• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Naprapats

#10006


"เจ้าอุ้ม" ธีราทร บุญมาทัน แบ็คซ้ายทีมชาติไทย ทำไป 1 แอสซิสต์ ก่อนจะโดนไล่ออกช่วงทดเจ็บ โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส เปิดบ้านเอาชนะ นาโงย่า แกรมปัส 2-0 ยึดตำแหน่งรองจ่าฝูงของตารางอย่างเหนียวแน่น

ศึกฟุต.เจลีก ญี่ปุ่น วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม 2564 มีเกมการแข่งขัน 1 คู่ โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส เปิดรังมิตสึซาวะ สเตเดียม รับการมาเยือนของ นาโงย่า แกรมปัส

"เจ้าอุ้ม" ธีราทร บุญมาทัน แบ็คซ้ายขวัญใจชาวไทย ได้โอกาสลงสนาม 11 คนแรก เป็นเกมที่สองติดต่อกัน ส่วนในแนวรุกมี 2 แข้งแซมบ้า อย่าง เอลแบร์, มาร์กอส จูเนียร์ โดยใช้ เคนยุ ซุงิโมโตะ เป็นกองหน้าตัวเป้า

โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส ออกสตาร์ทได้อย่างยอดเยี่ยม น.13 มาได้ประตูออกนำไปก่อน 1-0 จากจังหวะที่ ธีราทร บุญมาทัน เปิดจากริมกรอบเขตโทษฝั่งซ้ายไปให้ เคนยุ ซุงิโมโตะ โหม่งเข้าไป

หลังจากนั้นนาทีที่ 33 เจ้าถิ่นที่ยังเดินหน้าบุกอย่างต่อเนื่อง ก็มีได้ประตูหนีห่าง 2-0 จากลูกจุดโทษของ มาร์กอส จูเนียร์ และจบ 45 นาทีแรกไปด้วยสกอร์นี้

ครึ่งหลังช่วงทดเวลาบาดเจ็บนาทีที่ 90+2 โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส ต้องมาเหลือผู้เล่น 10 คน จากจังหวะที่ ธีราทร บุญมาทัน ไปเหนี่ยว มาเธอุส กองหน้าของคู่แข่งที่พยายามจะแตะหลบ ล้มลงไปหน้ากรอบเขตโทษ ผู้ตัดสินควักใบเหลืองที่ 2 กลายเป็นใบแดง ไล่ออกจากสนาม

ช่วงเวลาที่เหลือทั้งสองทีมไม่มีใครทำสกอร์กันเพิ่ม หมดเวลาการแข่งขัน 90 นาที โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส เปิดบ้านเอาชนะ นาโงย่า แกรมปัส 2-0 เก็บ 3 คะแนน มีเพิ่มเป็น 53 แต้ม รั้งอันดับ 2 ของตารางจากการลงเล่น 23 นัด ตามหลังคาวาซากิ ฟรอนทาเล่ ทีมจ่าฝูง 8 แต้ม ส่วนผู้มาเยือนมี 37 แต้ม รั้งอันดับ 6 ของตาราง จากการลงเล่น 23 นัด
#10009


วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม 2564 จะมีการส่งมอบศูนย์พักคอยเพื่อรอการส่งต่อโควิด เขตลาดพร้าว 2 ซึ่งเป็นการส่งมอบในนามโครงการ Save Thai Fight Covid ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างมูลนิธินักศึกษาสถาบันพระปกเกล้าเพื่อสังคม วุฒิสภา บริษัทในเครือ RBS group

ศูนย์พักคอยเพื่อรอการส่งต่อเขตลาดพร้าว 2 มีเตียงที่สามารถรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ได้ ทั้งหมด 176 เตียง แบ่งเป็นเตียงสําหรับผู้หญิง 88 เตียง และเตียงสําหรับผู้ชาย 87 เตียง

ทั้งนี้ ศูนย์พักคอยเพื่อรอการส่งต่อโควิด เขตลาดพร้าว 2 เป็นศูนย์พักคอยได้รับการช่วยเหลือด้านสถานที่จาก บริษัทในเครือ RBS group ซึ่งได้มีการนํานวัตกรรมเทคโนโลยีต่าง ๆ มาสนับสนุนในด้านการสร้างระบบ เพื่ออํานวยความสะดวกให้กับทั้งผู้ป่วย และบุคคลากรทางการแพทย์ภายในศูนย์

ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้ ผู้จัดทําโครงการจึงเชื่อว่าศูนย์พักคอยเพื่อรอการส่งต่อโควิด เขตลาดพร้าว 2 จะเป็นศูนย์พักคอยเพื่อการส่งต่อที่ดีที่สุดในประเทศ โดยวัดจากปัจจัยตามมาตรฐานสากล และ ระบบที่ใช้สําหรับการจัดการภายในศูนย์

จึงขอเรียนสื่อมวลชนร่วมทําข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์ในครั้งนี้ ในวันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม 2564 พิธีการส่งมอบเริ่มในเวลา 10.30 น. ผู้ป่วยคนแรกเดินทางเข้าศูนย์ในเวลา 13.00 น. ณ RBS Warehouse 8, 8.1, 8/2, 8/3, 8/4 ช.ประเสริฐมนูกิจ 29 (แยก 4) ถ.ประเสริฐมนูกิจ แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ

ติดต่อ : 0813558181 สรวง สิทธิสมาน ที่มประชาสัมพันธ์โครงการ Save Thai Fight Covid
#10011


MTC สัญญาณดี ประกาศปรับเพิ่มเป้าพอร์ตสินเชื่อปีนี้โต 30-35% จากเดิม 20-25% ผลจากความต้องการสินเชื่อคึกคัก จำนวนเปิดสาขาทำได้ตามเป้า รวมทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ฐานลูกค้าใหม่เติบโตได้เป็นอย่างดี ขณะที่เปิดผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกปี 64 กำไรแตะ 2,644 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.59% จากงวดเดียวกันปีก่อน ฟากบิ๊กบอส "ชูชาติ เพ็ชรอำไพ " ระบุครึ่งปีหลังแนวโน้มดีต่อเนื่อง เข้าสู่ช่วงฤดูกาลเพาะปลูกมีความต้องการสินเชื่อมากกว่าระดับปกติ เดินหน้าขยายสาขาตามเป้าหมายสิ้นปีครบ 5,500 สาขา พร้อมคุม NPLไม่เกิน 2% ดันผลงานปีนี้เติบโตเข้าเป้า มั่นใจฝ่าวิกฤตโควิด-19ได้อย่างแน่นอน

นายชูชาติ เพ็ชรอำไพ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTC ผู้นำตลาดสินเชื่อทะเบียนรถจักรยานยนต์ เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 2564 มีรายได้รวม 7,753 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.12% จากงวดเดียวกันปีก่อนมีรายได้รวมเท่ากับ 7,105 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 2,644 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.59% จากงวดเดียวกันปีก่อนมีกำไรสุทธิเท่ากับ 2,504 ล้านบาท

ขณะที่ไตรมาส 2/2564 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวม 3,896 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 9.07% มีรายได้รวมเท่ากับ 3,572 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิ 1,270 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 0.24% มีกำไรสุทธิเท่ากับ 1,267 ล้านบาท จากปัจจัยที่สนับสนุนให้ผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการเงินทุนเพิ่มขึ้น ทำให้ยอดสินเชื่อเติบโตมากขึ้น ในช่วงครึ่งปีแรกมียอดสินเชื่อคงค้างกว่า 79,830 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16,656 ล้านบาท หรือ 26.37% จากงวดเดียวกันปีก่อน

ขณะเดียวกัน บริษัทมีการเปิดสาขาใหม่ช่วยขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น โดยครึ่งปีแรกมีสาขาใหม่เพิ่มขึ้น จำนวน 400 สาขา ส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทมีสาขารวม 5,284 สาขา กระจายอยู่ทั่วประเทศ

"ภาพรวมครึ่งปีแรกความต้องการสินเชื่อเติบโตได้ดี ทำให้บริษัทฯ ปรับเป้าหมายการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อปีนี้เป็น 30-35% จากเดิมที่อยู่ที่ 20-25% เนื่องจากปัจจุบันความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังไม่สู้ดี ทำให้ลูกค้ามีความจำเป็นต้องการเงินทุนเพิ่มขึ้น ประกอบกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทำให้เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกัน จำนวนสาขาเพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทฯ ได้วางงบลงทุนสำหรับการขยายสาขาไว้ที่ 300 ล้านบาท รองรับแผนเปิดเพิ่มอีก 600 สาขา ซึ่งคาดว่าจะครบ 5,500 สาขาภายในสิ้นปีนี้"

ประธานกรรมการบริหาร กล่าวอีกว่า แนวโน้มธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะมีทิศทางที่ดีกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากความต้องการสินเชื่อของลูกค้ายังคงอยู่ในระดับสูง หลังเข้าสู่ช่วงฤดูกาลหน้าฝนจึงทำให้ลูกค้าในกลุ่มเกษตรกรมีความต้องการเงินทุนไปใช้ในการเพาะปลูกมีจำนวนมากกว่าช่วงปกติ ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ที่กดดันให้ความต้องการสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น เพราะภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและได้รับผลกระทบกันเป็นวงกว้าง อย่างไรก็ตาม จากดีมานด์ที่เพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้บริษัทฯ ต้องคัดกรองคุณภาพสินเชื่อของลูกค้าด้วยความระมัดระวัง โดยตั้งเป้าหมายการคุมระดับเอ็นพีแอลไม่เกิน 2% และบริษัทฯ มั่นใจว่าจะสามารถผ่านสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจในรอบนี้ไปได้ ด้วยกลยุทธ์การบริหารงาน โดยเน้นการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
#10012


7 วัน ตั้งแต่วันที่ 4-10 ส.ค. 2564 เป็นรอบ 3 ที่ทาง 'ทีมแพทย์ชนบท' ได้บุกกรุง ลงพื้นที่ชุมชนแออัดกทม. และปริมณฑล เพื่อทำการตรวจค้นหาเชิงรุก 'ผู้ติดเชื้อ'โควิด-19

โดยครั้งนี้มีทีมแพทย์ชนบทกว่า 400 คน แบ่งเป็น 40 ทีม กระจายทุกพื้นที่ชุมชนแออัด ซึ่งแต่ละวันจะลงตรวจประมาณ 25-30 จุดในพื้นที่กทม.และปริมณฑล เฉลี่ยจุดละ  1,000 กว่าคน  ต่อวัน จะเท่ากับวันละ25,000-30,000 ราย

พบ 'ผู้ติดเชื้อโควิด-19' ในทุกพื้นที่ชุมชนกทม.และปริมณฑล
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เล่าว่าการลงพื้นที่ของทีมแพทย์ชนบทรอบที่ 3 นี้  ไม่ได้จำกัดเฉพาะในพื้นที่ชุมชนแออัดกทม.เหมือนที่ผ่านมา แต่ออกปฎิบัติไปยังอำเภอต่างๆ ในปริมณฑลด้วย  ทำให้เห็นสภาพปัญหาที่ประชาชนได้พบเจอ


อย่าง วันพฤหัสบดีที่ 5 ส.ค.2564 ทีมตนและทีมจะนะ ได้ออกไปในอำเภอสามพราน จ.นครปฐม พบว่า มีผู้สูงอายุหลายท่านที่ดูแข็งแรงพอสมควร แต่เมื่อตรวจผล Rapid test กลับเป็นผลบวก และเมื่อตรวจซ้ำด้วย RT-PCT ผลเป็นบวกเช่นกัน  จึงได้จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ และพูดคุยกับญาติ ซึ่งสภาพบ้านผู้สูงอายุ เป็นห้องหลังเล็กๆที่อยู่ร่วมกัน 5-6 คน มีทั้งเด็กและเด็กน้อยที่ติดโควิด-19 ส่วนกลุ่มหนุ่มสาววัยทำงานยังผลเป็นลบและคนเหล่านี้ ยังคงออกไปทำงานข้างนอกทุกวัน

"ปัจจุบันสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นต้องบอกว่าหนักกว่าทุกครั้งที่ลงพื้นที่ตรวจค้นหาเชิงรุก เพราะการลงพื้นที่ชุมชนแออัด โดยเฉพาะในกทม. ลงไปที่ไหนก็พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมาก จนบางชุมชนกลายเป็นเกิดภูมิคุ้มหมู่จากการติดโควิด-19 ไม่ใช่จากการฉีดวัคซีน" นพ.สุภัทร กล่าว


อีกทั้ง ในชุมชนประมาณ 25-30% จะพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ ยิ่งไปเห็นสภาพครอบครัว ที่ห้องหนึ่งอยู่กันหลายคน ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าทำไมมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป ความหวังที่ยอดผู้ป่วยลดลงคงไม่เกิดขึ้น


สมัครผ่อนของ 0% 40 เดือนกับ Citi คลิกเลย


เมืองกรุงบริหารจัดการขั้นล้มเหลว นายกฯก็ไม่สามารถแก้ได้ 
นพ.สุภัทร เล่าต่อว่า เมื่อก่อนเวลาตรวจพบ ผู้ป่วยโควิด-19 จะให้ ยาฟาวิพาราเวียร์ และต้องตอบคำถามผู้ป่วยว่าพวกเขาจะต้องทำยังไงต่อ  จะดูแลตัวเองอย่างไร ถ้าเข้า Home Isolation ใครจะดูแลเขา สภาพบ้านครอบครัวก็ไม่เหมาะสมไม่รู้จะไปรักษาที่ไหน

ทว่า ตอนนี้คำถามเหล่านั้นไม่ค่อยมี หลายคนรู้สภาพปัญหาของประเทศ ว่าไม่มีเตียงรองรับ ไม่มีรพ.ให้เข้า รู้ว่าต้องปฎิบัติตัวอย่างไร จะกักตัวเองอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาทำไม่ได้ คือ การเข้าถึงยา เข้าถึงการรักษาอย่างทันถ่วงที เพราะต่อให้โทรไปหาหน่วยงานรัฐ ก็ต้องรอระบบอยู่ดี


"ภาพรวมโควิด-19 รอบนี้ จะหนักในพื้นที่กทม.และปริมณฑล ซึ่งในต่างจังหวัด หลายจังหวัด ได้ดำเนินการตามมาตรการต่างๆ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ได้ดี ผิดกับในกทม.และปริมณฑล โดยเฉพาะกทม. การบริหารจัดการเข้าขั้นล้มเหลว ต่อให้ตอนนี้นายกรัฐมนตรี มานั่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์แก้โควิด-19 เฉพาะกิจในกทม.และปริมณฑล ก็ยังไม่สามารถแก้ได้" นพ.สุภัทร กล่าว

กทม.เป็นเอกเทศ ติดขั้นตอนติดระบบ กว่าจะช่วยผู้ป่วยตายก่อน
กทม.เป็นเอกเทศ ทุกคนติดขั้นตอน ติดระบบไปหมด ต่างคนต่างทำงาน ไม่มีการทำงานร่วมกัน ทำให้มีช่องว่างในการทำงานระหว่างกทม.กับหน่วยงานอื่นๆ กว่าจะตรวจคัดกรองเชิงรุก กว่าจะลงพื้นที่จ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย กว่าผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาก็ไม่ทันการกลายเป็นทั้งชุมชนแออัดเต็มไปด้วยผู้ป่วยโควิด-19


หลายชุมชนมีคนนอนตายนอกบ้าน เพราะไม่อยากทำให้คนในครอบครัวติดเชื้อ และบางชุมชนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่แบบที่รัฐบาลอยากให้เป็นแต่ไม่ได้เกิดจากการฉีดวัคซีน เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งเราไม่อยากให้เป็นแบบนั้น

ปัญหาของหลายชุมชนที่พบเจอตอนนี้ ไม่ใช่เป็นปัญหาของประชาชนที่ไม่รู้ว่าจะดูแลตัวเองอย่างไร แต่สิ่งที่พวกเขาประสบพบเจอ คือ สภาพครอบครัว สภาพบ้านที่ไม่เอื้ออำนวยให้ทำตามมาตรการรัฐ  Home Isolation จึง ไม่สามารถเกิดขึ้นได้   หรือเป็นทางเลือกที่ประชาชนไม่ได้เลือก

แนะจัดหาวัคซีน 15ล้านโดสต่อเดือนโควิดรอบนี้ ไทยถึงจะรอด
นพ.สุภัทร กล่าวต่อไปว่าอยากแนะนำให้ทางกทม.เพิ่มรพ.สนาม เพิ่ม Community Isolation เพราะถ้าทุกคนทำ Home Isolation  กักตัวที่บ้านก็จะติดเชื้อกันหมด และควรมีการเพิ่มจุดตรวจคัดกรองให้ทุกจุด ทุกเขต เมื่อพบผู้ติดเชื้อ ทุกคนต้องได้รับยาทันที

โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตรวจพบว่าติดโควิด-19 หรือมีการสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ควรให้ยาฟาวิพิราเวียร์ทันที ไม่ใช่รอให้ติดเชื้อก่อนแล้วมาให้ เวลานั้นอาจไม่ทันการแล้วพอเจอก็กลายเป็นเสียชีวิตไปแล้ว

 

"ตอนนี้วิธีเดียวที่จะทำให้คนไทย โดยเฉพาะคนกรุงรอด รัฐบาลควรจะจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้ได้เดือนละ 15 ล้านโดส ไม่ใช่ขณะนี้ที่ไม่รู้ว่าวัคซีนมีเท่าใด วัคซีนไปอยู่ที่ไหนหมด เดือนหนึ่งวัคซีนเข้าไม่ถึง 5 ล้านโดส ถ้าเป็นอย่างนี้ไม่เกิน 2 เดือน จะพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 อีกมาก อาจมีคนตายนับหมื่นราย ดังนั้น ควรมีแผนการจัดหา จัดสรรวัคซีนที่ชัดเจนให้ประชาชนได้รับรู้  เพราะหน้าที่ของรัฐบาลในขณะนี้ คือการจัดหาวัคซีนให้ประชาชนและควรจะหาให้ได้" นพ.สุภัทร กล่าว

'ล็อกดาวน์' ไม่ได้ผล เกิดภูมิคุ้มกันหมู่จากการติดเชื้อไม่ใช่วัคซีน
ล็อกดาวน์ ห้ามทุกคนออกนอกบ้าน ห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้านอาหาร ให้ work from home 100% ห้ามเดินทางข้ามจังหวัด และขอความร่วมมือจากประชาชนอย่างเต็มที่ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวอีกว่ามาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลออกมานั่น


ไม่ว่าจะ ล็อกดาวน์ มาตรการ Home Isolation Community Isolation ตรวจคัดกรอง หรือออกพ.ร.ก.อะไรมาก็ตาม  อาจจะช่วยได้แต่เป็นเสมือนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่า เพราะโควิด-19 เป็นโรคระบาดการหยุดโรคระบาดต้องสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ นั่นคือ ทุกคนต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 การล็อกดาวน์ในวงกว้างตอนนี้เหมือนขี้ช้างจับตั๊กแตก ยอดผู้ป่วยไม่ลด แต่ความเสียหายกระจายเป็นกว้างมาก

"การล็อกดาวน์ ทำได้แต่ควรเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย เช่น ลงพื้นที่ตรวจคัดกรองเชิงรุกชุมชนลาดพร้าว พบผู้ติดเชื้อ 15-20% ก็ล็อกดาวน์เฉพาะในชุมชนนั้น แต่การล็อกดาวน์ไม่ใช่การจำกัดการเข้าออก แต่ขอให้ทุกคนตรวจโควิด-19 คนไหนที่ไม่ติดเชื้อให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้ได้รับการดูแล และต้องมีการเยียวยา ชดเชย รายได้ให้แก่พวกเขา  ขณะเดียวกันเมื่อมีการเข้าออกชุมชนต้องมีสแกนชุมชน และจัดตั้งแยกกันตัวในชุมชน" นพ.สุภัทร กล่าว


แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ของไทยมีศักยภาพในการ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ประชาชนวันละ 5 แสนคน แต่ตอนนี้ไม่มีวัคซีนให้ฉีด อีก 2 เดือนหากคนไทย คนกรุงเทพฯ ไม่ได้ฉีดวัคซีนคาดว่าจะเกิด ภูมิคุ้มกันหมู่ ในชุมชนแออัดจากกทม. แต่เป็นภูมิคุ้มกันหมู่ที่มาจากการติดเชื้อจำนวนมากๆ
#10013
ถมที่ ขุดสระ จัดสวน วางท่อ ติดต่อ 080-022-3804
www.mmee2000.com ทำจริงไม่ทิ้งงาน
#10015


ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน มีผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิต 84 รายระหว่างรักษาตัวที่บ้าน ในจำนวนนี้ 36 รายมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว เสียชีวิตใน 1-9 วันหลังรายงานผลติดเชื้อ, 11 รายเสียชีวิตในช่วง 10-19 วัน, 9 รายเสียชีวิตไปแล้วจึงรายงานว่าติดเชื้อโควิด ระยะเวลาผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิตยาวนานที่สุดคือ 30 วันหลังรายงานผลติดเชื้อ และมี 24 รายที่ไม่รู้ว่าระยะเวลาเสียชีวิตชัดเจน

ผู้ป่วยที่เสียชีวิตกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้สูงอายุ โดยมี 36 รายที่อายุ 80 ปีขึ้นไป, ช่วงวัย 70 ปีเสียชีวิต 24 ราย, ช่วงวัย 60 ปีเสียชีวิต 11 ราย, ช่วงวัย 50 ปีเสียชีวิต 7 ราย, ช่วงวัย 40 ปีเสียชีวิต 1 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตที่อยู่ในช่วงวัย 30 ปีมี 3 ราย และช่วงวัย 20 ปีเสียชีวิต 1 ราย



การระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลตาสร้างความกังวลว่า ผู้ติดเชื้อจะมีอาการทรุดหนักลงอย่างรวดเร็วจนอาจเสียชีวิตได้ระหว่างรักษาตัวที่บ้าน

นายกฯ โยชิฮิเดะ ซูงะ ได้ประกาศนโยบายเมื่อต้นเดือนนี้ ให้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่รักษาตัวที่บ้านเป็นหลัก เพื่อสงวนเตียงในโรงพยาบาลให้สำหรับผู้ที่อาการหนักเท่านั้น ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้านในขณะนี้มีมากกว่า 45,000 คน เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากสัปดาห์ก่อนหน้า

อัตราผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นเพราะไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่ติดเชื้อได้ง่าย และผู้ติดเชื้อรายใหม่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนหนุ่มสาว ที่ยังไม่ถึงคิวได้รับวัคซีน



นายกฯ ญี่ปุ่นระบุว่า จะติดตามอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด เพื่อตัดสินใจว่าจะให้การแข่งขัน "พาราลิมปิก" มีผู้ชมหรือไม่ โดยงานพาราลิมปิกจะเริ่มต้นในวันที่ 24 ส.ค.นี้

ขณะนี้ญี่ปุ่นอยู่ในช่วงวันหยุดฤดูร้อน ผู้นำญี่ปุ่นระบุว่านี่เป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะในการควบคุมการระบาด เขาเรียกร้องให้คนหนุ่มสาวหลีกเลี่ยงการเดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนา โดยมีข้อมูลว่าร้อยละ 70 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกรุงโตเกียว เป็นกลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี.
#10016


หัวเว่ย ยังมั่นใจประเทศไทย ย้ำชัด คือ ยังเป็นตลาดกลยุทธ์หลักของหัวเว่ย เร่งผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มที่ ขยายส่วนธุรกิจพลังงานดิจิทัลเป็นครั้งแรกในไทย ลงทุนต่อเนื่อง 5G คลาวด์ พัฒนาทักษะดิจิทัลในประเทศ สวมบทป๋าดัน หนุนไทยสู่ดิจิทัลฮับแห่งอาเซียน และผู้นำด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอาเซียน

เจย์ เฉิน รองประธานหัวเว่ยเอเชียแปซิฟิก กล่าวถึงเทรนด์ เทคโนโลยีทั่วโลกที่น่าสนใจในยุคนิวนอร์มอล ว่า สองปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับทุกคน การรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดในขณะนี้ทำให้เราเห็นว่าทุกประเทศหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น

ข้อมูลจากรายงาน Global Connectivity Index ฉบับล่าสุดของหัวเว่ยระบุว่า ประเทศที่มีความพร้อมทางด้าน ICT มากกว่าประเทศอื่นจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้น้อยกว่า ทั้งในแง่ของภาคสังคมและภาคเศรษฐกิจ รวมทั้งยังสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือตลาดประเทศไทย ที่สถานการณ์ระบาดในตอนนี้ทำให้เห็นว่าการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ICT และเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มที่ในช่วงก่อนหน้านี้ มีผลเป็นอย่างยิ่งกับการช่วยให้ประเทศยังคงฟื้นตัวและเดินหน้าต่อไปได้ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติ

3 เรื่องดันไทยขึ้นดิจิทัลฮับอาเซียน

เจย์ เฉิน ระบุว่า ประเทศไทยค่อยๆ ก้าวขึ้นเป็นดิจิทัลฮับในภูมิภาคอาเซียนจากหลายองค์ประกอบ เรื่องแรก คือ ไทยได้พัฒนาแผนเศรษฐกิจดิจิทัลและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลและการเดินตามวิสัยทัศน์ไทยแลนด์ 4.0

เรื่องที่สองคือข้อมูลอ้างอิงจาก Speedtest Global Index 2020 ระบุว่าประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับหนึ่งใน 176 ประเทศในแง่ของความเร็วอินเทอร์เน็ตแบบฟิกซ์บรอดแบนด์ ซึ่งทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในแง่การวางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเทคโนโลยี 5G

เรื่องที่สามคือประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในภาคเกษตรกรรม กาคสาธารณสุข ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และการสร้างอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัล

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในด้านการบ่มเพาะบุคลากรด้านดิจิทัล ซึ่งหัวเว่ยได้มีส่วนสนับสนุนผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น Huawei ASEAN Academy ซึ่งตั้งเป้าบ่มเพาะบุคลากรในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคให้ได้ถึง 300,000 คนภายในระยะเวลาห้าปี และจะมีสัดส่วนในการฝึกอบรมบุคลากรในประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วนถึงหนึ่งในสามจากจำนวนบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมทั้งหมด

อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวต่อว่า หัวเว่ยยังเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและพลังงานดิจิทัลมาเนิ่นนาน ซึ่งได้รับการนำไปประยุกต์ใช้ในกว่า 170 ประเทศและภูมิภาค โดยส่วนธุรกิจพลังงานดิจิทัลของหัวเว่ยได้เติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทั้งในแง่ของผลประกอบการและส่วนแบ่งตลาด ทั้งในส่วนธุรกิจ Prefabricated Modular Data Center, Smart PV และ Site Power Facility ที่หัวเว่ยถือว่าเป็นผู้นำส่วนแบ่งตลาดในระดับโลก

สำหรับส่วนธุรกิจ mPower หัวเว่ยถือเป็นบริษัทแห่งแรกในโลกที่ส่งมอบนวัตกรรมใหม่ในชื่อว่า X-in-1 ePowertrain ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานให้แก่รถยนต์พลังไฟฟ้า นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ Modular Power ประสิทธิภาพสูงเป็นจำนวนมากกว่า 300 ล้านชิ้นทั่วโลก โดยในปี 2563 หัวเว่ยทำยอดขายในส่วนธุรกิจพลังงานจากทั่วโลกได้มากกว่า 5,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้บริการประชากรถึง 1 ใน 3 จากทั่วโลก

นั่นทำให้หัวเว่ยตัดสินใจขยายส่วนธุรกิจพลังงานดิจิทัลสำหรับตลาดประเทศไทยในปีนี้ โดยปัจจุบัน หัวเว่ยได้ให้บริการลูกค้าระดับองค์กรธุรกิจมากกว่า 1,000 รายในตลาดประเทศไทย ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจ 35 แห่งจาก 50 แห่ง ได้เลือกหัวเว่ยเป็นพาร์ทเนอร์ในด้านพลังงานดิจิทัล

"หัวเว่ยกำลังสร้างเครือข่ายพาร์ทเนอร์สำหรับด้านการบริการ การติดตั้ง และด้านโซลูชันมากกว่า 50 รายในประเทศไทย โดยหัวเว่ยคาดว่าการขยายส่วนธุรกิจในครั้งนี้จะช่วยสร้างงานในทางอ้อมได้มากกว่า 1,000 ตำหน่งในประเทศไทย ซึ่งหัวเว่ยทีมกับพาร์ทเนอร์หวังว่าเทคโนโลยีชั้นนำและกรณีตัวอย่างการใช้งานในระดับโลกจะสามารถช่วยส่งเสริมประเทศไทยในการขึ้นเป็นผู้นำด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอาเซียนได้"



ลงทุน 4 ด้านหลักต่อเนื่อง

อาเบล เติ้ง ย้ำด้วยว่า ประเทศไทยยังคงเป็นตลาดสำคัญของหัวเว่ย ซึ่งหัวเว่ยจะยังคงลงทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยใน 4 ด้าน อันได้แก่ ด้านเทคโนโลยี 5G ด้านดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ ด้านพลังงานดิจิทัล และด้านการพัฒนาทักษะดิจิทัล โดยมีจุดประสงค์เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่การเป็นดิจิทัลฮับของภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งบรรลุเป้าหมายในการเป็นประเทศผู้นำด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภูมิภาคนี้ให้จงได้

"ในด้านเทคโนโลยี 5G ประเทศไทยได้ขึ้นเป็นผู้นำในเรื่องการริเริ่มติดตั้งเครือข่าย 5G ในระดับภูมิภาคไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายรายต่าง ๆ ในไทยที่ช่วยผลักดันเรื่องนี้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ภายในสิ้นปีนี้ ประเทศอื่น ๆ ก็จะเริ่มตามทันไทยในแง่ของการขยายเครือข่าย 5G ต้องการจะเอาชนะในยก 2 ต่อจากนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องผลักดันให้มีอัตราการใช้งาน 5G เพิ่มขึ้นอย่างเร็วที่สุด เพื่อสร้างงานและโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ รวมถึงช่วยเพิ่มสัดส่วนที่เศรษฐกิจดิจิทัลจะมีผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ซึ่งหัวเว่ยจะสนับสนุนประเทศไทยผ่านการลงทุนอย่างต่อเนื่องในด้านนวัตกรรม 5G และเสริมสร้างอีโคซิสเต็มในประเทศ" คุณอาเบลกล่าว

ทั้งนี้ หัวเว่ยได้ลงทุนเป็นเงิน 475 ล้านบาทในโปรเจ็ค 5G EIC เพื่อพัฒนานวัตกรรม 5G สำหรับใช้งานในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ และเพิ่มทักษะให้แก่สตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี โดยหัวเว่ยยังได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เพื่อจัดงานประชุมสุดยอด 5G Summit ในไทยในปีนี้ เพื่อช่วยวางรากฐานให้แก่อุตสาหกรรมและอีโคซิสเต็มของ 5G ในประเทศ

ซึ่งหัวเว่ยเชื่อว่างานประชุมสุดยอดในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยผลักดันการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลในประเทศไทยด้วยการประยุกต์ใช้ 5G ในอุตสาหกรรมแนวดิ่ง นอกจากนี้ หัวเว่ยยังจะได้รับการสนับสนุนจากดีป้าในการสร้างอีโคซิสเต็มของพาร์ทเนอร์เพื่อก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรด้าน 5G และเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มสำหรับนวัตกรรมและแอปพลิเคชัน 5G ในภาคอุตสาหกรรมที่สมบูรณ์

"ที่สำคัญคือหัวเว่ยจะยังคงมุ่งมั่นสร้าง อีโคซิสเต็มของ 5G ในประเทศไทยต่อไป เพื่อสร้างนคร 5G ระดับแนวหน้า และมีมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่าย 5G ในขั้นสูง เสริมแกร่งแอปพลิเคชันรวมทั้งนวัตกรรมด้าน 5G เพื่อสร้างโมเดลและคุณค่าใหม่ทางธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยมีศักยภาพสูงพอที่จะขึ้นเป็นเมือง 5G แห่งภูมิภาคอาเซียน รองรับการเป็นเจ้าภาพเอเปคในปี 2565 ของไทยที่จะจัดขึ้นในจังหวัดกรุงเทพมหานคร พัทยา และเชียงใหม่" เขากล่าวเสริม

ปีนี้ หัวเว่ยจะลงทุนเป็นเงิน 700 ล้านบาท สำหรับศูนย์ข้อมูลการให้บริการคลาวด์แห่งที่สามในประเทศไทย ซึ่งทำให้หัวเว่ยเป็นผู้ให้บริการ HUAWEI CLOUD ระดับโลกในไทยเพียงรายเดียวที่มีศูนย์ข้อมูลในประเทศถึงสามแห่ง

โดยหัวเว่ยต้องการสนับสนุนด้านการวางจุดยืนให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ดูน่าลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติในด้านการตั้งศูนย์ข้อมูล (Data Center) และการลงทุนในครั้งนี้ยังช่วยสร้างงานใหม่กว่า 200 ตำแหน่ง ด้วยความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในไทยกว่า 200 ราย

ทั้งนี้ หัวเว่ยต้องการจะผลักดันให้ประเทศไทยดูน่าดึงดูดและน่าลงทุนมากขึ้นในสายตาขององค์กรธุรกิจข้ามชาติ ที่ต้องการจะตั้งศูนย์ข้อมูลในภูมิภาคนี้

หัวเว่ยยังเชื่อว่าหัวใจสำคัญของการผลักดันการพัฒนาด้านดิจิทัลนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ซึ่งทางบริษัทได้ผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ผ่านการบ่มเพาะบุคลากรในไทย เพื่อช่วยลดช่องว่างเรื่องการขาดจำนวนบุคลากรด้านดิจิทัลในประเทศไทย ด้วยโครงการพัฒนาอย่าง Huawei ASEAN Academy ประเทศไทย ซึ่งตั้งเป้าฝึกอบรมบุคลากรที่ทำงานด้านไอทีในไทยให้ได้รับทักษะในระดับโลกเป็นจำนวน 100,000 คนภายในเวลา 5 ปีนี้
#10017


ทาคุมิ มินามิโนะ กองหน้าทีมชาติญี่ปุ่น โชว์ฟอร์มอย่างโดดเด่นกับ "หงส์แดง" ลิเวอร์พูล นัดอุ่นเครื่องเอาชนะ โอซาซูน่า 3-1

โดย มินามิโนะ ที่ถูกปล่อยให้ เซาแธมป์ตัน ยืมเมื่อฤดูกาลที่ผ่านมา มีส่วนกับทุกประตูที่ ลิเวอร์พูล ทำได้ในนัดชนะ โอซาซูน่า

1-0 ทาคุมิ มินามิโนะ พา.เข้ากรอบเขตโทษก่อนซัดไปแฉลบ เฆซุส อเรโซ่ เข้าประตู
2-0 มินามิโนะ ทำชิ่งกับ คอสตาส ซิมิกาส ก่อนจะเปิดให้ โรแบร์โต้ ฟีร์มิโน่ ทำประตู
3-0 มินามิโนะ ครอสจากฝั่งซ้ายเข้าเขตโทษให้ ฟีร์มิโน่ ทำประตู

ทั้งนี้กองหน้าทีมชาติญี่ปุ่น ดูเหมือนจะเป็นส่วนเกินของทีม "หงส์แดง" โดยมีรายงานว่ากำลังมีหลายสโมสรให้ความสนใจคว้าตัวดาวเตะรายนี้

สำหรับ ลิเวอร์พูล มีโปรแกรมพรีเมียร์ลีก อังกฤษ นัดแรก บุกไปเยือน นอริช ซิตี้ วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม เวลา 23.30 น.
#10019


วันนี้ (10 ส.ค. 64) ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์  วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงอัปเดตสถานการณ์การรับมือกับ สายพันธุ์เดลตา จากทั่วโลก ผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ Mahidol Channel โดยระบุว่า สหประชาชาติ ออกมาประกาศต้นเดือน ก.ค. ว่าสายพันธุ์เดลตากระจาย 98 ประเทศ กำลังก่อปัญหาใหญ่ให้กับมนุษยชาติ เพราะสายพันธุ์นี้มีพฤติกรรมหลายอย่างที่เปลี่ยนไปจากเดิม


หลังจากนั้น 30 ก.ค. สหประชาชาติ ออกมาเตือนว่าสิ่งที่คาดการณ์ไม่ทันกับไวรัส เพราะเดลตา รุนแรง ไปเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ ซึ่งกระจาย 132 ประเทศ ที่สำคัญ คือ ใน หนึ่งสัปดาห์ ติดเชื้อเกือบสี่ล้านคน ในหนึ่งเดือนมีคนติดเชื้อเพิ่ม 80% รวมถึงการตาย 80% ในบางพื้นที่ เช่น แอฟริกา ขณะที่ 5 ส.ค. ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศสีเข้มเรียบร้อย

CDC แนะเร่งฉีดวัคซีน ใส่หน้ากาก
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) ซึ่งทำหน้าที่เฝ้าติดตามโรคระบาดต่างๆ ในสหรัฐ เมื่อวันที่ 27 ก.ค. CDC ได้ออกแนวปฏิบัติล่าสุด แก้ไขจากแนวคิดเดิม เนื่องจากสหรัฐ มีการแพร่ระบาดของเดลตา ขณะเดียวกัน การฉีดวัคซีนยังไม่ไปถึงจุดที่ควรจะเป็น โดยแนะนำ เร่งฉีดวัคซีนโควิดให้เร็วมากขึ้นและใส่หน้ากาก ซึ่งก่อนหน้านั้น เคยออกมาบอกว่าฉีดเยอะพอ บางรัฐส่งสัญญานว่าไม่ต้องใส่หน้ากาก ตอนนี้กลับมาแนะนำว่าขอให้ประชาชนอเมริกัน ไม่ว่าจะไปที่ใดขอให้พิจารณาเรื่องการใส่หน้ากาก


"เหตุผลเพราะมีการรวบรวมตัวเลขติดเชื้อใหม่ 7 วัน ปลายเดือนมิ.ย. อัตราเฉลี่ย 7 วัน ผู้ติดเชื้อราว 12,000 ราย ปลายเดือน ก.ค. ขึ้นไปที่เฉลี่ย 60,000 ราย แปลว่าติดเชื้อ 5 เท่าตัว แสดงว่าเหตุการณ์ต่างๆ ย้อนกลับไป ธ.ค.63 -  ม.ค. 64 ทั้งๆ ที่สหรัฐฯ มีการฉีดวัคซีนไปเยอะพอสมควร โดยทั้ง 50 รัฐ มีการกระจายเดลต้ากว่า 80%

ขณะเดียวกัน สหรัฐมีการพูดว่า เดลตามีการเพิ่มขึ้น มีคนฉีดวัคซีนครบสองโดส 50% แต่พอเจอเดลตา มีการเพิ่มของการติดเชื้อและสายพันธุ์เดลตาก่อปัญหา 80-87% จากต้นเดือน มิ.ย. ซึ่งอยู่ที่ราว 8-14% ผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 13,500 ราย และเพิ่มมากว่า 92,000 รายในช่วง 3 ส.ค. 64



สหราชอาณาจักร เผยฉีดวัคซีนครบ ติดเชื้อได้
สหราชอาณาจักร เดลตา สัดส่วนกว่า 90% แทนที่อัลฟาไปเรียบร้อย ข้อมูลการตรวจรหัสพันธุกรรมเดลตา เมื่อ 21 มิ.ย. - 19 ก.ค. จำนวน 1,788 คน พบว่า ครึ่งหนึ่งไม่ได้ฉีดวัคซีน และ 30% เป็นคนฉีดครบแล้ว แปลว่าคนฉีดครบไม่ได้สื่อว่าเราไม่ติดเชื้อ โดยวัคซีนที่สหราชอาณาจักรฉีด คือ mRNA และ แอสตร้าเซนเนก้า

"จะเห็นว่าตอนนี้ เรามียุทธศาสตร์กลางน้ำ คือ วัคซีน ที่ช่วยลดความรุนแรง เสียชีวิต ยิ่งฉีดเยอะ ส่งผลเชิงบวกกับอัตราการรอด อัตราการเสียชีวิต ขณะเดียวกัน ถ้าข้อมูลฉีดเยอะพอ ส่งผลต่อการแพร่กระจายของเชื้อด้วย"

 

ทั่วโลกฉีดวัคซีนไปแล้ว 4.4 พันล้านโดส
ข้อมูลวันที่ 8 ส.ค. 64 ทั่วโลกหลังจากมีการฉีดวัคซีน อัตราการติดเชื้อเริ่มลดลง และกลับขึ้นมา ปัจจุบัน พบอัตราการติดเชื้อ 5-7 แสนรายต่อวัน เสียชีวิตราว 7 พัน – หมื่นกว่าราย ตอนนี้ทั่วโลก ฉีดวัคซีนแล้ว 4,414,063,632 โดส ฉีดวันละ 42,600,503 โดส (ประชากร 7,884,751,830 คน)


สหรัฐฯ ปรับรูปแบบรับมือเดลตา 

สหรัฐ หลังจากเริ่มมีการไล่ฉีดวัคซีน เดือน ม.ค. สถานการณ์เริ่มดีขึ้น แต่หลังจากนั้นเกิดเหตุขึ้นอีก มีการติดเชื้อบางวันแตะหลักแสน แต่การเสียชีวิตไม่เยอะไปตามส่วน แต่เดิมเสียชีวิตสูง 2 – 3 พันรายต่อวัน ตอนนี้เลขสามหลักไม่ถึงห้าร้อยเชื้อว่าเป็นผลของการฉีดวัคซีน

ฉีดวัคซีนแล้ว 350,627,188 โดส ฉีดวันละ 712,389 โดส (ประชากร 333,159,223 คน) 58.5% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 50.1% ได้ครบโดส


สหรัฐ หลังจากที่ตัวเลขมีการเปลี่ยนแปลง CDC ประกาศให้ประชาชน ถึงแม้จะฉีดวัคซีนครบก็กลับมาใส่หน้ากาก โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง คนเยอะ เกิดขึ้น 11 สัปดาห์ ที่ CDC ประกาศให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบไม่ต้องใส่หน้ากากเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ขณะที่ ร้านค้า สถานประกอบการต่างๆ เร่งออกมาตรการรองรับการประกาศ CDC รวมถึงลูกค้าที่ฉีดวัคซีนครบ ขณะที่ รัฐกลาง และของแต่ละรัฐ เร่งออกมาตรการให้ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนรับการฉีดวัคซีน รับรางวัลหรือบังคับ

"CDC ย้ำว่า คนที่ฉีดครบเรียบร้อยสามารถแพร่เชื้อใกล้เคียงกับคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน สิ่งที่ดี คือ คนที่ฉีดวัคซีนครบ โอกาสรุนแรงน้อยลง เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน"


จับตา Freedom Day สหราชอาณาจักร 
สหราชอาณาจักร มีประชากรใกล้เคียงกับไทย หลังจากฉีดวัคซีน 8 ธ.ค.63 ทุกอย่างเริ่มดูดี อัตราติดเชื้อลดลง และติดขึ้นมาใหม่จากการระบาดของเดลตาครอบคลุมกว่า 90% อัตราการติดเชื้อจากเดิมสองหลัก ตอนนี้ห้าหลัก 3-5 หมื่นราย แต่เสียชีวิตต่ำ คือ หลักสิบถึงหลักร้อย


ปัจจุบัน สหราชอาณาจักร ฉีดวัคซีนแล้ว 86,207,851 โดส ฉีดวันละ 181,407 โดส (ประชากร 68,281,783 คน) 70.4% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 58.7% ได้ครบโดส


นายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน ประกาศวันประกาศ Freedom Day ในวันที่ 19 ก.ค. เนื่องจาก สหราชอาณาจักร ฉีดวัคซีน 70% อย่างน้อยหนึ่งโดส และ 60% ฉีดครบโดส ถึงวันที่เลิกใส่หน้ากาก ผับเปิด ภัตตาคารเปิดให้ทาน แต่ตัวเลขการแพร่กระจายไม่ได้วิ่งขึ้นมากมาย เชื่อว่าสาเหตุหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะประกาศ Freedom Day


แต่คนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะสูงวัย คุ้นเคยกับการใส่หน้ากาก เชื่อว่ามีส่วนในการลด ขณะที่ บุคลากรทางการแพทย์ ลงนามร่วมกันและเสนอนายกท้วงติง Freedom Day คือ หากคนบอกว่าไม่ใส่หน้ากาก และเกิดมีการกลายพันธุ์ของเชื้ออีก และแพร่ระบาดใหม่ กลายเป็นสิ่งที่กลัวกันเกิดการดื้อต่อวัคซีน

ฝรั่งเศส มี Health Pass
เดิมฝรั่งเศสไม่ค่อยฉีดวัคซีน แต่เริ่มเจอเหตุการณ์พีค เริ่มระดมฉีดเต็มที่ ปัจจุบัน ฉีดวัคซีนแล้ว 77,681,231 โดส ฉีดวันละ 517,893 โดส (ประชากร 65,432,916 คน) 68.9% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 57.3% ได้ครบโดส ฝรั่งเศสเจอเหตุการณ์เดียวกัน คือ อัตราการติดเชื้อลดลง และเริ่มเพิ่มขึ้นเมื่อเดลตาเข้ามา โดยเพิ่มมาเป็นหลักหมื่นและไม่มีท่าทีลดลง แต่อัตราตายเป็นตัวเลขสองหลัก


การปรับรูปแบบการรับมือวิกฤต COVID19 จากสายพันธุ์เดล จากการสายพันธุ์ เดลตา กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศสเข้าสู่การระบาดรอบที่ 4 (Fourth Wave) จากสายพันธุ์เดลตา รัฐบาลออกมาตรการให้ผู้เข้ารับบริการในสถานให้บริการต่างๆ มี Health Pass แสดงว่าได้รับวัคซีน หรือ ผลการตรวจไม่พบเชื้อ COVID-19 ในระยะเวลาใกล้การใช้บริการ หรือ เพิ่งหายจากการติดเชื้อ COVID-19


รวมถึง รัฐบาลออกมาตรการปรับหากสถานให้บริการต่างๆ ไม่ดำเนินการ (เริ่มจาก 1,500 euros และเพิ่มขึ้นหากผิดซ้ำ จากเดิมที่กำหนดปรับ 45,000 euros) พร้อม บังคับให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในระบบดูแลสุขภาพ ต้องรับวัคซีน


อิตาลี มี Health Certificate
เจอเหตุการณ์เดียวกัน และตัวเลขผู้ติดเชื้อยังเป็นหลักพัน และอัตราตายเป็นเลขสองหลัก ฉีดวัคซีนแล้ว 71,240,657 โดส ฉีดวันละ 403,547 โดส (ประชากร 60,364,365 คน) 65.2% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 56.7% ได้ครบโดส


จากการสายพันธุ์เดลตา กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดอยู่ในประเทศอิตาลี รายงานวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา สายพันธุ์ Delta พบเปีน 94.8% ของสายพันธุ์ที่ ระบาดในประเทศ ขณะที่เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พบเพียง 22.7% รัฐบาลกำลังพิจารณาปรับแก้มาตรการเกี่ยวกับการเดินทางในประเทศ (12 มิถุนายน) มี Health Certificate แสดงว่าได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม หรือ ผลการตรวจไม่พบเชื้อโควิด-19 ในระยะเวลาใกล้การใช้บริการ หรือ เพิ่งหายจากการติดเชื้อโควิด-19


อิสราเอล อาจล็อกดาวน์หากระบาดหนัก

อิสราเอล ถือเป็นประเทศที่มีการฉีดวัคซีนไปเยอะมาก ฉีดวัคซีนแล้ว 11,588,381 โดส ฉีดวันละ 119,085 โดส (ประชากร 8,808,673 ล้าน) 64.1% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 59.6% ได้ครบโดส


จากการสายพันธุ์เดลตา กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดอยู่ในประเทศอิสราเอล รัฐบาลโดยผู้อำนวยการกระทรวงการสาธารณสุข (Health Ministry Director -Nachman Ash) ให้สัมภาษณ์ถึงอาจต้องมีการล็อกดาวน์หากการแพร่ระบาดเพิ่มจนอาจทำให้ระบบการดูแลสุขภาพล่ม ทั้งนี้ หากต้องล็อกดาวน์ อาจเกิดในเดือนกันยายนในช่วงวันหยุด (Jewish Holidays) ซึ่งน่าจะกระทบกับระบบเศรษฐกิจมากกว่าจะเลื่อนไปเดือนตุลาคม


ออสเตรเลีย ล็อกดาวน์บางพื้นที่
ออสเตรเลีย ผู้ป่วยสามหลัก แต่อัตราตายต่ำ วัคซีนแม้จะฉีดไม่เยอะ ซึ่งมีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ฉีด 1 โดส และครึ่งหนึ่งฉีดครบโดส ตอนแรกไม่ แต่ใช้ความเข้มในการจัดการ เมื่อ 3 ส.ค. ออสเตรเลีย มองว่าเดลตา มีแนวโน้มก่อเกิดความรุนแรง ติดเชื้อหนัก ควบคุมยาก ขณะที่การควบคุมพื้นที่ต่างๆ บางพื้นที่ล็อกดาวน์เต็มพื้นที่ และมีการติดเชื้อในเด็กเยอะขึ้น

ออสเตรเลีย ฉีดวัคซีนแล้ว 13,496,355 โดส ฉีดวันละ 184,239 โดส (ประชากร 25,832,112 ล้าน) 34.9% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 17.1% ได้ครบโดส


รัสเซีย เร่งฉีดวัคซีน

แต่เดิมรัสเซีย ฉีดวัคซีนน้อย แต่ตอนนี้เร่งมาก ปัจจุบัน รัสเซีย ฉีดวัคซีนแล้ว 66,216,817 โดส ฉีดวันละ 579,461 โดส (ประชากร 146,003,297 ล้าน) 25.9% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 18.4% ได้ครบโดส สามารถลดความชันของกราฟได้ ทั้งการติดเชื้อและการเสียชีวิต แต่ยังอยู่ที่ระดับ 2-3 หมื่นรายต่อวัน และเสียชีวิตเลขสามหลัก


ประเทศไทย อยู่ในช่วงขาขึ้น 
สถานการณ์ไทย อยู่ในช่วงขาขึ้น มีผู้ติดเชื้อหลักหมื่นรายต่อวันและ เสียชีวิตสามหลัก ข้อมูล 8 ส.ค. 64 ฉีดวัคซีนแล้ว 19,632,537 โดส ฉีดวันละ 401,677 โดส (ประชากร 69,993,382 ล้าน) 21.8% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 6.1% ได้ครบโดส




ขณะที่ ล่าสุดจาก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) วันที่ 10 ส.ค. 64 จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 9 ส.ค. 2564) รวม 21,171,110 โดส ใน 77 จังหวัด ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 9 สิงหาคม 2564 ยอดฉีดทั่วประเทศ 501,330 โดส ได้แก่ 

เข็มที่ 1 : 350,389 ราย
เข็มที่ 2 : 104,484 ราย
เข็มที่ 3 : 46,457 ราย



เดลต้า พบคนอายุน้อยติดเชื้อมากขึ้น 
ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ไม่เพียงแพร่ระบาดได้เร็ว (เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา ประมาณ 60%) แต่มีหลักฐานว่าก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงและอันตรายมากกว่าสายพันธุ์เดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน นอกจากนี้ ยังพบผู้ที่มีอาการรุนแรงในกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อยลง (ผลจากหลายปัจจัย) ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ (ไม่ว่าชนิดไหน) มีโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ (รายงานจากสหรัฐอเมริกาว่าไม่แตกต่างจากผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน แต่อาการมักไม่รุนแรง)


รายงานจากมหาวิทยาลัย Wisconsin พบว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว ยังสามารถพบมีปริมาณไวรัสในจมูกและคอ ไม่แตกต่างไปจากผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และหลายประเทศพบการติดเชื้อในเด็กมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง


วัคซีนฉีดแล้ว ยังต้องระวังตนเอง

ขณะเดียวกัน สัดส่วนของประชากรที่ได้รับวัคซีนที่มากพอ จะมีส่วนสำคัญในการลดการแพร่ระบาดและอัตราการเสียชีวิต แต่ไม่ควรเป็นข้อบ่งขี้ในการยกเลิกหรือผ่อนคลายการระวังตนเอง (ใส่หน้ากาก รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล หมั่นทำความสะอาดมือ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีคนจำนวนมากในพื้นที่ ที่จำกัด)

การแพร่ระบาดในกลุ่มคนจำนวนมาก อาจนำสู่การเกิดการกลายพันธุ์ และสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดเร็ว จะทดแทนสายพันธุ์เดิมหรือสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดช้ากว่า ขณะที่ ความปลอดภัยจากเชื้อโควิด-19 ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ขึ้นกับสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของเชื้อในโลก


3 มาตรการสำคัญ รับมือเดลตา

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า การลดความเสียหายที่เกิดจากวิกฤตที่เกินศักยภาพของระบบการดูแลสุขภาพ โดยการเร่งลดโอกาสการแพร่ระบาดของเชื้อ ขึ้นอยู่กับ 3 มาตรการ สำคัญ คือ มาตรการทางการปกครอง มาตรการทางการสาธารณสุข (การบริหารจัดการควบคุมโรค การพัฒนา ศักยภาพการตรวจหาผู้ติดเชื้อ การบริหารจัดการเตียง สถานพยาบาล) และ มาตรการส่วนบุคคล และทางสังคม (การชี้แจงเหตุและมาตรการ วินัย)

รวมถึง การเร่งฉีดวัคซีนเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ได้แก่ กลุ่มเสี่ยง สูงวัย 7 โรคเรื้อรัง และ ตั้งครรภ์ มากและเร็ว การเร่งค้นหาผู้เสี่ยงติดเชื้อและแพร่เชื้อ (ATK; RT-PCR) การได้รับยาที่เร็ว (แจ้งลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบ) พัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ติดเชื้อ (Home Isolation, Community Isolation)


"การเร่ง ฉีดวัควีน ป้องกันการติดเชื้อ ผู้เสี่ยง สูงวัย 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์ ให้มากและเร็ว ขณะเดีวกัน การเร่งค้นหาผู้ติดเชื้อและเสี่ยงแพร่เชื้อ ซึ่งขณนี้มี Antigen Test Kit (ATK) ในการตรวจได้เร็ว ยี่ห้อต่างๆ มีความแม่นยำดีระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะความไวและจำเพาะกว่า 90% การตรวจ ATK  จะสามารถค้นหาคน ควบคุม เข้ากระบวนการรักษา ให้เร็ว และให้ยาเร็ว ตอนนี้มีนโยนบายออกมาแล้ว ในกลุ่มที่เสี่ยงจะอาการรุนแรง มีการแจกยา แต่ต้องลงทะเบียนเข้าสู่ระบบเพื่อติดตาม รวมถึง การพัฒนาศักยภาพ การดูแลผู้ติดเชื้อ Home Isolation และ Community Isolation" คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าว 
#10020


โดยทั่วไป เมื่อพูดถึง "future of work" ทักษะต่างๆ ที่มักให้ความสำคัญคงหนีไม่พ้นเรื่องที่เกี่ยงข้องกับ การวิเคราะห์ข้อมูล(data analysis), ทักษะการเขียนโค้ดดิ้ง รวมถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์

อามิท ซักซีน่า รองประธานฝ่ายขาย อาเซียน เซลส์ฟอร์ซ เปิดมุมมองว่า ในมุมของการศึกษาวิชาการที่สถานบันศึกษาต่างโฟกัสในการเสริมสร้างทักษะและเพิ่มโอกาสในการทำงานจะเกี่ยวข้องกับสาขาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือที่เราเรียกกันแบบย่อว่า STEM

ด้วยยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ "The Fourth Industrial Revolution" คือยุคแห่งการปฏิวัติพัฒนาทักษะเพื่อรองรับการทำงานในอนาคตอย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตามในช่วงปีที่ผ่านมา ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจได้สร้างมุมมองของการทำงานที่เปลี่ยนไปให้แก่ธุรกิจ สถานการณ์ล็อคดาวน์และการทำงานจากที่บ้านชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของทักษะในเชิง "soft skills" ซึ่งเป็นทักษะสำคัญไม่ว่าการทำงานนั้นจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหรือไม่ก็ตาม

เสริมทักษะ ก้าวสู่โลกใหม่การทำงาน

จากรายงานที่เซลส์ฟอร์ซจัดทำขึ้นในประเทศแถบยุโรปพบว่า 74% ของผู้นำทางธุรกิจกล่าวว่าพวกเขาได้หันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนา soft skills ให้กับพนักงานมากยิ่งขึ้น

โดยนอกเหนือจากทักษะด้านไอทีของพนักงาน ทักษะเช่น ความสามารถในการจัดการอารมณ์ และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเริ่มเป็นสิ่งที่ผู้บริหารให้ความสำคัญ ซึ่งเหล่านี้เชื่อมโยงมาจากการที่ผู้นำธุรกิจเหล่านี้ต่างต้องบริหารทั้งธุรกิจและพนักงานในแบบรีโมตแต่ยังต้องคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพ จริยธรรม และการบริการลูกค้า

ดังนั้น เพื่อก้าวเข้าสู่โลกแห่งการทำงานในแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธุรกิจไม่ควรมองข้ามการพัฒนาทักษะ soft skills และนี่คืออีก 3 เหตุผลว่าทำไม soft skills จึงเป็นทักษะสำคัญที่ธุรกิจควรให้ความสำคัญในตัวพนักงาน

ประการแรก วิกฤติเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทักษะในการปรับตัวเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าการที่ธุรกิจมีพนักงานที่มีความสามารถในการปรับตัว ปรับเปลี่ยน โดยไม่กระทบประสิทธิภาพการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ

โดยพนักงานที่มีความสามารถในการปรับตัวเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ มีการคิดในเชิงสร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ จะสามารถคงประสิทธิภาพของการทำงานท่ามกลางสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง


เพิ่มสื่อสาร-วัฒนธรรมองค์กร


อีกเหุตุผล การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญเมื่อต้องทำงานจากต่างสถานที่ แม้ว่าการใช้เทคโนโลยีจะช่วยธุรกิจได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การเข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างงานได้ตามความต้องการของลูกค้า หรือช่วยธุรกิจในการประหยัดค่าใช้จ่าย แต่หากขาดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพของพนักงานในองค์กร ธุรกิจก็ไม่อาจประสบความสำเร็จได้อย่างที่สุด

"ความสามารถในการเข้ากับคนและทำงานร่วมกันจึงเป็นอีกหนึ่ง soft skills ที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพนักงานแต่ละคนต้องทำงานจากต่างสถานที่อย่างในปัจจุบัน"

ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานซึ่งพนักงานทั้งหมดเห็นชอบร่วมกัน หรือกำหนดแนวทางปฎิบัติเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน สิ่งเหล่านี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่การทำงานของพนักงานได้ การสื่อสารกันระหว่างพนักงานจะช่วยให้การทำงานเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น

สุดท้าย เป็นน้ำหนึ่งอันเดียวและมีเป้าหมายเดียวกัน วัฒนธรรมขององค์กรคือปัจจัยสำคัญที่พนักงานเลือกที่จะอยู่กับองค์กร แต่ในปัจจุบันที่การแพร่ระบาดส่งผลให้พนักงานต้องทำงานจากต่างสถานที่ วัฒนธรรมขององค์กรจึงเริ่มเป็นเรื่องที่อาจเข้าถึงได้ยาก

การมีทักษะในการสร้างความกลมเกลียวจึงเป็นสิ่งที่พนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับหัวหน้างานควรมีเพื่อปลูกฝังและกระตุ้นความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันของพนักงานทุกคนและให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของธุรกิจ


ซักซีน่าวิเคราะห์ว่า การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงต้องมีการสื่อสารที่ดี แต่ยังต้องได้ใจพนักงานด้วย ผู้นำทีมควรมีความสามารถในการสร้างทีม รับฟัง ให้คำปรึกษา ให้กำลังใจ ส่งเสริมในสิ่งที่ขาดของคนในทีม มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ รู้จักเห็นอกเห็นใจ ใฝ่เรียนรู้ ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมั่นคง

"แม้โลกของการทำงานจะเปลี่ยนไปอย่างไม่หยุดนิ่ง แต่ความต้องการบุคลากรที่มีทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพจะยังคงเป็นที่ต้องการไม่เปลี่ยนแปลง"

แม้เทคโนโลยีจะมาเป็นเครื่องมือในการสร้างงานและทักษะ แต่สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้และจะสร้างความแตกต่างทางธุรกิจคือ soft skills ที่พนักงานควรมี ไม่ว่าจะเป็นการทำงานจากที่สำนักงานหรือจากต่างสถานที่ ความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน ความพร้อมที่จะช่วยเหลือและสนับสนุนซึ่งกันและกันจะทำให้สถานที่ทำงานในองค์กรนั้นดึงดูดใจพนักงาน