มียอดการออกหุ้นกู้รวมทั้งสิ้น 817,556 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54%จากช่วงเดียวกันปีก่อน และปัจจุบันขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 840,000 ล้านบาท   โดยกลุ่มธุรกิจที่เสนอขายสูงสุด 5 กลุ่มแรกยังมีสัดส่วนคงเดิม  ได้แก่ พลังงาน  (Energy) 20.6%, อสังหาฯ (PROP) 15.1%, การเงิน (FIN ) 13.6%, คอมเมิร์ซ (Commerce) 12.8% และอาหาร ( FOOD) 11.8%

ส่วนทางด้านความเสี่ยงหุ้นกู้ไฮยิลด์ผิดนัดชำระหนี้  น่าจะมีแนวโน้มเชิงบวกมากกว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด -19 คลี่คลายและเปิดประเทศได้  โดยในปีนี้พบว่า มีจำนวนบริษัทเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าน้อยลงกว่าปีก่อน  ปัจจุบันอยู่ที่ 14,000 ล้านบาท ไม่รวมการบินไทย แบ่งเป็นบริษัทใหม่ที่ขอยืดชำระหนี้ รุ่นใหม่ จำนวน 4 บริษัท มูลค่า 3,800 ล้านบาท  ส่วนบริษัทเดิมในปีก่อนที่ยืดชำระหนี้ รุ่นใหม่ มีจำนวน  7  บริษัท มูลค่า่ 9,300 ล้านบาท  

นอกจากนี้หุ้นกู้กลุ่มไฮยิลด์ ที่ออกในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ เป็นหุ้นกู้มีประกันในสัดส่วนที่สูงขึ้นกว่า 80% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการค้ำประกันโดยนิิติบุคคล และหุ้นกู้กลุ่มอสังหาฯ ยังไม่มีีความน่ากังวลต่อความเสี่ยงเอเวอร์แกรนด์ เพราะกลุ่มอสังหาฯ มีสัดส่วนหุ้นกู้คงค้างราว 11%หรือคิดเป็นมูลค่าราว 440,077 ล้านบาท จากมูลค่าหุ้นกู้คงค้างในระบบราว 4.2 ล้านล้านบาท

ด้านกระแสเงินลงทุนจากต่างประเทศ (ฟันด์โฟลว์) ในปีนี้คาดว่า ยังเป็นแรงซื้อสะสมสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทยหากในช่วงที่เหลือของปีนี้ เฟดไม่มีประเด็นเซอร์ไพรส์ตลาด


นายภูดินันท์ เศรษฐนันท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ พัฒนาผลิตภัณฑ์การเงิน ธุรกิจผลิตภัณฑ์การเงิน และผู้บริหารการขายลูกค้าบุคคลธนกิจ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย (CIMBT)กล่าวว่า ปีนี้ธนาคารคาดเป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้นกู้ 1.8 หมื่นล้านบาท จากปีก่อนที่ 1.1 หมื่นล้านบาทและปีหน้าคาดการณ์โตต่อเนื่องอีก 30%

ทั้งนี้จากภาวะดอกเบี้ยต่ำ ที่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะต่ำไปอีกสักระยะ ส่งผลให้การฝากเงินได้รับอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียง 0.25-0.50% เท่านั้น  ซึ่งธนาคารมองเห็นโอกาสในการช่วยให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น โดยเฉพาะ การสนับสนุนนักลงทุนให้เข้าไปลงทุนผ่านตลาดรองตราสารหนี้ ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยหากดูผลตอบแทนเฉลี่ย 5 ปี ของหุ้นกู้ระดับ AAA พบว่าให้ผลตอบแทนสูงถึง 2.5% ขณะที่หากเป็นระดับ BBB ให้ผลตอบแทนสูง3-4%ซึ่งในวันที่ 10ต.ค.นี้ ซีไอเอ็มบีไทย เตรียมออกขายหุ้นกู้ผ่านซีไอเอ็มบีด้วย ซึ่งคาดว่าจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 2-3%

"เรามองว่าตลาดหุ้นกู้น่าจะโตได้อีกมาก ในต่างประเทศตลาดหุ้นกู้โตกว่าเงินกู้ธนาคาร 2-3เท่า แต่ไทยตลาดหุ้นกู้อยู่ที่ 14ล้านล้านบาท ขณะที่เงินกู้แบงก์อยู่ที่16ล้านล้านบาท ดังนั้นเรามองว่าในระยะข้างหน้าตลาดหุ้นกู้มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก "
#10585
การนำดิจิทัลโซลูชันเข้ามาใช้ในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจได้กลายเป็นทั้งกลยุทธ์และช่วยสร้างโอกาสครั้งสำคัญแก่องค์กรธุรกิจ เพื่อให้สามารถเผชิญกับสถานการณ์ในปัจจุบันทั้งรูปแบบการทำงานและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้หลายธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนจากการทำตลาดแบบ B2B มาสู่ B2C ระบบ ERP จึงกลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สำคัญที่หลายองค์กรในหลากหลายอุตสาหกรรมต้องการนำมาปรับใช้ เพื่อก้าวเข้าสู่การทำ Business Transformation

หากคุณกำลังมองหาเครื่องมือ หรือโซลูชันในการก้าวสู่ Intelligent Enterprise วันนี้ ISS Consulting มีโมเดลทางธุรกิจใหม่ที่จะช่วยทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ดิจิทัล สร้างความเติบโตครั้งใหม่ รวมถึงรองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต กับงานสัมมนาครั้งใหญ่แห่งปี ISS & SAP User Virtual Conference 2021



ISS Consulting (Thailand) ผู้ให้บริการด้านการปรึกษาและติดตั้งซอฟต์แวร์ SAP ระดับ Platinum Partner ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์ระดับสูงสุดของ SAP กับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมากกว่า 22 ปี การันตีความเชื่อมั่นด้วยรางวัล Partner of The Year 5 ปีติดต่อกัน จนปัจจุบันมีลูกค้าองค์กรธุรกิจทั่วประเทศไทยมากกว่า 430 บริษัท

จากความสำเร็จที่ผ่านมา ISS Consulting และ SAP Thailand ได้จับมือร่วมอัปเดตเทคโนโลยีใหม่ๆ ของ SAP ให้กลุ่มลูกค้าและผู้ที่สนใจผ่านงานสัมมนา ISS & SAP User Conference (เป็นประจำทุกปี) และในปีนี้ ISS & SAP User Virtual Conference 2021 จัดขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม 2564 เพื่อให้องค์กรธุรกิจที่ใช้งานระบบของ SAP รวมถึงองค์กรธุรกิจที่ยังไม่มีระบบ ERP มาร่วมแลกเปลี่ยน และอัปเดตข้อมูลโซลูชันใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา เพื่อนำไปปรับใช้งานกับองค์กรธุรกิจในแต่ละภาคอุตสาหกรรม สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในยุคเศรษฐกิจในปัจจุบัน ผ่านการนำเสนอในรูปแบบ Virtual Event จำลองสภาพแวดล้อมของงานอีเวนต์มาอยู่บนโลกออนไลน์ ผู้เข้าร่วมงานสามารถมีส่วนร่วมและสัมผัสเนื้อหาและประสบการณ์เสมือนกับงานอีเวนต์เสมือนจริง



คุณวิศิษฐ์ วิระยากรณ์ กรรมการผู้จัดการ ไอเอสเอส คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า องค์กรธุรกิจทุกแห่งควรเห็นความสำคัญของการนำระบบ ERP มาปรับใช้ในองค์กรเป็นลำดับแรกๆ เพราะที่ผ่านมา หลายบริษัทเมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแบบที่ไม่มีระบบบริหารจัดการ เมื่อมีธุรกรรมมากขึ้น ความจำเป็นในการนำระบบ ERP มาใช้จึงสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ในประเทศไทยองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กเกือบครึ่งไม่มีการนำระบบ ERP มาใช้ทำให้การขยายธุรกิจในบางจังหวะเกิดความล่าช้า ขณะที่องค์กรขนาดใหญ่ที่มีการนำระบบไปใช้งานจะมีโอกาสในการนำโซลูชันในการบริหารจัดการด้านต่างๆ ไปช่วยรับกับยุคดิจิทัลมากขึ้น

"ในอดีตหลายองค์กรธุรกิจจะโฟกัสกับการลงทุน Digital Core ที่เป็นระบบ ERP เพื่อพัฒนาการทำงานภายในองค์กรเพียงอย่างเดียว ซึ่งปัจจุบันไม่เพียงพอแล้ว เพราะการทำธุรกิจไม่ได้เป็นแค่ B2B แล้ว แต่กลายเป็น B2C ที่สามารถเข้าหาผู้บริโภคได้โดยตรง"

เมื่อรวมกับแนวโน้มของธุรกิจที่ขยายไปเน้นสร้างประสบการณ์ลูกค้า พนักงาน และซอฟต์แวร์ที่เป็นคลาวด์มากขึ้น จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถขยายได้เร็วขึ้น มีระบบที่รองรับการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ และช่วยให้เห็นผลจากการลงทุนได้เร็วขึ้น

ประกอบกับที่ผ่านมา เมื่อทุกคนต่างปรับตัวเข้าสู่การใช้ชีวิตวิถีใหม่มากขึ้น การติดตั้งระบบที่ปัจจุบันสามารถทำผ่านออนไลน์ได้ จึงช่วยให้การนำโซลูชันต่างๆ ไปใช้งานได้เร็วขึ้น และช่วยให้บริหารจัดการการทำงานได้คล่องตัวมากขึ้นด้วย



คุณวิศิษฐ์ เล่าให้ฟังเพิ่มเติมถึงจุดประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ว่า อยากให้องค์กรธุรกิจที่ใช้งานระบบของ SAP เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใช้งาน รวมถึงการอัปเดตความสามารถของโซลูชันในรอบปีที่ผ่านมา อีกทั้งทางบริษัทจะได้มีโอกาสขอบคุณพันธมิตร และคู่ค้าที่ทำงานร่วมกันตลอด 22 ปีที่ผ่านมา ในงานครั้งนี้เช่นเดียวกัน

โดยภายในงาน ISS & SAP User Virtual Conference 2021 นอกจากกิจกรรมหลักในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทรานส์ฟอร์มธุรกิจแล้ว ยังมีการแบ่งหัวข้อที่น่าสนใจครอบคลุมถึง 5 ด้านด้วยกัน ประกอบด้วย



1.Digital Core Experience เป็นการนำเสนอข้อมูลความสามารถใหม่ของระบบ ERP อย่างการอัปเดตข้อมูล SAP S/4HANA แบบเจาะลึก พร้อมให้คำแนะนำในการอัปเกรดใช้งานแก่ลูกค้าเดิม โดยเฉพาะการนำ AI มาช่วยบริหารจัดการธุรกิจ พร้อมยกระดับมาตรฐานองค์กรสู่ความยั่งยืน ผ่าน RISE with SAP ด้วยการนำโซลูชันทางธุรกิจมาช่วยเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ Intelligent Enterprise นอกจากนี้จะนำเสนอ ERP อีกรูปแบบคือ SAP Business ByDesign ซอฟต์แวร์บริหารจัดการภายในองค์กรที่รองรับการเชื่อมต่อในลักษณะของ Hybrid Cloud ทำให้สามารถเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

2.Industry Solution นำเสนอประสบการณ์ทำ Digital Transformation ในอุตสาหกรรมต่างๆ ช่วยให้เลือกใช้งานโซลูชันที่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมา ISS ได้เข้าไปติดตั้งระบบให้ภาคสาธารณสุขอย่าง Healthcare เพื่อช่วยรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จนถึงในภาคการศึกษา และวิจัย (Higher Education and Research) ที่ต้องปรับตัวสู่การเรียนการสอนออนไลน์ ทำให้มีประสบการณ์มาแชร์ให้แก่ผู้เข้าร่วม รวมไปถึงในส่วนของภาคการผลิตที่ใช้งานโซลูชันต่างๆ ที่นำ SAP Solution for Man.cturing Discrete เข้าไปช่วยปรับปรุงกระบวนการผลิต จนถึงในภาคค้าปลีก และค้าส่งที่มี SAP Solution for Wholesale and Retail มาช่วยเสริมการทำตลาดให้ครอบคลุมทั้ง B2B และ B2C

3.Intelligent Enterprise Solution ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ Intelligent Enterprise ด้วยการนำโซลูชันอย่าง SAP SuccessFactors เพื่อให้องค์กรเข้าใจความต้องการของพนักงาน ซึ่งจะช่วยให้ตอบสนองการทำงานของพนักงาน และก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด ตามด้วย SAP Ariba โซลูชันเพื่อช่วยปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อให้เป็นดิจิทัล และสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพด้าน CRM นั้น SAP Customer Experience จะช่วยให้เข้าใจลูกค้า สร้างประสบการณ์ร่วมได้มากขึ้น จนถึงการนำโซลูชัน SAP Qualtrics ในการทำแบบสำรวจ และรายงานผล และ SAP Litmos มาช่วยจัดการการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ของพนักงานในองค์กรผ่านระบบเวอร์ชวลเพื่อนำไปปรับใช้ในธุรกิจ

4.Innovation Experience เกี่ยวกับการนำระบบ SAP iRPA (Intelligent Robotics Process Automation) เข้าไปช่วยแก้ Pain Point ในธุรกิจ เสริมด้วยการนำนวัตกรรมมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Withholding Tax ที่ปัจจุบันใช้งานผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น และช่วยให้ธุรกิจสามารถเชื่อมต่อระบบเข้ากับกรมสรรพากร หรือระบบภายนอกได้ทันที จนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลผ่าน SAP Analytics Cloud ในการรวบรวมข้อมูลมาแสดงผลเป็นรายงานให้ผู้บริหารตัดสินใจได้ และ SAP Concur โซลูชันที่ช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลการเดินทาง และค่าใช้จ่ายในธุรกิจต่างๆ ผ่านระบบคลาวด์

5.SAP Business One Solution พร้อมแนะนำเวอร์ชันล่าสุด เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางและ SMEs ที่สนใจนำระบบ ERP เข้าไปช่วยให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่ง และมีข้อมูลในการตัดสินใจเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเติบโตในอนาคต รวมถึงลูกค้าที่ใช้ ERP อยู่แล้วว่าจะสามารถเชื่อมโยงระบบเข้ามาอย่างไร นอกจากนี้ ในช่วง Panel Discussion จะเป็นการนำเสนอวิศัยทัศน์และประสบการณ์ในการใช้ระบบ SAP Business One กับผู้บริหารจากบริษัทชั้นนำในประเทศไทย

มาร่วมแลกเปลี่ยน และหาคำตอบของการนำระบบ SAP ไปใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้กลายเป็น Intelligent Enterprise กันได้ภายในงาน ISS & SAP User Virtual Conference 2021 ที่จัดขึ้นในลักษณะออนไลน์เป็นครั้งแรกได้ในวันที่ 27 ตุลาคมนี้




X


นอกจากนี้ ผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมมนามีสิทธิลุ้นรับ Samsung Galaxy Z Flip3 พร้อมรางวัลอื่นๆ อีกมากมายที่ทาง ISS Consulting เตรียมไว้ขอบคุณพันธมิตร และคู่ค้าทุกรายที่ทำงานร่วมกันในช่วงปีที่ผ่านมา

เกี่ยวกับ ISS Consulting



ISS Consulting บริษัทให้คำปรึกษา และบริการด้านการออกแบบ พัฒนา ติดตั้งโซลูชัน ที่เป็นพาร์ตเนอร์กับ SAP ในระดับ Platinum และ SAP Global Partner รวมถึงการที่อยู่ภายใต้กลุ่มบริษัท NTT DATA ที่เป็นผู้ให้บริการระบบ SAP และ Data Center ระดับโลก ทำให้ ISS Consulting มีความเชี่ยวชาญในการนำเสนอ SAP โซลูชัน เพื่อพัฒนาระบบบริหารการจัดการในองค์กร

ปัจจุบัน ISS Consulting (Thailand) Ltd. ได้เข้าร่วมเป็นบริษัทในกลุ่ม NTT DATA ซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบ SAP และ Data Center ระดับโลก ทำให้บริษัทมีความสามารถในการนำเสนอ SAP Solution และ IT Solution อื่นๆ ให้ลูกค้าในประเทศไทยในขอบเขตที่กว้างยิ่งขึ้นและครบวงจรมากยิ่งขึ้น ทางด้าน SAP Partner นั้น ISS Consulting (Thailand) Ltd. ยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่ม SAP Global Partner ทำให้บริษัทมีศักยภาพมากขึ้นในการนำเสนอ SAP โซลูชันธุรกิจระดับโลก

ผู้ที่ต้องการปรึกษาเกี่ยวกับเรื่อง SAP เพื่อพัฒนาระบบบริหารการจัดการในองค์กรให้ดีขึ้น ISS Consulting พร้อมให้คำปรึกษาในทุกกลุ่มประเภทธุรกิจ ติดต่อได้ที่ โทร.0-2237-0553 หรือติดตาม ISS Consulting (Thailand) ได้ที่ Link ด้านล่างนี้
• Website : bit.ly/ISSConsultinbwebsite
• Facebook : bit.ly/issconsultingfb
• Instagram : bit.ly/ISSInstagram
• YouTube : bit.ly/issconsulting
#10587
ยินดีให้บริการ ทุกขนาดพื้นที่ ติดต่อ 080-022-3804
#10588


คณะบัญชี และ หลักสูตรนวัตกรรม จุฬาฯ เผยโมเดลดิจิทัลทรานสฟอร์มเมชัน เปิดโรดแมพสู่การเปลี่ยนแปลงธุรกิจได้จริง

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn Business School: CBS) และ หลักสูตรสหสาขาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม จุฬาฯ (Technopreneurship Innovation Management Program, Chulalongkorn University: CUTIP) เปิดเส้นทางสู่การลงมือเปลี่ยนธุรกิจได้จริง หลังผลการวิจัยพบว่า องค์กรส่วนใหญ่ในไทยยังอยู่ในขั้นตอนเริ่มทำดิจิทัลทราสฟอร์มเมชันและมีเพียง 5% ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้


 

รศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะบัญชี จุฬาฯ กล่าวว่า ทางคณะได้พัฒนาหลักสูตร และกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อปั้นนักธุรกิจยุคใหม่พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกธุรกิจในยุคเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 


ดิจิทัลทรานสฟอร์มเมชันเป็นประเด็นที่พูดถึงกันมา 2-3 ปีแล้ว และทุกธุรกิจในประเทศไทยก็ต้องการปรับเปลี่ยน แต่ปรากฎว่า ยังมีความคืบหน้าไม่มากนัก ดังนั้น คณะบัญชี จุฬาฯ จึงพยายามผลักดันในหลายแนวทาง โดยล่าสุด คณะบัญชี จุฬาฯ และหลักสูตรสหสาขาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม จุฬาฯ ได้จัดเสวนาออนไลน์ ในหัวข้อ "ดิจิทัลทรานสฟอร์มธุรกิจ 2022 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "CBS Dean's Distinguished Seminar Series" พร้อมเปิดตัวเข็มทิศทรานสฟอร์มธุรกิจ (Digital Transformation  Compass) กระตุ้นธุรกิจไทยเร่งก้าวสู่โรดแมพการเปลี่ยนแปลงผ่านการตรวจเช็ควุฒิภาวะทางดิจิทัล

รศ.ดร.วิเลิศ ชี้ว่า ธุรกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ เพราะมักจะติดกับดักทางความคิดที่จะเน้นการผลิตสินค้าคุณภาพ แต่การทรานสฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัลต้องหานวัตกรรมตอบสนองวิถีชีวิตของคนที่มีความต้องการหลากหลาย และมีทัศนคติในเรื่องของจิตวิทยาของมนุษย์ Every digital business is human business ขณะเดียวกัน ธุรกิจต้องเปลี่ยนแนวคิดจากกลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า CRM (Customer Relationship Management) มาเป็นการเน้นสร้างความสัมพันธ์ผ่านดิจิทัล DRM (Digital Relationship Management)

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ต้องผันตัวเองให้กลายเป็นผู้ประกอบการธุรกิจด้วยนวัตกรรม (Innopreneurship) ที่ต้องอาศัย 3 ปัจจัยหลักคือ T-transformation to innovation โดยเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และคนในองค์กร I-insight ต้องได้ข้อมูลเชิงลึกถึงระดับจิตใจของลูกค้า และ P-Proactive ซึ่งองค์กรจะต้องก้าวล้ำเหนือคู่แข่ง ทั้งนี้ ผู้นำองค์กรจะต้องทรานสฟอร์มวิสัยทัศน์ให้เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง และเป็นคนที่มีสัญชาตญาณของความอยู่รอด (Survival Instinct)


ด้าน ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล ผู้เขียนหนังสือ Digital Transformation Compass หรือเข็มทิศทรานสฟอร์มธุรกิจ กล่าวว่า การทำดิจิทัลทรานสฟอร์มเมชัน คือ การสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล ซึ่งองค์กรธุรกิจต่างๆ รู้ว่าจะต้องปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล แต่มีปัญหาในการลงมือทำ และไม่รู้ว่าตนเองไปถูกทางหรือไม่ ดังนั้น การเปลี่ยนธุรกิจต้องอาศัย 3 เครื่องมือ ได้แก่ Digital Maturity Assessment, Digital Transformation Model, และ Digital Transformation Metrics

 
ดร. ณัฐพร วิรุฬหการุญ หัวหน้าคณะวิจัย Thailand Digital Transformation Readiness 2021 เสนอผลการสำรวจในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า ระดับความพร้อมด้านดิจิทัลขององค์กรธุรกิจไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.27 จากคะแนนเต็ม 4 โดย 57% อยู่ในกลุ่มกำลังเริ่มทำดิจิทัลทราสฟอร์มเมชัน (Adopters) ตามด้วยกลุ่มที่กำลังคิดจะเปลี่ยนแปลง (Dreamers) ส่วนกลุ่มที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง (Differentiators) มีเพียง 5% เท่านั้น

สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันไม่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ วิสัยทัศน์ไม่ชัดเจน ลอกหรือนำบทเรียนขององค์กรอื่นมาปรับใช้ ขาดการทำโรดแมพและทรัพยากรที่จำเป็น และไม่ได้ปฏิบัติอย่างจริงจัง แต่เป็นเพียงเพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กร


 
ดร. ณัฐพร แนะว่า "เราต้องรู้ตัวเองว่า ตอนนี้เรากำลังมีความพร้อมทางดิจิทัลมากน้อยเพียงใด (Digital Readiness) และมีวุฒิภาวะทางดิจิทัลอยู่ที่ระดับใด (Digital Maturity Level) ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่า ปัจจุบัน เราสามารถใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีได้ดีเพียงใด (Digital Capabilities)"

นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า คนเป็นมิติที่มีความพร้อมน้อยที่สุด เนื่องจากขาดความรู้และทักษะด้านดิจิทัล ตลอดจนความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งถือเป็นปัญหาระดับประเทศ


ดร. บวรนันท์ ทองกัลยา นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย หรือ PMAT (Personnel Management Association of Thailand) กล่าวว่า การพลิกโฉมเรื่องคนนับเป็นความท้าทายขององค์กรอย่างยิ่ง โดยการทำ people transformation เป็นสิ่งที่องค์กรต้องทำคู่ขนานกันกับ organizational transformation นอกจากนี้ องค์กรยังต้องทำ HR transformation ด้วย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การสรรหาบุคลากรไปจนกระทั่งเกษียณอายุ



ทางด้าน สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาองค์กรต้นแบบของการทรานสฟอร์มธุรกิจ กล่าวว่า ตลอด 40 ปี อาร์เอส เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดและเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีดิสรัปชันอย่างรุนแรง ซึ่งอาร์เอสได้มีการปรับตัวอย่างมากในระยะ 7 ปีที่ผ่านมา โดยเปลี่ยนโมเดลธุรกิจจากธุรกิจสื่อและบันเทิงมาสู่ธุรกิจคอมเมิร์ซ โดยนำเอาจุดแข็งของทั้งธุรกิจ Entertainment และ Commerce มารวมกัน กลายเป็น Entertainmerce

"ปัจจุบัน ธุรกิจต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงมาก เนื่องจากภาวะตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาร์เอส จึงต้องมีความตื่นตัวและตื่นรู้ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถปรับตัวและแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว"


 
สุรชัย กล่าวอีกว่า อาร์เอสมุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศในธุรกิจ Entertainmerce ด้วยการหาพันธมิตรทางธุรกิจเพิ่มขึ้น และทำให้แต่ละธุรกิจในระบบนิเวศเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน (Synergy) โดยในอีก 2 ปีข้างหน้า อาร์เอสตั้งเป้าหมายจะเติบโตในแนวราบ ซึ่งปัจจุบัน รายได้หลักของอาร์เอส ไม่ได้มาจากธุรกิจ Entertainment อีกแล้ว แต่มาจากธุรกิจ Commerce มาเสริมทัพให้ก้าวหน้าต่อไปในโลกของดิจิทัล

สำหรับผู้ที่สนใจงานเสวนา ดิจิทัลทรานสฟอร์มธุรกิจ 2022 สามารถชมคลิปเต็มย้อนหลังได้ที่ www.facebook.com/CBSChula  www.facebook.com/cbsAcademyChula

สำหรับผู้ที่สนใจรายงานThailand Digital Transformation Readiness 2021, แบบประเมิน Digital Maturity Assessment และ ตัวอย่างหนังสือ E-book Digital Transformation Compass สามารถลงทะเบียนรับฟรีได้ที่ www.digitaltransformationacademy.org/DigitalTransformation2022
#10590
ขายบ้านบางระจัน 126วา ขายถูก โทร 0837124115