• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Panitsupa

#9001
ยินดีให้บริการ ทุกขนาดพื้นที่ ติดต่อ 080-022-3804
#9002
ปัญญาเคมีภัณฑ์จำหน่ายเครื่องจักร เครื่องปันครีม เครื่องกวนผสม มีทั้งรุ่นแบบ
overhead stirrer / homojinizer 
จำหน่าย ในราคาถูก เหมาะสมกับธุรกิจ SME ที่กำลังเริ่ม 
เรามีทั้งมือ 1 มือสอง 


✅หากลูกค้าท่านใดสนใจสอบถาม/สั่งซื้อ
➡️LINE : @PYCM (มี@นะคะ)
➡️website : https://www.panyachemipan.com/
➡️FB : https://m.me/panyachemipan

#เคมีภัณฑ์ #ส่วนประกอบเครื่องสำอาง #chemi #โรงงาน #เครื่องสำอาง
#ร้านขายเคมีภัณฑ์ #หัวน้ำหอม #perfume #เครื่องปั่นครีม #เครื่องบรรจุครีม เครื่องอบฟิล์มหด


#9003
รับสมัครนักศึกษาฝึกงาน วุฒิ ปวช , ปวส และปริญญาตรี เฉพาะสาขาบัญชี  มีค่าตอบแทนคิดเป็นรายวัน
ทำงานตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์  เวลา 08:00 -17:00 น.
#9004
ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดเช้าบวกในวันนี้ ตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นสหรัฐที่ปิดพุ่งขึ้นกว่า 200 จุดเมื่อวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์เงินเฟ้อในสหรัฐ หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ดัชนีนิกเกอิปิดภาคเช้าที่ระดับ 28,696.68 เพิ่มขึ้น 258.91 จุด หรือ +0.91%

หุ้นที่ปรับตัวขึ้นในช่วงเช้านี้นำโดยหุ้นกลุ่มขนส่งทางทะเล กลุ่มประกัน และกลุ่มสินเชื่อผู้บริโภค

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 6.8% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 6.7%

จันทิรา ลือสกุล เก็บหุ้น TNITY อีก 0.741% รวมถือ 5.6112%

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับแบบรายงานการได้มา หุ้นของ บมจ.ทรีนีตี้ วัฒนา (TNITY) โดย นางจันทิรา ลือสกุล ซึ่งเป็นการได้มา เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.64 จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มา คิดเป็น 0.741% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มา คิดเป็น 5.6112% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ
#9007
บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดการณ์ดัชนีหุ้นไทยสำหรับสัปดาห์ถัดไป (13-17 ธ.ค.) มีแนวรับที่ 1,600 และ 1,580 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,625 และ 1,640 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมเฟด (14-15 ธ.ค.) สถานการณ์โควิด-19 และทิศทางเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ

ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านเดือนพ.ย. และดัชนี PMI เดือนธ.ค. (เบื้องต้น) ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ดัชนี PMI เดือนธ.ค. (เบื้องต้น) ของญี่ปุ่นและยูโรโซน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค. ของญี่ปุ่นและยูโรโซน ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพ.ย. ของยูโรโซน รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจเดือนพ.ย. ของจีน อาทิ ยอดค้าปลีก การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร

โดยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (7-9 ธ.ค.) หุ้นไทยปรับตัวขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,618.23 จุดเพิ่มขึ้น 1.89% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 71,301.06 ล้านบาท ลดลง 27.46% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 0.81% มาปิดที่ 564.65 จุด

หุ้นไทยดีดตัวขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ หลังนักลงทุนคลายความกังวลบางส่วนต่อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน เนื่องจากมีความหวังว่าอาการป่วยจากการติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวอาจไม่รุนแรง สำหรับสัปดาห์นี้ หุ้นกลุ่มธนาคารมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากข่าวการชนะประมูลพอร์ตสินเชื่อรายย่อย ขณะที่หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์มีแรงหนุนจากการเปิดเฮียริ่งอีกรอบเกี่ยวกับร่างประกาศคุมสัญญาเช่าซื้อ

อย่างไรก็ดี หุ้นไทยย่อตัวลงเล็กน้อยในวันทำการสุดท้ายก่อนหยุดยาว ตามแรงขายลดเสี่ยงของนักลงทุน
#9008
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลงในวันนี้ ก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อในวันพรุ่งนี้

ณ เวลา 23.28 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 1.489% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวลงสู่ระดับ 1.859%

ราคาพันธบัตร และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามกัน

นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในวันพรุ่งนี้ โดยดัชนี CPI เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งหากสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ ก็จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เฟดเร่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี CPI พุ่งขึ้น 6.7% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2525

นอกจากนี้ ตลาดจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางขนาดใหญ่ 3 แห่งของโลกในสัปดาห์หน้า โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดการประชุมในวันที่ 14-15 ธ.ค. ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะจัดการประชุมพร้อมกันในวันที่ 16 ธ.ค.
#9009

นายอาทิตย์ น้อยเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอบีพีโอ จำกัด (ABPO) ในเครือ บมจ.ทีวี ไดเร็ค (TVD) เปิดเผยว่า จากนโยบายของ TVD ที่มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจ B2B (Business to Business) สู่การเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ผ่านการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่ปรึกษาการวางกลยุทธ์และการจัดการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีแบบครบวงจร (Tech For Business) เพื่อรองรับภาคธุรกิจที่ต้องการทรานส์ฟอร์เมชั่นและนำเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนธุรกิจ โดยเป็นหนึ่งในธุรกิจที่จะสร้างการเติบโตให้กับ TVD คาดว่าภายในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า ABPO จะสร้างรายได้คิดเป็นสัดส่วน 70% ให้แก่ TVD


ทั้งนี้ บริษัทเดินหน้ารุกธุรกิจภายใต้โครงสร้าง 4 กลุ่มธุรกิจที่ตอบโจทย์ยุคดิจิทัล ได้แก่ 1.ระบบจัดการธุรกิจออนไลน์ (Fulfillment) โดยให้บริการรับส่งพัสดุทั่วประเทศผ่านโมบายแอปพลิเคชั่น Xpresso แก่ผู้ค้าออนไลน์ เอสเอ็มอี และลูกค้าทั่วไป เพื่อรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างรวดเร็ว คาดการณ์จะมีมูลค่าตลาดรวม 6.9 แสนล้านบาทในปี 64 จากเมื่อปีที่ผ่านมามีมูลค่า 3.79 แสนล้านบาท

2.การบริหารสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้า (Direct response Agency) ให้บริการด้านผลิตมีเดียเพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นยอดขายผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งบริษัทฯ ได้ลงทุน eatsHUB ผ่านบริษัท ฟู้ด ออเดอรี่ จำกัด ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันด้านการบริหารจัดการธุรกิจร้านอาหาร เพื่อต่อยอดเทคโนโลยีและการให้บริการแก่ลูกค้า

3.การให้บริการพัฒนาระบบไอทีและเทคโนโลยี (Business Technology outsource) ได้แก่ การให้บริการ Data Center Solution, Cloud Service, การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามความต้องการขององค์กร โดยจะนำเทคโนโลยีของสตาร์ทอัพ ได้แก่ บริษัท อี๊ตแล็บ จำกัด หรือ EATLAB สตาร์ทอัพด้านโซลูชั่นธุรกิจร้านอาหาร ?Blockfint? สตาร์ทอัพด้าน Fintech และ 2Read สตาร์ตอัพด้าน Edtech ที่บริษัทฯ เข้าไปลงทุนมาต่อสู่โมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่และให้บริการกับลูกค้า ปัจจุบันได้ขยายธุรกิจสู่การพัฒนาแอปพลิเคชันให้แก่ลูกค้า 4. การบริหารกระบวนการทางธุรกิจให้กับองค์กร (Business Process Outsourcing) ได้แก่ การให้บริการทางโทรศัพท์ (Call Center) และการพัฒนาซอฟต์แวร์

นายอาทิตย์ กล่าวว่า บริษัทพร้อมให้บริการทั้งการเป็นที่ปรึกษาการวางกลยุทธ์และการนำเสนอเทคโนโลยีแบบครบวงจร ตอบโจทย์กับบริษัททุกขนาดที่ต้องการจะใช้ Business Model ในรูปแบบ D2C (Direct to consumer) เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจทรานส์ฟอร์เมชั่นและสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน ขณะที่ธุรกิจนายหน้าประกันภัย TVD Broker วางแผนขยายธุรกิจสู่นายหน้าประกันภัยแบบครบวงจรที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลายโดยในปี 2564 คาดการณ์ว่าบริษัทฯ จะมีรายได้กว่า 1,000 ล้านบาท และสร้างกำไรได้ตามเป้าหมายที่ 20 ล้านบาท

ด้านนายทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TVD กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจทีวี โฮมช้อปปิ้ง เริ่มมีฐานผู้ชมลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับชมสู่ TV On Demand มากขึ้น โดยกลุ่มธุรกิจทีวี โฮมช้อปปิ้งของ TVD กำลังอยู่ระหว่างการปรับกลยุทธ์การตลาดมุ่งขับเคลื่อนสู่อีคอมเมิร์ซในทุกแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งอย่างไร้รอยต่อให้กับผู้บริโภค

ทั้งนี้ บริษัทได้ผู้บริหารจาก บริษัท โมโม่ดอทคอม จำกัด หรือ Momo.com Inc. (MOMO) ไต้หวัน ที่มีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีและเชื่อมต่อกันทุกแพลตฟอร์ม ร่วมพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันฟีเจอร์ใหม่ ที่ตอบโจทย์กับพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ เพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้บริการในเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากช่องทางออนไลน์เป็น 30% ในปี 65
#9010
ยินดีให้บริการ ทุกขนาดพื้นที่ ติดต่อ 080-022-3804
#9011
รับสมัครนักศึกษาฝึกงาน วุฒิ ปวช , ปวส และปริญญาตรี เฉพาะสาขาบัญชี  มีค่าตอบแทนคิดเป็นรายวัน
ทำงานตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์  เวลา 08:00 -17:00 น.
#9013
ทนายเชียงใหม่ จะนำเสนอข้อเท็จจริงดังนี้การจัดการทำศพเป็นกิจการซึ่งมิอาจ เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ตาย การจะทำให้บังเกิดผลบังคับได้ตามกฎหมายต้องแสดงเจตนาโดยทำเป็นพินัยกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 แต่คำสั่งเสียด้วยวาจาของผู้มรณภาพ ที่ให้โจทก์เป็นผู้จัดการทำศพมิอาจ เข้าหลักเกณฑ์การทำพินัยกรรมด้วยวาจาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1663 ย่อมมิอาจ บังเกิดผลบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อผู้ถึงแก่ความตาย มิได้ทำพินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดก และทรัพย์สินของผู้มรณภาพ ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในเป็นพระ ย่อมตกเป็นสมบัติของวัดจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1623 ส่วนโจทก์และน้องคนอื่นของผู้ตาย  แม้เป็นทายาท โดยธรรมในลำดับที่ 3 ตามมาตรา 1629 (3) ก็มิ มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย  ย่อมมิอาจ อาจมอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพเจ้ามรดก  การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยสิทธิโดยธรรมตามผลของมาตรา 1623 อันเป็นจำนวนมากที่สุด จึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการทำศพผู้ตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649 วรรคสอง จำเลยที่ 1 จึงไม่ ต้องส่งมอบศพเจ้ามรดก แก่โจทก์บทความจาก ทนายความเชียงใหม่
#9014
WINMED พร้อมสู้ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ เปิดให้บริการตรวจคัดกรองและยืนยันผลแบบครบวงจรด้วยวิธี RT-PCR และ TMA ขยายช่องทางจำหน่ายชุดตรวจ ATK ครอบคลุมโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

WINMED พร้อมสู้โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ขยายบริการ-สินค้ากลุ่มตรวจคัดกรองโควิด-19 ครบวงจร พร้อมให้บริการห้องปฎิบัติการตรวจยืนยันเชื้อโควิด-19 ด้วยระบบ RT-PCR และ TMA เป็นห้องปฏิบัติการเดียวในประเทศไทย ร่วมกับให้บริการตรวจคัดกรองเชิงรุกนอกสถานที่ พร้อมจำหน่ายชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วน (ATK) สำหรับตรวจด้วยตนเองทางโพรงจมูกและน้ำลายที่สามารถตรวจคัดกรองเชื้อโควิดทุกสายพันธุ์ รวมถึงสายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน


นายนันทิยะ ดารกานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินเนอร์ยี่ เมดิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ WINMED เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันเริ่มกลับมามีความวิตกกังวล เนื่องจากไวรัสโควิด-19 มีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ทำให้แพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น ได้แก่ สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron Variant) ถือเป็นเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดที่ 5 ที่องค์การอนามัยโลกจัดให้อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวล หลังจากสายพันธุ์อัลฟา, เบตา, แกมมา และเดลตาพลัส ที่เริ่มแพร่ระบาดในประเทศแถบอัฟริกาและในยุโรปบางประเทศ หากมีการแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง จะทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดเลวร้ายยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามบริษัทได้ปรับแผนงานรองรับความเสี่ยงของการแพร่ระบาดรอบใหม่ไว้แล้ว โดยการปรับกลยุทธ์การให้บริการ-ขยายช่องทางจำหน่ายสินค้ากลุ่มตรวจคัดกรองโควิด-19 ครบวงจร โดยปัจจุบันได้รับอนุญาตสถานประกอบการคลินิกเทคนิคการแพทย์ จากกระทรวงสาธารณสุข พร้อมให้บริการห้องปฏิบัติการมาตรฐานการตรวจยืนยันระดับโมเลกุลหาสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ทุกสายพันธุ์โดยระบบ RT-PCR และ TMA (Transcription Mediated Amplification) ซึ่งเป็นคลินิกเทคนิคการแพทย์แห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองการตรวจทั้งสองระบบ โดยทางบริษัทได้รับรายงานยืนยันจากผู้ผลิตว่าสามารถตรวจผลการติดเชื้อของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ B1.1.529 (Omicron Variant) ได้ ร่วมกับให้บริการตรวจคัดกรองโควิด 19 เชิงรุกนอกสถานที่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของประชาชน

ในส่วนของ ผลิตภัณฑ์ชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วน (ATK) บริษัทได้จำหน่ายชุดตรวจ แบรนด์ JOYSBIO สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และสำหรับตรวจคัดกรองด้วยตนเอง ด้วยวิธีการเก็บตัวอย่างจากทางโพรงจมูกส่วนปลายที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้งานง่าย เริ่มจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไป ตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 3 และยังได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ชุดตรวจคัดกรองโควิด-19 แบบเร่งด่วน (ATK) แบรนด์ LITUO เพิ่ม สำหรับตรวจคัดกรองด้วยวิธีการเก็บตัวอย่างจากทางโพรงจมูกส่วนปลายและเก็บตัวอย่างจากน้ำลาย โดยได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อออกจำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป ผ่านช่องทางออนไลน์ ร้านขายยา สถานพยาบาลทั่วประเทศ รองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายโดยทั้งสองแบรนด์ได้รับการยืนยันจากผู้ผลิตว่ามีประสิทธิภาพในการตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนอีกด้วย


" เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่า ภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีนที่ฉีดกันในปัจจุบันจะสามารถคงประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้ บริษัทในฐานะผู้นำในวงการเทคโนโลยีการแพทย์ในประเทศไทย ตระหนักถึงความสำคัญในการตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัส โควิด-19 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง โดยได้จัดหาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการตรวจจับหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ทุกสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดในปัจจุบัน รวมถึงสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งบริษัทใช้ความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่บริษัทมีได้แก่ TMA ที่เป็นการตรวจยืนยันเชื้อในระดับโมเลกุล ซึ่งได้ใช้ตรวจเชื้อไวรัสอื่นๆ เช่น HIV, HBV, HCV และ HPV มามากกว่า 10 ปีในประเทศไทย และได้รับการยอมรับในระดับสากล จึงมั่นใจว่าจะสามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในกรณีที่เกิดการระบาดรอบใหม่ได้" นายนันทิยะ กล่าว
#9015
เชฟรอนร่วมสนับสนุนไซเครส (ศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช) ศึกษาฉีดวัคซีนโควิด-19 เข้าในชั้นผิวหนัง

สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน โดยภาพรวมมีแนวโน้มคลี่คลาย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ขณะที่จำนวนผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีคนไทยได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้วถึง 48 ล้านคน หรือกว่า 66.7 เปอร์เซ็นต์ของประชากร ขณะที่ประชากรกว่า 41.2 ล้านคนได้รับวัคซีนครบสองโดสแล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564) เข้าใกล้เป้าหมายของภาครัฐที่ต้องการให้ประชากร 50 ล้านคน หรือ 70 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการ ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจากวิกฤตในครั้งนี้ได้อย่างแข็งแกร่ง


ด้วยเหตุนี้ การได้รับวัคซีนครบ 2 โดส ให้เร็วที่สุด จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้น โดยวัคซีนแต่ละชนิดมีระยะห่างระหว่างการฉีดเข็มที่ 1 และ 2 แตกต่างกันไป ตั้งแต่ 4 ถึง 12 สัปดาห์ นอกจากนี้ในสภาวะการขาดแคลนวัคซีน การใช้ปริมาณวัคซีนน้อยที่สุดจะสามารถกระจายวัคซีนได้มาก และสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้อย่างรวดเร็ว โดยปกติการฉีดวัคซีนตามมาตรฐานทั่วไปจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ สำหรับวัคซีนไฟเซอร์ 1 ขวด แบ่งฉีดได้ 6 โดส ส่วนวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1 ขวด แบ่งฉีดได้ 12 โดส

และนี่คือโจทย์ของโครงการนำร่องการศึกษาความปลอดภัยและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ด้วยการฉีดเข้าในผิวหนัง ที่ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (Siriraj Institute of Clinical Research หรือ SICRES) และร่วมสนับสนุนงบประมาณโดยบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข้าในชั้นผิวหนัง (Intradermal หรือ ID) จากปกติที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ซึ่งมีการศึกษาการฉีด 2 รูปแบบ แบบแรกศึกษาโดยการเลียนแบบการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ที่จะฉีดครั้งละ 2 จุด ห่างกัน 7 วัน และการฉีดแบบ 1 จุด ห่างกัน 21-28 วัน ซึ่งใช้ปริมาณวัคซีนเพียงเข็มละ 15-20% ของขนาดปกติที่ให้โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อนั้น จะมีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกัน และอาการไม่พึงประสงค์ลดลงหรือไม่ แตกต่างจากการให้วัคซีนโดยการฉีดเข้าทางกล้ามเนื้ออย่างไร อันจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการให้วัคซีนกับประชากรในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยประหยัดปริมาณการใช้วัคซีนภายในประเทศได้ และยังได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับการให้วัคซีนโควิด-19 กับประชากรไทยในอนาคตอีกด้วย

เพิ่มการเข้าถึงวัคซีน กระจายสู่ประชากรได้มากขึ้น


ผศ.ดร.พญ.สุวิมล นิยมในธรรม หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวถึงที่มาและแนวคิดของการศึกษาในครั้งนี้ว่า "จากการศึกษาที่ผ่านมาถึงการให้วัคซีนโดยการฉีดเข้าในผิวหนังของวัคซีนหลายๆ โรค พบว่ามีประสิทธิภาพที่ดีกว่าหรือเทียบเท่ากับการให้วัคซีนโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ รวมถึงอาการไม่พึงประสงค์จากการให้วัคซีนโดยการฉีดเข้าในผิวหนังก็น้อยกว่าการให้โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จึงคาดว่าการให้วัคซีนโควิด-19 โดยการฉีดเข้าในผิวหนังก็น่าจะให้ผลดีเช่นเดียวกัน นอกจากนี้การให้วัคซีนโดยการฉีดเข้าในผิวหนังโดยทั่วไปจะใช้ปริมาณประมาณ 10% - 20% ของขนาดปกติที่ให้โดยการฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อ ซึ่งคาดว่าน่าจะเพียงพอในการสร้างภูมิคุ้มกัน และอาการไม่พึงประสงค์ก็น่าจะลดลง"

นอกจากนี้ทางทีมวิจัยยังมีแนวคิดในการย่นระยะเวลาระหว่างการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 และ 2 ด้วยสูตรเร่งด่วน ซึ่ง ผศ.ดร.พญ.สุวิมล ให้เหตุผลว่า "จากการศึกษาที่ผ่านมา แนวทางหนึ่งในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสให้เกิดขึ้นได้เร็วคือการทำให้ร่างกายคุ้นเคยกับไวรัสด้วยการฉีดวัคซีนพร้อมกันหลายจุด และฉีดเข็มกระตุ้นโดยเว้นระยะเวลาไม่นาน ซึ่งจะทำให้ร่างกายได้รับวัคซีนครบ และกระตุ้นภูมิโดยเร็ว จะทำให้การป้องกันโรคเต็มที่เกิดขึ้นได้เร็วกว่า โดยการศึกษาในครั้งนี้จะแบ่งอาสาสมัครเป็น 2 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับวัคซีนโควิด-19 คนละชนิด โดยฉีดเข้าในผิวหนังของอาสาสมัครครั้งละ 2 จุด โดยมีระยะเวลาของการฉีดวัคซีนครั้งที่ 1 และ 2 ห่างกัน 7 วัน โดยจะเทียบกับการฉีด 1 จุด ห่างกัน 28 วัน ในปริมาณราว 15-20% ของขนาดปกติที่ให้โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ"

ผศ.ดร.พญ.สุวิมล กล่าวต่อไปว่า "เราพบว่ากลุ่มอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทางผิวหนังสูตรเร่งด่วน แบบการย่นระยะเวลาให้เหลือเพียง 7 วันนั้น มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเทียบกับการฉีดเข้าในผิวหนัง 1 จุด ห่างกัน 21-28 วัน พบว่า มีระดับภูมิคุ้มกันขึ้นด้อยกว่า ซึ่งการฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนัง ทั้ง 2 รูปแบบ พบว่าเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีด เช่น ปวดหัว ไข้ขึ้น หรืออาการข้างเคียงอื่น ๆ ลดลง และช่วยประหยัดวัคซีนได้ถึง 5 เท่า จึงสรุปได้ว่า การฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนัง เป็นการจัดสรรวัคซีนให้เกิดประโยชน์สูงสุด กระจายสู่ประชากรได้จำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเว้นระยะห่างเพียง 21-28 วัน จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับที่ดี และลดอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดได้อีกด้วย"

ผลักดันและต่อยอด

ศ.พญ. กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "เราเล็งเห็นว่าองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการวิจัยนี้จะมีประโยชน์ต่อภารกิจบริหารจัดการวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในพื้นที่ต่างๆ นอกเหนือจากประเทศไทย เราจึงมีความตั้งใจที่จะศึกษาและนำผลการศึกษายื่นต่อองค์การอนามัยโลกด้วย ขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ช่วยผลักดันทีมวิจัยศึกษาตั้งแต่ต้น และศึกษาต่อไปในเฟสระยะยาวเช่นกัน รวมถึงบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ที่ร่วมสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการนี้"

นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า "เรายินดีที่ได้ร่วมสนับสนุนโครงการศึกษาในครั้งนี้ ซึ่งจะมีส่วนในการสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษานี้ไม่เพียงสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลก เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงวัคซีน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศรายได้น้อยซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 1 เข็ม เพียง 6 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น อันจะมีส่วนช่วยเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสังคมจากวิกฤตในครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน"