• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Chigaru

#10352


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ครั้งที่ 1/2564 (ครั้งที่ 250) ผ่านระบบ Zoom เมื่อวันที่ 20 ส.ค.2564 ที่ผ่านมา ณ ห้องกิติยากรวรลักษณ์ ชั้น 4 สํานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยมีนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน และน.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าร่วม

น.ส.รัชดากล่าวว่า นายจุรินทร์ได้ให้นโยบายการดูแลเกษตรกรภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ต้องเป็นไปอย่างครอบคลุม เข้าถึงปัญหาอย่างรวดเร็ว และดูแลอย่างเป็นธรรม โดยในปีงบประมาณ 2565 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน 2,562 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือสินค้าเกษตร 10 กลุ่มสินค้า ได้แก่ ผลไม้ พืชหัว พืชผัก ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปศุสัตว์ ประมง กล้วยไม้

สำหรับการช่วยเหลือ จะดำเนินการผ่านมาตรการต่าง ๆ ได้แก่ 1.เพิ่มช่องทางระบายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต 2.เสริมสภาพคล่องด้านเงินทุน ชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อใช้ในการรับซื้อผลผลิตจากการเกษตรกรเพื่อจำหน่ายหรือเก็บสต๊อกไว้รอจำหน่าย 3.สร้างการรับรู้เพื่อเพิ่มการบริโภค กระตุ้นการบริโภค 4.ผลักดันและบริหารจัดการส่งออก เพื่อลดอุปทานส่วนเกินในประเทศ 5.ส่งเสริมด้านปัจจัยการผลิตเพื่อพัฒนาคุณภาพปรับคุณภาพและด้านทุนการผลิต ทั้งนี้ จะมีการกำหนดราคาเป้าหมายสินค้าเกษตรปี 2565 เพื่อกองทุนฯ จะได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

ส่วนผลการดำเนินการในปีงบประมาณ 2564 นับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2563-15 ก.ค.2564 กองทุนฯ ได้จัดสรรงบประมาณไปแล้ว 2,100 ล้านบาท ในการดูแลเกษตรกรในกลุ่มสินค้าผลไม้ ไข่ไก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน พืชหัว พริก ข้าวเหนียว ปศุสัตว์ ประมง เป็นการช่วยเหลือผ่านการเพิ่มช่องทางกระจายสินค้าออกนอกแหล่งผลิต ผลักดันการส่งออก และชดเชยดอกเบี้ยเพื่อการชะลอการจำหน่ายโดยการเก็บสต๊อก
#10353


นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ปัญหาการส่งออกลำไยในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี โดยเป็นประธานการประชุมการแก้ไขปัญหาด้านผลผลิตทางการเกษตร (ลำไย) พร้อมด้วย นายฤหัส ไชยศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายสมบัติ ตงเต๊า รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ และตัวแทนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ เข้าร่วมประชุม และผ่านระบบ Zoom Meeting ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดจันทบุรี ว่า

 

 จากปัญหาการตรวจพบศัตรูพืช (เพลี้ยแป้ง)ในลำไยผลสดจากไทยที่ส่งออกไปจีน ทำให้สำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (General Administration of China Customs: GACC) ได้ระงับการส่งออกชั่วคราวโรงคัดบรรจุ 66 แห่ง เป็นโรงคัดบรรจุในเขตภาคตะวันออก ในจังหวัดจันทบุรี 28 แห่ง และจังหวัดสระแก้ว 1 แห่ง

           ทั้งนี้ ทางการจีนขอให้กรมวิชาการเกษตรสอบสวนหาสาเหตุ และกําหนดมาตรการควบคุมให้ทางการจีนพิจารณา ซึ่งเป็นเรื่องสําคัญและเร่งด่วน เนื่องจากใกล้ฤดูกาลเก็บเก่ียวลําไยของจังหวัดจันทบุรี ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนลําไยเป็นจํานวนมาก กรมวิชาการเกษตร สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตท่ี 6 นายกสมาคมการค้าและการท่องเท่ียวชายแดนไทย-กัมพูชา จันทบุรี และนายกสมาคมชาวสวนลําไยจันทบุรี ได้ร่วมกันหามาตรการป้องกันเสนอให้ทางการจีนพิจารณา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการตรวจพบศัตรูพืชอีก ซึ่งขณะนี้ทางการจีนได้มีการผ่อนผันปลดล็อค ให้สามารถส่งออกได้แล้ว


รมช.มนัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการเจรจาทำให้ทางการจีนอนุญาตให้โรงคัดบรรจุ 50 แห่ง จาก 66 แห่ง ที่มีความถี่ในการตรวจพบศัตรูพืชค่อนข้างต่ำสามารถส่งออกลำไยไปจีนได้ และอนุญาตให้โรงคัดบรรจุอีก 6 แห่ง จาก 9 แห่ง ที่ไทยได้ระงับเองเป็นการชั่วคราวเมื่อเดือน มี.ค.2564 มีการปรับปรุงแก้ไขเป็นไปตามเงื่อนไขที่จีนกำหนด สามารถส่งออกได้เช่นเดียวกัน รวมทั้งสิ้นมีโรงคัดบรรจุ 56 แห่ง ที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกไปจีนในครั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 17 ส.ค. 2564 สำหรับโรงคัดบรรจุในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก มีจำนวนทั้งสิ้น 93 แห่ง สามารถส่งออกไปจีนได้ จำนวน 88 โรง และยังคงถูกระงับการส่งออกชั่วคราว จำนวน 5 โรง เป็นโรงคัดบรรจุที่ตั้งอยู่ในจังหวัดจันทบุรีทั้งหมด (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ส.ค. 2564) โดยจีนจะประเมินประสิทธิภาพของมาตรการเฝ้าระวังป้องกันกำจัดศัตรูพืชของไทย ในขั้นตอนกักกันการนำเข้า หากมาตรการดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ โรงคัดบรรจุที่เหลือ จำนวน 5 โรง ที่มีความถี่ในการตรวจพบศัตรูพืชค่อนข้างสูง จึงจะสามารถส่งออกลำไยไปจีนได้


         "โรงคัดบรรจุที่ถูกตรวจพบศัตรูพืชหลายครั้ง จะต้องปรับปรุงแก้ไข และเป็นไปตามขั้นตอนที่กรมวิชาการเกษตรได้หารือกับทางการจีน จึงหวังว่าหลังจากน้ี ผู้ประกอบการของไทยจะพัฒนาระบบการส่งออกให้เป็นไปตามที่จีนต้องการในฐานะประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของไทย และขอให้เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรดําเนินการตามมาตรการที่เสนอไปยังจีนอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการตรวจพบศัตรูพืชควบคุมอีก ซึ่งหากทุกฝ่ายร่วมมือกัน ให้ความสําคัญในเรื่องของคุณภาพผลผลิตลําไยที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ ก็จะสามารถขับเคลื่อนให้ธุรกิจการค้าลําไยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีความยั่งยืนตลอดไป" รมช.มนัญญา กล่าว

         รมช.มนัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงเกษตรฯ ให้ความสำคัญในคุณภาพสินค้า ทำอย่างไรให้คงความเป็นเอกลักษณ์ลำไยของไทย และควบคุมราคาไม่ให้ตกต่ำ โดยการสนับสนุนการบริโภคในประเทศให้มากขึ้น การแปรรูปลำไย การปรับเปลี่ยนเป็นลำไยอินทรีย์เพื่อเพิ่มมูลค่า อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ พร้อมสนับสนุนเครื่องอบลดความชื้นให้กับสหกรณ์จันทบุรีเพื่อลดปริมาณความชื้นลงตามเกณฑ์มาตรฐาน เก็บรักษาผลผลิตไว้รอการจำหน่ายช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรทำให้เกษตรกรสมาชิกมีความเชื่อมั่นในระบบบริหารจัดการการผลิตและการตลาดของสหกรณ์ ช่วยเหลือเกษตรกรให้มีแหล่งจำหน่ายผลผลิตที่แน่นอน ในราคาที่เป็นธรรม ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

         จากนั้น รมช.เกษตรฯ เดินทางไปเยี่ยมชมการจัดการโรงคัดบรรจุ พร้อมรับฟังปัญหาและการบรรยายสรุป ณ บริษัท ไชน่า จิงหว่อหยวน เอ็กพอร์ต (ไทยแลนด์) จำกัด ต.หนองตาคง อ.โป่งร้อน จ.จันทบุรี

           สำหรับสถานการณ์การส่งออกลำไยในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ในฤดูกาลผลิต ปี 2564/2565 สมาคมชาวสวนลำไยจังหวัดจันทบุรี คาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตลำไยออกสู่ตลาดมากกว่า 300,000 ตัน สำหรับโรงคัดบรรจุ (ล้ง) ลำไย ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก มีจำนวนทั้งสิ้น 93 โรง อยู่ในจังหวัดจันทบุรี 89 โรง จังหวัดสระแก้ว 2 โรง และจังหวัดระยอง 2 โรงทั้งนี้ ภาคตะวันออก มีพื้นที่ปลูกลำไย 379,255 ไร่ เกษตรกรยื่นขอใบรับรอง GAP 336,294 ไร่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 ได้ตรวจประเมินแปลง และให้การรับรอง GAP แล้ว 330,662 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 98 ของพื้นที่ ที่เกษตรกรยื่นขอใบรับรอง ในส่วนของจังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ปลูกลำไย 296,640 ไร่ เกษตรกรยื่นขอใบรับรอง GAP 278,542 ไร่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 ได้ตรวจประเมินแปลง และให้การรับรอง GAP แล้ว 275,321 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 99 ของพื้นที่ ที่เกษตรกรยื่นขอใบรับรอง
#10354
 App "มีตังค์" ทำจริงจัง ก็ได้เงินจริงนะ ไม่จกตา สร้างรายได้หลักแสน หลักล้าน อย่างง่าย ๆ
App "มีตังค์" คือ ธุรกิจที่ใช่ ในยุค COVID ครองเมือง
ระบบ Content Builder System
ที่ทำทุกอย่างผ่าน Social บนมือถือเพียงเครื่องเดียว ง่าย ๆ เพียงแค่แชร์
เปลี่ยนใจสมัครกับเราตอนนี้ยังทัน


ธุรกิจ New Platform(แฟลตฟอร์มใหม่)
ที่ลงทุนด้วยเงิน 2,699 ครั้งเดียวผ่าน App เก็บเกี่ยวได้ตลอดชีวิต
รับเฉพาะคนที่จริงจังพร้อมทำเท่านั้น


สอบถามเพิ่มเติม
ไลน์ไอดี teerapat999
โทร 0846623662

ลงทะเบียนฟรีเพื่อเข้าศึกษาเรียนรู้ในกลุ่มปิดเปิดเผยชัดเจน
https://www.metang-solution.com/member/register.php...

รายละเอียดเพิ่มเติม https://web.facebook.com/richbyteerapat

#10355
ลงทองเรียกจิต เป็นการเรียกจิตให้อีกฝ่ายคิดถึง

ด้วยการเสกแผ่นทองคำเปลวแท้  100 %  ด้วยคาถาเรียกจิต  เพื่อเรียกจิตบุคคลที่ต้องการมาไว้ในแผ่นทอง  จากนั้นนำแผ่นทองที่ผ่านการเสกแล้ว  ไปติดตรงตำแหน่งกึ่งกลางหน้าผาก  โดยใช้สีผึ้งเรียกจิตทาก่อน  แล้วท่องคาถาเรียกจิตจนบุคคลที่ต้องการ  คิดถึงเรามากๆ 

ค่าครู 99  บาท
สนใจติดต่อ
โทร 0846623662
lide id : teerapat999

ลาซาด้า  คลิก
https://pdp.lazada.co.th/products/i2641064456.html?spm=a1zawg.20038917.content_wrap.6.7dfb4edfDYXNoK

#10356


จากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องของปริมาณขยะพลาสติกที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะตามมา ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกหันมาตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลในเรื่องของปัญหาขยะพลาสติกกันมากขึ้น ผ่านมาตรการต่างๆ ในการจัดการขยะพลาสติก รวมถึงการรณรงค์งดใช้พลาสติก การนำขยะพลาสติกมารีไซเคิล หรือหันไปใช้วัสดุอย่างอื่นทดแทน

แต่สำหรับช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ จากปัญหาการระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้ผู้บริโภคกังวลและหันมาดูแลป้องกันสุขภาพกันมากขึ้น จึงก่อให้เกิดปริมาณขยะโดยเฉพาะกลุ่มขยะติดเชื้อ หรือมูลฝอยติดเชื้อ ที่เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และขยะกลุ่มดังกล่าวถือเป็นขยะอันตรายและต้องมีกลวิธีในการทำลาย หรือกำจัดเฉพาะ

ปัจจุบันด้วยสถานการณ์การระบาดที่ยังไม่คลี่คลายในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงไทยที่หากเปรียบเทียบจำนวนยอดผู้ติดเชื้อใหม่ในอาเซียน พบว่า ไทยมียอดผู้ติดเชื้อรายวันในช่วงเกือบ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา (1 สิงหาคม – 18 สิงหาคม 2564) ยังคงพุ่งสูงขึ้นเป็นอันดับ 2 ในอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย อีกทั้งผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น ก็น่าจะทำให้ปริมาณขยะติดเชื้อยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการวางแผนและวิธีการบริหารจัดการขยะเหล่านี้ในอนาคต


สำหรับไทย เดิมทีปริมาณขยะติดเชื้อส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มสถานบริการทางการแพทย์ทั้งรัฐและเอกชน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้ป่วยทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงการเข้าสู่สังคมสูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้น แต่จากสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 และการระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่จะทำให้ปริมาณขยะติดเชื้อจากภาคธุรกิจบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่หมายถึงการหันมาใส่ใจป้องกันดูแลสุขภาพของภาคครัวเรือนที่ทำให้ปริมาณขยะติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะการสวมใส่หน้ากากอนามัย ชุดป้องกันตัวเอง ชุดตรวจโควิด เป็นต้น

ทั้งนี้ ด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ภายในประเทศที่ยังไม่คลี่คลาย และยังคงพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันสูง ส่งผลให้คาดว่า ปริมาณขยะติดเชื้อหรือมูลฝอยติดเชื้อในช่วงที่เหลือของปี 2564 น่าจะยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้ทั้งปี 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ปริมาณขยะติดเชื้อน่าจะอยู่ที่ประมาณ 61.3 ล้านกิโลกรัมเพิ่มขึ้นกว่า 2.0 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงปกติที่ไม่มีการระบาดของโควิดในปี 2562

จากปริมาณขยะติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงประเมินว่า ต้นทุนในการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ ในปี 2564 น่าจะอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 920 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่ยังไม่มีการระบาดของโควิด-19 ซึ่งต้นทุนในการบริหารจัดการขยะติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ ถือเป็นต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อันเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19 และเกิดจากความจำเป็นในการป้องกันดูแลสุขภาพของประชาชนที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ดี หากมองอีกมุมหนึ่ง ต้นทุนจากขยะติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นบางส่วนมาจากการป้องกันดูแลสุขภาพของประชาชนที่ระมัดระวังขึ้น ก็อาจจะช่วยลดค่าเสียโอกาสจากการเจ็บป่วยของโรคได้บ้าง แต่ทั้งนี้อาจจะต้องมาควบคู่กับการบริหารจัดการขยะติดเชื้อที่เกิดขึ้นอย่างถูกวิธีและปลอดภัยด้วยเช่นกัน เพื่อไม่ให้เป็นความเสี่ยงต่อผู้อื่นและกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศโดยรอบ

ในระยะข้างหน้า ด้วยสถานการณ์ของการระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่แน่นอน ประกอบกับการใส่ใจดูแลสุขภาพที่มากขึ้นของประชาชน รวมถึงความเสี่ยงในการเจ็บป่วยที่อาจจะเพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ และความเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ เช่น การเกิดปัญหามลภาวะฝุ่นละออง PM2.5 ที่ทำให้ประชาชนต้องหันมาสวมหน้ากากอนามัยในช่วงที่มีการแพร่กระจายของฝุ่นละออง การเกิดโรคอุบัติใหม่ๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดปริมาณขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้น จึงอาจส่งผลต่อความไม่แน่นอนของต้นทุนในการบริหารจัดการขยะติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

คำถามที่ตามมาคือ ประสิทธิภาพในการเก็บขนขยะและจัดการขยะติดเชื้อในปัจจุบันจะเพียงพอหรือไม่ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ควรตระหนักถึงแนวทางการรับมือและจัดการขยะเหล่านี้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นปริมาณเตาเผาหรือโรงกำจัดขยะติดเชื้อ รวมถึงการรณรงค์หรือให้ความรู้และวิธีการในการคัดแยกขยะติดเชื้อที่ถูกวิธีแก่ประชาชน ซึ่งปัจจุบันทางหน่วยงานรัฐได้มีการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะติดเชื้อที่ถูกวิธีแก่ประชาชนไปบ้างแล้ว นอกจากนี้ อาจจะต้องมีการจัดเตรียมถังขยะสำหรับทิ้งหน้ากากอนามัย และขยะติดเชื้อประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะในจุดสำคัญต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการทิ้งและคัดแยกขยะมาทำลาย อีกทั้งยังปลอดภัยต่อพนักงานเก็บขยะหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในหลายประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิดที่รุนแรง เช่น จีน สหรัฐฯ ต่างได้รับผลกระทบจากปริมาณขยะติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน และได้มีการออกมาตรการต่างๆ มาเพื่อบริหารจัดการกับขยะติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น

ตัวอย่างแนวทางการรับมือหรือมาตรการในการจัดการขยะติดเชื้อหลังเกิดโควิด-19

- จีน

·  สร้างโรงเผาขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่ เช่น อู่ฮั่น หรือมีการดัดแปลงโรงกำจัดขยะเดิมเพื่อกำจัดขยะติดเชื้อ

·  กำหนดให้ตั้งถังขยะพิเศษในชุมชนทุกแห่ง และออกข้อกำหนดให้ประชาชนนำหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วพับใส่ถุงพลาสติกและทิ้งลงในถังขยะพิเศษสีแดงเท่านั้น

·  ติดตั้งกล้อง CCTV ในจุดที่ทิ้งขยะ เพื่อบันทึกตลอดเวลา

· ออกมาตรการลงโทษหรือปรับเงินผู้ที่ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติเกี่ยวกับการทิ้งขยะติดเชื้อไม่ถูกวิธีในบางพื้นที่ เช่น เซี่ยงไฮ้ 

- สหรัฐ

·  การสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้ให้ประชาชนแยกขยะติดเชื้ออย่างถูกวิธี

·  พนักงานเก็บขยะและผู้ที่้เกี่ยวข้องต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันเชื้อ เช่น ถุงมือ เสื้อผ้าที่รัดกุม และเฟซชิลด์ เพื่อลดความเสี่ยงจากขยะติดเชื้อที่มาจากภาคครัวเรือน

ที่มา: TDRI และรวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย
#10357


นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมบัญชีกลางเปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ยังมีแนวโน้มไม่ลดลงและยังมีการระบาดในวงกว้าง ซึ่งคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้มีมติให้ปรับเพิ่มมาตรการและการจัดการขององค์กร โดยกำหนดมาตรการองค์กรสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้เน้นการทำงานนอกสถานที่ (Work from home) อย่างต่อเนื่อง หากจำเป็นต้องมาปฏิบัติงานให้มีการคัดกรองด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ทุกสัปดาห์ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดที่จำเป็นต้องมาปฏิบัติงาน ต้องมีการตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจ ATK ก่อนเข้ามาปฏิบัติงานที่ส่วนราชการ ตามมาตรการที่คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กำหนด

กรมบัญชีกลางจึงขอซ้อมความเข้าใจว่า การเบิกจ่ายค่าชุดตรวจ ATK สำหรับเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดดังกล่าว เป็นการเบิกจ่ายค่าวัสดุตามนัยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553 ข้อ 17 ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการสามารถพิจารณาอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าชุดตรวจและน้ำยาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (เชื้อก่อโรค COVID-19) แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen test self-test kits) ได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด และเพื่อประโยชน์ของทางราชการ

ทั้งนี้ ขอให้ส่วนราชการดำเนินการควบคุมให้มีการเบิกจ่ายค่าชุดตรวจ ATK ให้สอดคล้องกับจำนวนเจ้าหน้าที่ที่เข้าปฏิบัติงานตามจริงด้วย

สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างชุดตรวจ ATK สำหรับการป้องกัน ควบคุม หรือรักษาโรคโควิด-19 คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 115 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 เรื่อง การดำเนินการกรณีจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาหรืออุปกรณ์การแพทย์ หรือการจัดจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุสำหรับการป้องกัน ควบคุม หรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID – 19)) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุสำหรับการป้องกัน ควบคุม หรือรักษาโรคโควิด-19 ในแต่ละครั้งทุกวงเงิน ถือเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วน จึงยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ​โดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือ และวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างในการแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่เกี่ยวข้อง โดยให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ตามข้อ 79 วรรคสอง แห่งระเบียบฯ และให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการไปก่อนแล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ และเมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบแล้วให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม และการดำเนินการดังกล่าว หากมีความจำเป็นจะต้องจ่ายเงินค่าพัสดุล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ให้ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ 89 (4) โดยให้จ่ายได้ตามเงื่อนไขที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างกำหนด และยกเว้นการวางหลักประกันการรับเงินล่วงหน้าตามระเบียบฯ ข้อ 91 วรรคสอง ดังนั้น หน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการตามหนังสือเวียนฉบับดังกล่าวได้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง หมายเลข 02 270 6400 ในวัน เวลาราชการ
#10358
6 วัน 6 วิชา ขายออนไลน์อย่างไร...ให้ปัง
#10362


นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ในประเทศไทยที่ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อโรค โควิด-19 อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบต่อการให้บริการทางการแพทย์ ทำให้ผู้ป่วย โควิด-19 ไม่สามารถเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาลได้อย่างทันท่วงที ภาครัฐจึงได้นำแนวทางการรักษาแบบ Home Isolation หรือการรักษาตัวเองจากที่บ้านมาใช้ เพื่อช่วยให้ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หรือผู้ป่วย โควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่มีอาการไม่รุนแรง ได้เข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วขึ้น

ดังนั้นเพื่อเป็นการดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อ โควิด-19 ที่อยู่ในกลุ่มสีเขียวได้เข้าถึงการรักษาของแพทย์ได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน สมาคมประกันวินาศภัยไทย จึงได้มีแนวทางให้บริการกับผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อ โควิด-19 และรักษาพยาบาลแบบ Home Isolation ให้เข้าถึงบริการ Telemedicine ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในเบื้องต้นได้รับความร่วมมือจากสมาคมนายหน้าประกันภัยไทยในการประสานงานกับผู้ให้บริการ Telemedicine พร้อมทั้งมอบหมายให้คณะทำงานของสมาคมฯ ประกอบด้วย นายโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ เลขาธิการสมาคมฯ นายปิยะพัฒน์ วนอุกฤษฏ์ ประธานคณะกรรมการประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ และ นายวาสิต ล่ำซำ ประธานคณะกรรมการพัฒนาธุรกิจและวิชาการประกันภัย เพื่อดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ นายโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ เลขาธิการ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้กล่าวถึงความร่วมมือกันระหว่าง สมาคมประกันวินาศภัยไทย ทรู ดิจิทัล และ Third Party Administration หรือ TPA ว่า เป็นบริการปรึกษาแพทย์ผ่านแอพพลิเคชัน True HEALTH สำหรับผู้เอาประกันภัยที่มีกรมธรรม์ประกันภัย โควิด-19 ที่มีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล หากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้เข้ารับการรักษาพยาบาลแบบ Home Isolation ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เอาประกันภัยสามารถเข้าถึงการดูแลรักษาของแพทย์ได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้ผู้เอาประกันภัยสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

สำหรับบริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมในบริการ Telemedicine สำหรับผู้เอาประกันภัย โควิด-19 มีจำนวน 16 บริษัท ได้แก่
1. บมจ.กรุงเทพประกันภัย
2. บมจ.เจมาร์ท ประกันภัย
3. บมจ.เดอะ วัน ประกันภัย
4. บมจ.ทิพยประกันภัย
5. บมจ.เทเวศประกันภัย
6. บมจ.ไทยเศรษฐกิจประกันภัย
7. บมจ.ธนชาตประกันภัย
8. บมจ.นวกิจประกันภัย
9. บมจ.ประกันภัยไทยวิวัฒน์
10. บมจ.ฟอลคอนประกันภัย
11. บมจ.เมืองไทยประกันภัย
12. บมจ.วิริยะประกันภัย
13. บมจ.สินมั่นคงประกันภัย
14. บมจ.อาคเนย์ประกันภัย
15. บมจ.เอเชียประกันภัย 1950
16. บมจ.เอฟดับบลิวดีประกันภัย


ดร.อดิภัทร ชัยชนะสกุล กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจดิจิทัล เฮลท์ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า ทรู ดิจิทัล พัฒนาแพลตฟอร์มดูแลสุขภาพอัจฉริยะ ทรู เฮลท์ เพื่อเพิ่มช่องทางให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ผ่านระบบออนไลน์ได้ง่าย ๆ จากทุกที่ทั่วประเทศ โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล พร้อมมอบประสบการณ์ดูแลสุขภาพในยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบครบวงจร ทั้งพบหมอออนไลน์ รับยาที่บ้าน และ เคลมประกันได้ ไม่ต้องสำรองจ่าย ด้วยฟังก์ชันใหม่

ล่าสุด "เทเลเมดิเคลม" (TeleMediClaim+) ซึ่งความร่วมมือกับ สมาคมประกันวินาศภัยไทย และ TPA ในครั้งนี้ ทรู เฮลท์ ต่อยอดฟังก์ชัน "เทเลเมดิเคลม" ไปอีกขั้น เพิ่มทางเลือกให้ผู้ป่วย โควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่มีกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 ของบริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมโครงการ สามารถปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากชีวีบริรักษ์คลินิกเวชกรรม ผ่านแอปพลิเคชัน True HEALTH ได้ทั้งในรูปแบบของการโทร แช็ต และวิดีโอคอล (VDO Call) พูดคุยกับแพทย์ได้จากทุกที่แบบเรียลไทม์

พร้อมมีบริการส่งยาตามใบสั่งแพทย์ถึงหน้าบ้านทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั่วประเทศ และสามารถเคลมประกันเบิกค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ได้ทันที มั่นใจว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งพลังในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยโรค โควิด-19 ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ให้สามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างทั่วถึง สะดวกและรวดเร็ว โดยไม่ต้องกังวลกับค่ารักษาพยาบาลและค่ายาด้วยความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัย โควิด19
#10365
 App "มีตังค์" ทำจริงจัง ก็ได้เงินจริงนะ ไม่จกตา สร้างรายได้หลักแสน หลักล้าน อย่างง่าย ๆ
App "มีตังค์" คือ ธุรกิจที่ใช่ ในยุค COVID ครองเมือง
ระบบ Content Builder System
ที่ทำทุกอย่างผ่าน Social บนมือถือเพียงเครื่องเดียว ง่าย ๆ เพียงแค่แชร์
เปลี่ยนใจสมัครกับเราตอนนี้ยังทัน


ธุรกิจ New Platform(แฟลตฟอร์มใหม่)
ที่ลงทุนด้วยเงิน 2,699 ครั้งเดียวผ่าน App เก็บเกี่ยวได้ตลอดชีวิต
รับเฉพาะคนที่จริงจังพร้อมทำเท่านั้น


สอบถามเพิ่มเติม
ไลน์ไอดี teerapat999
โทร 0846623662

ลงทะเบียนฟรีเพื่อเข้าศึกษาเรียนรู้ในกลุ่มปิดเปิดเผยชัดเจน
https://www.metang-solution.com/member/register.php...

รายละเอียดเพิ่มเติม https://web.facebook.com/richbyteerapat