• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - Shopd2

#3721


กระแสความสนใจของประชาชน วันนี้ กรณีการแจกเงินเยียวยา ให้แก่ประชาชนแรงงานผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด ที่ประกาศ ล็อกดาวน์ โดยประกันสังคม เปิดลงทะเบียนผ่าน www.sso.go.th สำหรับผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 (ม.33) , มาตรา 39 (ม.39) และมาตรา 40 (ม.40) ดังนี้


ผู้ประกันตนมาตรา 33 ใน 9 ประเภทกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ คลิกตรวจสอบสิทธิ์

แรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงมีมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการ "ล็อกดาวน์หวยออนไลน์" ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา เพิ่มเติม จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา ครอบคลุม 9 ประเภทกิจการ นั้น ได้แก่ กิจการก่อสร้าง กิจการที่พักแรมบริการด้านอาหาร กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ และสาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร นั้น

สำหรับความคืบหน้าการเยียวยากลุ่มนายจ้างมาตรา 33 จำนวน 3,000 บาท ต่อลูกจ้างไม่เกิน 200 คน นั้น ขณะนี้มีนายจ้างได้ทยอยยื่นขอรับเงินชดเชยเข้ามาในระบบ e -service โดยในพื้นที่ 13 จังหวัดนั้นมีนายจ้างทั้งหมดประมาณ 180,000 ราย

ทั้งนี้ รมว.แรงงาน ยังได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคม เร่งประชาสัมพันธ์กระตุ้นเตือนไปยังนายจ้างที่ยังไม่ได้ยื่นขอรับค่าชดเชยเยียวยาสามารถยื่นความประสงค์ขอรับเงินได้ที่ ระบบ e – service ของประกันสังคม จากนั้นปริ้นข้อมูลแบบรับการเยียวยาแล้วกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม ส่งกลับมาให้ประกันสังคมโดยถ้าเป็นนายจ้างที่เป็นนิติบุคคลต้องแนบเลขบัญชีธนาคารกลับมาด้วย แต่ถ้าเป็นนายจ้างบุคคลธรรมดาให้นายจ้างผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนเพื่อประกันสังคมจะได้โอนเงินให้โดยเร็ว


ผู้ประกันตนมาตรา 39 และผู้ประกันตนมาตรา 40 คลิกตรวจสอบสิทธิ์


เช้าวันนี้ ดร.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล ย้ำว่าผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ตรวจสิทธิรับเงินเยียวยาได้แล้ว ประกันสังคม เปิดให้ ผู้ประกันตน มาตรา 39 และ มาตรา 40 (29 จังหวัดแดงเข้ม 9 กลุ่มกิจการ) ตรวจสอบสิทธิ รับเงินเยียวยา รายละ 5,000 บาท ได้แล้ว คลิกตรวจสอบสิทธิ์


ทั้งนี้ การสมัครมาตรา 40 ไม่เกี่ยวข้องกับสิทธิรักษาพยาบาลร่วมกับบัตรทอง (สปสช.) รวมทั้งสิทธิประโยชน์สวัสดิการแห่งรัฐต่างๆ แต่อย่างใด และสิทธิที่เคยได้รับยังเหมือนเดิม และมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย หรือสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิตจากสำนักงานประกันสังคมเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย ส่วนสิทธิประโยชน์ของมาตรา 40 แต่ละทางเลือกขึ้นอยู่กับทางเลือกที่ผู้ประกันตนสมัคร

กระทรวงแรงงาน ย้ำยื่นก่อนได้ก่อน รับเงินเยียวยานายจ้าง ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ
นายจ้างที่อยู่ในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม และอยู่ใน 9 ประเภทกิจการที่ถูกควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
จะได้รับเงินเยียวยา 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน (สูงสุดไม่เกิน 200 คน) สำนักงานประกันสังคมจะเริ่มโอนเงินเข้าบัญชี ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2564 นี้ เป็นต้นไป

ที่มา - สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
#3722


วันที่ 12 ส.ค.64 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ติดตามตัวเลขการลงทุนของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ซึ่งเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการพยุงเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนต่อไป โดยเฉพาะของรัฐวิสาหกิจที่จะต้องเป็นหลักในเวลานี้ เนื่องด้วยภาคเอกชนอาจมีการชะลอการลงทุนเหตุจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้รายงานว่า ช่วงหกเดือนแรกของปี 2564 เกิดเม็ดเงินจากการลงทุนในธุรกิจพลังงานแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท ผ่านโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานต่าง ๆ ภายใต้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่กำกับดูแลประกอบไปด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัทอื่น ๆ ในเครือ การลงทุนที่สำคัญ อาทิ โครงการสถานีรับจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งใหม่ จ.ระยอง โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เส้นที่ 5 และโครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าทั่วประเทศ ทั้งนี้ ตั้งเป้าการลงทุนของธุรกิจพลังงานของทั้งปี 2564 ไว้ที่ 2 แสนล้านบาท

สำหรับการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 43 แห่ง ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) นางสาวรัชดา กล่าวว่า สคร. ได้รายงานการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม ของปีงบประมาณ 2564 ณ สิ้นเดือน มิ.ย. ในภาพรวมเป็นไปตามแผนหรือสูงกว่าแผน โดยสามารถเบิกจ่ายได้ 1.91 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 101 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม โครงการขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายได้สูงกว่าแผน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ของ รฟท. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ของ รฟม.
 
"ท่านนายกฯ ให้ความสำคัญกับการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และเข้าใจดีว่าสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อหลายโครงการ/แผนงาน เนื่องจากบุคลากรไม่สามารถเข้าพื้นที่ที่อยู่ในเขตควบคุมเข้มข้นสูงสุดเพื่อก่อสร้างหรือตรวจรับงานได้ รวมทั้งปัญหาขาดแคลนแรงงาน จึงได้สั่งการให้ส่วนราชการทุกกระทรวงทำงานร่วมกับรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยผลักดันโครงการลงทุนให้ดำเนินการได้ตามเป้าหมาย นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจประเทศต่อไป" นางสาวรัชดา กล่าว


ที่มา รัฐบาลไทย
#3723


นางสาวโรจนา สังข์ทอง ผู้อำนวยการองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า "จุดประสงค์ของการเปิดตัวโฆษณารณรงค์ดังกล่าว เนื่องมาจากทุกวันนี้ในประเทศไทยมีช้างราวๆ 2,800 ตัวที่ถูกใช้ในกิจกรรมเพื่อความบันเทิง แต่เบื้องหลังที่นักท่องอาจไม่เคยรู้ คือ การพรากลูกช้างจากแม่ เพื่อนำมาฝึกตั้งแต่ยังเด็ก โดยช้างจะถูกบังคับ กักขัง ถูกขอสับซ้ำๆ ทั้งล่ามโช่ ทำร้าย ใช้งานหนัก เพื่อให้หวาดกลัวมนุษย์และเชื่องพอที่จะแสดงกิจกรรมที่ผิดธรรมชาติ การที่นักท่องเที่ยวร่วมชื่นชมการแสดงของช้างแสนรู้เป็นการสนับสนุนให้ช้างต้องถูกทรมานทางอ้อมโดยที่เราไม่รู้ตัว"

"องค์กรฯ มีเป้าหมายที่อยากเห็นช้างเลี้ยงรุ่นที่มีอยู่ในปัจจุบันได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด และไม่มีการผสมพันธุ์เชิงพาณิชย์อีก อยากเห็นช้างที่เป็นสัตว์ป่า ได้รับการปกป้องในถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของพวกเขา ถ้าคุณรักช้าง ทุกคนต้องช่วยกันปกป้องพวกเขาให้ได้ใช้ชีวิตตามธรรมชาติ แต่หากอยากเที่ยวอยากชมช้างจริงๆ แนะนำให้ศึกษาช้างในแหล่งธรรมชาติอย่างอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือปางช้างที่เป็นมิตรต่อช้างซึ่งมีมาตรฐานด้านสวัสดิภาพสูง""

โฆษณารณรงค์ชุดนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นเสียงสะท้อนสำหรับช้างเท่านั้น แต่ต้องการสร้างความตระหนักให้กับคนดูเห็นว่า เบื้องหลังของการแสดงช้างที่ดูน่ารักน่าเอ็นดู จริงๆ แล้วคือช้างเหล่านี้ต้องผ่านการฝึกอย่างหนักและทารุณเพื่อยุติสัญชาตญาณของสัตว์ป่าเพื่อให้ช้างเชื่องและหวาดกลัวพอที่จะออกแสดงโชว์ได้ และถ้าหากเรายังไม่หยุดสนับสนุนกิจกรรมมีเบื้องหลังโหดร้าย วงจรแห่งความทารุณนี้ก็จะสร้างความบอบช้ำไม่รู้จบ เพียงเพื่อแลกกับความบันเทิงชั่วคราวของนักท่องเที่ยว



นายฉัตรณรงค์ เมืองวงษ์ ผู้จัดการแคมเปญสัตว์ป่า องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย เปิดเผยว่า "ช้างเป็นสัตว์ป่า สมควรได้อยู่ในป่า ผลสำรวจของเราพบว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวในไทยเริ่มรับไม่ได้กับกิจกรรมที่เป็นการทำร้ายสัตว์มากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 ยิ่งทำให้เห็นว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไม่สามารถเป็นที่พึ่งของช้างนี้ได้ เห็นได้จากข่าวเกี่ยวกับช้างตกงาน ถูกปล่อยกลับบ้าน และอดอยากมากมาย"

"เมื่อวิกฤติจากโควิด-19 บรรเทาลงแล้ว เรามองว่านี่เป็นโอกาสดีที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะหันมาปรับปรุงสวัสดิภาพช้างให้ดีขึ้น ให้สอดคล้องกับเทรนด์การท่องเที่ยวที่มุ่งไปสู่การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบมากขึ้นเรื่อยๆ ภาครัฐเองก็ควรจริงจังกับเรื่องนี้มากขึ้นเช่นกัน ผ่านการออกกฎหมายและนโยบายที่ปกป้องสัตว์ป่าอย่างเป็นระบบ ถ้าทำได้จริง จะกลายเป็นตัวอย่างที่ดีในสังคมโลกและนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทย"

ทั้งนี้ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา องค์กรพิทักษ์สัตวแห่งโลก พร้อมภาคีเครือข่าย นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ ได้ร่วมผลักดันร่างพระราชบัญญัติปกป้องและคุ้มครองช้างไทย พ.ศ.... ซึ่งเป็นร่างกฎหมายฉบับแรกที่จะปกป้องช้างจากการทารุณกรรมช้างในทุกรูปแบบ ซึ่งครอบคลุมประเด็นสำคัญอย่างการยุติผสมพันธุ์ช้างเชิงพาณิชย์ ยกระดับการจัดสวัสดิภาพช้าง ยุติการใช้กระบวนการฝึกช้างที่โหดร้ายทารุณ และไม่บังคับช้างให้แสดงพฤติกรรมที่ผิดธรรมชาติ เป็นต้น
#3724


นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเยว่า ในวันที่  13 ส.ค.นี้จะหารือกับผู้ประกอบการล้งลำไยในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อหารือและวางมาตรการรับมือ ถึงกรณีที่ จีนทำหนังสือให้แจ้งระงับล้งรวบรวมลำไยที่ตรวจพบเพลี้ยแป้ง ปนเปื้อนเกินกว่าข้อตกลงในพิธีการ ที่กำหนดการสุ่มตรวจที่ 3 %

โดยทางจีนได้แจ้งอย่างเป็นทางการถึงสถิติการส่งออกลำไย ตั้งแต่ปี 63 ถึงปัจจุบันพบว่าการสุ่มตรวจพบเพลี้ยแป้งปนเปื้อนลำไยของล้ง 60 แห่ง โดยขอให้กรมวิชาการเกษตรระงับไม่ให้ล้งเหล่านี้ส่งออกลำไยไปจีนตั้งแต่วันที่  14 ส.ค.นี้เป็นต้นไป

อย่างไรก็ตามการเนื่องจากปัจจุบันอยู่ลำไยอยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวและเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก หรือช่วงพีคของปี ดังนั้นการสั่งระงับ จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมได้ ดังนั้นกรมวิชาการเกษตรจึงเจรจากับจีนผ่านระบบออนไลน์เพื่อผ่อนปรนมาตรการ โดยไทย จะเพิ่มความเข้มงวดการสุ่มตรวจของล้ง66 แห่งจาก 3 % เป็น 5-10 %  ซึ่งฝ่ายจีนไม่ยินยอม


ดังนั้นในวันที่ 13 ส.ค.นี้จึงจะหารือกับผู้ประกอบการล้งในเขตภาคเหนือก่อน คือจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน  37 แห่ง เพื่อวางมาตรการร่วมกัน   ซึ่งกรมวิชาการเกษตรจะต่อรอง ขอให้จีนอนุญาตเฉพาะล้งที่มีการตรวจพบการปนเปื้อนน้อย ส่งไปก่อน โดยกรมวิชาการเกษตรจะเพิ่มความเข้มงวดการตรวจสอบให้มากขึ้น  ซึ่งในจ.เชียงใหม่ แยกเป็นล้งที่พบการปนเปื้อนมาก 10 แห่ง ที่เหลือ27 แห่งปนเปื้อนน้อย ส่วนล้งที่อยู่จ.จันทบุรี ปัจจุบันยังไม่เก็บเกี่ยวผลผลิต จึงสามารถบริหารจัดการได้

เมื่อได้ข้อสรุปที่ชัดเจน กรมวิชาการเกษตรจะเสนอให้จีนพิจารณาต่อไป แต่ทั้งนี้ ทั้งล้ง เกษตรกร ในห่วงโซ่ลำไยทั้งหมดต้องให้ความร่วมมือ คัดแยกลำไยอย่างมีคุณภาพ  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในภาพรวม 


นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  กล่าวว่า ได้ทราบเรื่องที่จีนห้ามนำเข้าลำไยจากไทยเนื่องจากพบเพลียแป้ง จึงได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(ทูตพาณิชย์)ประสานทูตเกษตรให้เจรจากับทางการจีนผ่อนผันการบังคับใช้ไปก่อน เนื่องจากเป็นการดำเนินการอย่างกระทันหัน


อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าหากการเจรจาไม่ได้ผลจะกระทบกับการส่งออกลำไยเพราะ การส่งออกลำไยไปจีนมีสัดส่วนถึง 70-80% ดังนั้น กรมได้เร่งปรับแผนการส่งออกผลไม้ ล่าสุดเตรียมจัดเจรจาการค้าออนไลน์กับเวียดนาม เพื่อหาตลาดทดแทนการส่งออกไปจีน นอกจากนี้ มีแผนจะจัดอินสโตร์โปรโมชั่น ที่กัมพูชา และอินเดีย

"ได้รับแจ้งว่าจีนจะมีการระงับการนำเข้าลำไยจากไทยเมื่อ 2 วันก่อน และได้สั่งการให้มีการเจรจากับทางการจีนก่อนเพื่อให้ผ่อนผัน และเพื่อไม่ให้มีผลต่อการส่งออกจึงปรับแผนส่งเสริมการส่งออกด้วยการหาตลาดในอาเซียนที่มีศักยภาพมารองรับเพิ่มแล้ว"
#3725


สหราชอาณาจักรไม่พบเคสใหม่ของภาวะลิ่มเลือดอุดตันรุนแรงหลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ตามหลังประเทศแห่งนี้ตัดสินใจงดฉีดให้กับคนอายุต่ำกว่า 40 ปี จากการเปิดเผยของบรรดานักวิทยาศาสตร์แห่งราชอาณาจักรในวันพุธ(11ส.ค.)

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำ ถูกระบุว่าเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นน้อยมากๆของวัคซีนโควิด-19 ชนิดไวรัสเวคเตอร์ ที่ผลิตโดยแอสตร้าเซนเนก้าและจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน แต่ด้วยที่พบผลข้างเคียงลักษณะดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นในหมู่คนหนุ่มสาว ส่งผลให้หลายประเทศออกข้อกำหนดจำกัดอายุผู้ฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า

ผลการศึกษาพบว่าราว 85% ของคนที่เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าในสหราชอาณาจักร เป็นบุคคลที่อายุต่ำกว่า 60 ปี แม้ส่วนใหญ่แล้ววัคซีนยี่ห้อนี้จะฉีดให้คนชราก็ตาม

ในผลการศึกษาพบว่าในบุคคลที่อายุต่ำกว่า 50 ปี อัตราอุบัติการณ์ของภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ 1 ต่อ 50,000 คน เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ก่อนหน้านี้ และพวกผู้เชี่ยวชาญบอกว่าผลการศึกษาล่าสุดเป็นการเสริมความเข้าใจก่อนหน้านี้ว่าผลประโยชน์ของวัคซีนนั้นมีมากกว่าความเสี่ยง

ซู ปาวอร์ด นักโลหิตวิทยาที่ปรึกษาของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ผู้นำการวิจัย ระบุว่าเหตุการณ์นี้มักส่งผลกระทบกับคนหนุ่มสาวที่มีสุขภาพแข็งแรง และมีความอันตรายอย่างยิ่งหากว่ามันก่อเลือดออกในสมอง

อย่างไรก็ตามเธอเน้นว่าเคสผลข้างเคียงอาการดังกล่าวที่พุ่งสูงในระยะแรก เวลานี้ได้ลดน้อยลงไปแล้ว ผลจากการตัดสินใจของสหราชอาณาจักรที่มอบวัคซีนทางเลือกให้แก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปีแทน ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม

"เราไม่เห็นเคสใหม่ของภาวะลิ่มเลือดอุดตันในช่วง 4 สัปดาห์หลังสุด และมันคือความโล่งใจอย่างมหาศาล" เธอบอกกับผู้สื่อข่าว

โดยรวมแล้วอาการนี้มีอัตราการเสียชีวิตราว 23% แต่จะเพิ่มขึ้นเป็น 73% หากเกิดในสมอง หรือที่เรียกว่า ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำสมอง (cerebral venous sinus thrombosis - CVST) แต่วิธีการรักษาต่างๆนานา อย่างเช่นถ่ายพลาสมาเลือด ช่วยเพิ่มอัตรารอดชีวิตสำหรับเคสรุนแรงต่างๆเป็น 90%

พวกนักวิจัยแสดงความหวังว่าผลการศึกษาจะเป็นเครื่องดลใจสำหรับยุทธศาสตร์การฉีดวัคซีน และเน้นย้ำความสำคัญของการเข้าฉีดวัคซีน

ทั้งนี้ผลการวิจัยดังกล่าวเผยแพร่อยู่ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์

(ที่มา:รอยเตอร์)
#3726


รายงานข่าวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระบุว่า หลังจากเปิดโครงการ "ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์" รับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วเดินทางเข้ามาเที่ยวภูเก็ตแบบไม่กักตัว พบว่าในช่วง 40 วันแรก ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.-9 ส.ค.2564 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าร่วมโครงการฯสะสม 18,654 คน ไม่พบผู้ติดเชื้อ 18,602 คน คัดกรองพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 52 คน เฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าโครงการฯวานนี้ (9 ส.ค.) มี 387 คนจากจำนวนเที่ยวบิน 4 เที่ยวบิน ไม่พบผู้ติดเชื้อ

ด้านยอดจองห้องพักโรงแรมที่ได้มาตรฐาน SHA+ พบว่าตลอดไตรมาส 3/2564 มีจำนวน 353,529 คืน แบ่งเป็นเดือน ก.ค. 190,843 คืน เดือน ส.ค. 143,566 คืน และเดือน ก.ย. 19,120 คืน ส่วนยอดการจองในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวหรือไฮซีซั่นตั้งแต่เดือน ต.ค.2564-ก.พ.2565 มีจำนวน 9,797 คืน

ขณะที่เช้าวันนี้ (10 ส.ค.2564) เวลา 11.00 น. สายการบิน "คาเธ่ย์ แปซิฟิค" เริ่มทำการบินเส้นทาง ฮ่องกง-ภูเก็ต ให้บริการไฟลต์ปฐมฤกษ์ เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตวันนี้เป็นวันแรก โดยทำการบินทุกวันอังคาร และวันอาทิตย์ วันละหนึ่งเที่ยวบิน สำหรับไฟลต์ปฐมฤกษ์มีผู้โดยสารเดินทางมาทั้งสิ้น 134 คน มาจากตลาดฮ่องกง 56 คน นอกจากนั้นเป็นผู้โดยสารจากตลาดสหรัฐอเมริกา แคนาดา และจีน
#3727


ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เต็มไปด้วยสีสันและฉากหลังที่เหมือนอยู่ในดินแดนแห่งความฝันทำให้"เกาะบาหลี"ดึงดูดความสนใจเหล่าผู้ผลิตภาพยนต์จากต่างประเทศให้ไปปักหลักถ่ายทำภาพยนต์ที่นั่นมานับไม่ถ้วน

ตั้งแต่ภาพยนต์เรื่อง "Legong, Dance of the Virgins"ภาพยนตร์เงียบแนวดรามาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว สร้างเมื่อปี 2478 ภาพยนต์เรื่อง "Baraka" ภาพยนต์สารคดีแนวคัลท์ สร้างเมื่อปี 2535 ,ภาพยนต์เรื่อง"The Endless Summer II" สร้างปี 2537 และภาพยนต์ที่ดัดแปลงจากหนังสือบันทึกความจำที่ขายดีที่สุด "Eat, Pray, Love" มีจูเลีย โรเบิร์ตส นักแสดงชื่อดังของฮอลลีวู้ดนำแสดง

นอกจากถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนต์มาช้านาน บาหลียังเป็นโลเคชันสุดปรารถนาในการถ่ายทำขนาดเล็กกว่าการถ่ายทำภาพยนต์อย่างโฆษณาทางทีวีมากมายหลายชิ้น และตอนนี้ กลุ่มนักลงทุนต่างชาติและท้องถิ่นต้องการเป็นสะพานอุดรอยโหว่ระหว่างสตูดิโอผลิตภาพยนต์ระดับโลกของฮอลลีวู้ดและเหล่าครีเอทีฟชาวอินโดนีเซียด้วยการสร้างสตูดิโอผลิตภาพยนต์บนเกาะแห่งนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติของอินโดนีเซีย ระบุว่า "ยูไนเต็ด มีเดีย เอเชีย แอนด์ ครีเอทีฟ อาร์ทิส เอเจนซี" (ยูเอ็มเอ)ในสหรัฐ ได้เปิดเผยโครงการนี้ที่เทศกาลภาพยนต์เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเดือนที่แล้ว โดยมองเห็นถึงโอกาสทางเศรษฐกิจของเกาะบาหลีที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลักแม้ว่าเศรษฐกิจบนเกาะแห่งนี้จะหดตัวโดยเฉลี่ยปีละ 9.3%

"ภายใต้แผนการผลิตภาพยนต์นี้ ยูเอ็มเอจะว่าจ้างพนักงานในท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจบนเกาะบาหลี ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโรคโควิด-19 บาหลีเป็นโลเคชันในอุดมคติในการสร้างภาพยนต์"มิสซี เทวี โฆษกยูเอ็มเอ ระบุ

ดูเหมือนแผนการนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐบาลอินโดนีเซีย โดย"แซนดิอากา อูโน" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของอินโดนีเซีย กล่าวว่า รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เห็นความพยายามของยูเอ็มเอที่จะสร้างและบ่มเพาะบาหลีให้เป็นศูนย์กลางการผลิตเนื้อหาระดับโลก

ยูเอ็มเอ ถูกก่อตั้งเมื่อปี 2561 โดย"Michy Gustavia"นักแสดงหญิงและโปรดิวเซอร์ชาวอินโดนีเซีย พร้อมการสนับสนุนด้านเงินทุน 20 ล้านดอลลาร์จากกลุ่มบริษัทสื่อคอมพาส กรามีเดีย (Kompas Gramedia)โดยเน้นผลิตเนื้อหาให้แก่ผู้ชมในท้องถิ่น 270 ล้านคนในภาษาอินโดนีเซีย โดยอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรมากสุดอันดับ4ของโลก มีอายุผู้ชมโดยเฉลี่ยแค่ 29.7 ปีเทียบกับสหรัฐที่มีอายุผู้ชมโดยเฉลี่ย 38.1 ปี

หนังสือพิมพ์จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่าช่วง5ปีที่ผ่านมา บ็อกซ์ ออฟฟิศในอินโดนีเซียขยายตัวปีละ 7% และชาวอินโดนีเซียเป็นผู้บริโภคที่ชื่นชอบการดูภาพยนต์ออน-ดีมานด์ผ่านแพลทฟอร์มต่างๆ อาทิ เน็ตฟลิกซ์ โดยคาดว่าจะมีชาวอินโดนีเซียเข้าไปใช้บริการในแพลทฟอร์มนี้มากถึง 18% หรือ 50 ล้านคนภายในปี 2568

"ตลาดบันเทิงของอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในตลาดที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุดในโลก ถ้าไม่นับจีนและยูเอ็มเอได้วางกลยุทธ์ รวมทั้งเพิ่มการลงทุนเพื่อผลิตเนื้อหาสำหรับผู้บริโภคในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น"เทวี ระบุ

แต่มีคำถามว่า บาหลี ที่ปัจจุบันยังคงมีปัญหาไฟฟ้าดับๆติดๆและน้ำท่วมฉับพลันในบางพื้นที่จะทำหน้าที่ศูนย์กลางการผลิตภาพยนต์ในระดับภูมิภาคได้หรือเมื่อเทียบกับโกลด์ โคสต์ของออสเตรเลีย หรือกรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ ซึ่ง"แอนดรี ดานันจายา"จากโคเปอร์นิก เอ็นจีโอ ซึ่งทำโปรเจคมากมายเกี่ยวกับการผลิตภาพยนต์สารคดีประเด็นสิทธิมนุษยชนเชื่อมั่นว่าบาหลีทำได้

"ตั้งแต่ดีไซเนอร์ด้านเสียงและด้านเสื้อผ้าไปจนถึงช่างภาพถ่ายทำภาพยนต์ ในบาหลีมีผู้มีความสามารถในด้านต่างๆเหล่านี้หลายพันคน หากสตูดิโอต้องการผลิตภาพยนต์ที่มีเนื้อหาต่างประเทศ สามารถเริ่มได้ทันที แม้สตูดิโอจะมีข้อจำกัด แต่ด้วยความที่บาหลีมีทัศนียภาพที่หลากหลาย โปรดิวเซอร์จึงสามารถเลือกที่จะถ่ายทำในโลเคชันที่เหมาะสมได้มากกว่าถ่ายทำในสตูดิโอ"ดานันจายา กล่าว

ดานันจายา กล่าวด้วยว่า ในสตูดิโอผลิตภาพยนต์ทุกแห่งต้องติดตั้งระบบสำรองไฟฟ้าไว้ เพราะฉะนั้นการจ่ายกระแสไฟฟ้าบนเกาะจึงไม่ใช่ปัญหา

ขณะที่"ลาโคทา มอยรา"บริษัทผลิตภาพยนต์สัญชาติสหรัฐที่มีฐานดำเนินงานอยู่บนเกาะบาหลี และเป็นผู้ผลิตภาพยนต์เรื่อง

"Pulau Plastik,"หรือ Rubbish Island สารคดีความยาวเท่าภาพยนต์ที่ตีแผ่ปัญหามลภาวะขากขยะในอินโดนีเซีย มีความเห็นต่อเรื่องนี้คล้ายๆกัน

"บนเกาะนี้มีคนมีความรู้ความสามารถมากมาย หากมีแพลทฟอร์มที่ช่วยกระจายผลงานไปยังกลุ่มผู้ฟังที่กว้างขวางขึ้นจะช่วยเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจแก่เกาะแห่งนี้มากขึ้น"มอยรา กล่าว

ด้านโอมริ เบน-คานาอัน ชาวฝรั่งเศสจากบาหลีพร็อด โพรดักชั่นเฮาส์ที่ผลิตโฆษณาทางทีวีและเสนอการบริการสำหรับผู้ผลิตสารคดีในราคาตายตัวบนเกาะบาหลี บอกว่า กำลังคิดที่จะเปิดสตูดิโอผลิตภาพยนต์บนเกาะแห่งนี้

"ตั้งแต่เราเริ่มทำธุรกิจเมื่อ5ปีที่แล้ว ก็เจอคำถามมากมายว่าทำไมไม่เปิดสตูดิโอผลิตภาพยนต์ จนเวลาล่วงเลยมาถึงตอนนี้ ผมก็ยังคิดว่าอินโดนีเซียมีความพร้อมและเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นแหล่งผลิตภาพยนต์" เบน-คานาอัน กล่าว
#3728


อาร์เดิร์น ได้รับการชื่นชมจากประชาคมโลกในฐานะที่ประสบความสำเร็จในการใช้กลยุทธต่างๆควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศอย่างได้ผล ซึ่งรวมถึงการการล็อกดาวน์และปิดพรมแดนระหว่างประเทศตั้งแต่เดือนมี.ค.ปี 2563 แต่กลยุทธดังกล่าวเริ่มมีปัญหาเพราะเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ต้องพึ่งพาแรงงานอพยพอย่างมาก เมื่อไม่มีแรงงานต่างชาติ ทำให้ต้นทุนในการผลิตในภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้นและผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมตกต่ำลง

ปัญหาขาดแคลนแรงงานในนิวซีแลนด์เกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมทั้ง อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม พืชสวน ที่อยู่อาศัย การบริการ สุขภาพ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกัับสาธารณ ทำให้มีเสียงเรียกร้องจากผู้ประกอบการในทุกภาคอุตสาหกรรมขอให้รัฐบาลเปิดพรมแดนระหว่างประเทศอีกครั้ง

แรงกดดันเกี่ยวกับเรื่องนี้รุนแรงขึ้นเมื่อวันจันทร์(9ส.ค.)เมื่อพยาบาลผดุงครรภ์ประมาณ 1,500 คนผละงานประท้วงโดยให้เหตุผลว่าทำงานหนักเกินไปเพราะปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านนี้ ขณะที่พยาบาลจำนวนกว่า 30,000 คนชุมนุมประท้วงเป็นครั้งที่2ในเดือนนี้นับตั้งแต่เดือนมิ.ย.เป็นต้นมา เพื่อเรียกร้องให้ทางการปรับขึ้นเงินเดือนและปรับปรุงสวัสดิการให้ดีขึ้น

"เราพึ่งพาพยาบาลที่มีคุณสมบัติจากต่างประเทศเพื่อเข้ามาช่วยเติมเต็มปัญหาขาดแคลนพยาบาลแต่ถ้าพรมแดนประเทศของเรายังคงปิดอยู่ เราก็ไม่สามารถรับสมัครพยาบาลจากต่างประเทศได้ เกลนดา อเล็กแซนเดอร์ ผู้จัดการแผนกการบริการด้านอุตสาหกรรมขององค์การพยาบาลแห่งนิวซีแลนด์ กล่าว

อเล็กแซนเดอร์ กล่าวเสริมว่า ชาวนิวซีแลนด์ไม่นิยมมาเป็นพยาบาลเพราะเห็นว่าเป็นงานหนักและได้ค่าเหนื่อยน้อย ประกอบกับวิตกกังวลว่าจะทำงานได้ไม่ดีหรือผิดพลาดจนส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย


เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา รัฐบาลนิวซีแลนด์ยกเลิกข้อจำกัดต่าง ๆ เกือบทั้งหมดที่เคยประกาศใช้เพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 หลังจากไม่พบผู้ป่วยโรคนี้ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ ส่งผลให้ชาวนิวซีแลนด์ไม่ต้องทำตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม และสามารถออกไปรวมตัวกันในที่สาธารณะได้โดยไม่มีข้อจำกัด แต่นิวซีแลนด์ก็ยังไม่เปิดด่านพรมแดนสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ

นิวซีแลนด์กำหนดให้ชาวนิวซีแลนด์ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศต้องกักตัวหรือเข้ารับการควบคุมโรคเป็นเวลา 14 วัน

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อาร์เดิร์น เปิดรับแรงงานตามฤดูกาลจากซามัว ทองกา และวานูอาตู ซึ่งประเทศเหล่านี้ไม่มีผู้ป่วยโรคโควิด-19 เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมด้านการเกษตร

ขณะที่ทางการนิว ซีแลนด์ระบุว่ามีผู้ป่วยโรคโควิด-19สะสมประมาณ 2,500 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดนี้จำนวน 26 ราย ถือเป็นตัวเลขต่ำที่สุดในโลก

ปัญหาขาดแคลนแรงงานในนิวซีแลนด์กำลังเพิ่มต้นทุนทางธุรกิจแก่บรรดาผู้ประกอบการ เพราะต้องจ่ายค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นแรงจูงใจให้พนักงานทำงานกับบริษัทต่อไป ขณะที่อัตราเงินเฟ้อรายปีของประเทศเพิ่มขึ้นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสสอง อยู่ที่ 3.3% สูงกว่าที่ธนาคารกลางของนิวซีแลนด์คาดการณ์ไว้

บรรดานักเศรษฐศาสตร์ คาดการณ์ว่าแรงกดดันจากปัญหาขาดแคลนแรงงานจะบังคับให้ธนาคารกลางแห่งนิวซีแลนด์(อาร์บีเอ็นซี)ดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดในสัปดาห์หน้าเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศร้อนแรงเกินไป

อย่างไรก็ตาม ข้อกังวลหลักของอาร์เดิร์นและบรรดาผู้กำหนดนโยบายคือการระบาดของโรคโควิด-19สายพันธุ์เดลตา ซึ่งขณะนี้กำลังสร้างปัญหาให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างออสเตรเลียและประเทศอื่นๆทั่วโลก

การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาทั่วออสเตรเลีย ทำให้เมื่อเดือนที่แล้ว อาร์เดิร์นตัดสินใจระงับโครงการ"ทราเวล บับเบิล"ที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เดินทางไปมาระหว่างกันได้โดยไม่ต้องกักตัว

บรรดาผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าหากพบการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาในนิวซีแลนด์จะส่งผลให้มีการล็อกดาวน์ยาวนานขึ้น เพราะขณะนี้ประชาชนในนิวซีแลนด์ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วเพียง 21% เท่านั้น

"สายพันธุ์เดลตามีอันตรายกว่าโควิด-19สายพันธุ์อื่นๆ และโควิด-19สายพันธุ์นี้จะเปลี่ยนแปลงการคำนวณหรือประเมินความเสี่ยงในชีวิตของประชาชนทุกคนอย่างสิ้นเชิง"อาร์เดิร์น กล่าว
#3729


จากคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างของศาลปกครองกลาง กรณีโครงการ "แอชตัน อโศก" ของ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กลายเป็นประเด็นร้อนมาอย่างต่อเนื่อง เพราะส่งผลกระทบกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ "ลูกบ้าน" จำนวน 578 ครอบครัว

ทันทีที่มีคำพิพากษาศาลออกมา วันศุกร์ที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา "ชานนท์ เรืองกฤตยา "ซีอีโอ อนันดา อัดคลิปวีดีโอ ชี้แจงลูกบ้าน หวังลดกระแสและความกังวลใจที่เกิดขึ้น จากนั้นวันจันทร์ที่ 2 ส.ค. บริษัทได้ออกมาชี้แจงอย่างเป็นทางการถึง "แนวทางการแก้ปัญหา" พร้อมยืนยันจะอยู่เคียงข้างลูกบ้าน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แม้โครงการขายเกือบหมด มียอดโอนแล้ว 87% คิดเป็นมูลค่า 5,639 ล้านบาท จากมูลค่าโครงการรวม 6,481 ล้านบาท โดยมี 578 ครอบครัว 666 ยูนิตที่ย้ายเข้าอยู่แล้ว ในจำนวนนี้ 438 ครอบครัว เป็นลูกค้าคนไทย และ 140 ครอบครัวเป็นชาวต่างชาติ

โดยผู้บริหาร อนันดาฯ ระบุว่า จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาคดีเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างต่อศาลปกครองสูงสุดภายใน 30 วัน และคาดว่ากระบวนการทางศาลจะใช้เวลา 3-5 ปี

จากนั้นเมื่อวันศุกร์ที่ 6 ส.ค. ตัวแทนท่านเจ้าของร่วมและผู้พักอาศัย แอชตัน อโศก ได้ส่งจดหมายถึงสื่อมวลชนเพื่อเข้ารับฟังผลกระทบที่ลูกบ้านได้รับจากคำสั่งศาลปกครองกลาง ในวันอังคารที่ 10 ส.ค.นี้ ผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊คแฟนเพจ "ลูกบ้านแอชตันอโศกที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาลปกครองกลาง" ตั้งแต่เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป โดยระบุด้วยว่า "ถึงแม้กระบวนการทางกฎหมายจะยังไม่สิ้นสุด แต่บัดนี้ทางลูกบ้านได้รับผลกระทบต่างๆ แล้ว"

นับเป็นการเปิดใจครั้งแรกของกลุ่มตัวแทนลูกบ้าน แอชตัน อโศก ที่กำลังเผชิญชะตากรรมและผลกระทบครั้งใหญ่

อย่างไรก็ตาม วานนี้ (9 ส.ค.) อนันดาฯ ได้ส่งจดหมายผ่านสื่อมวลชน แจ้งความคืบหน้าการดำเนินงาน ว่า อนันดาฯ ในนามผู้บริหารโครงการ แอชตัน อโศกได้มีการประชุมหารือกับเจ้าของร่วมในการสร้างความเข้าใจและร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหาจากเหตุการณ์ดังกล่าว

โดยในขั้นแรก เจ้าของร่วมได้ "จัดตั้งทีมกฎหมายและคณะทำงาน" ขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อทำงานกับบริษัทฯ ในการร่วมกันหาแนวทางในการเรียกคืนความยุติธรรม ให้กับโครงการแอชตัน อโศก

พร้อมระบุว่าบริษัทรับทราบถึงความเดือดร้อนของเจ้าของร่วมในด้านสินเชื่อ ซึ่งมีจำนวน 348 ครอบครัวที่ใช้สินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก 9 สถาบันการเงิน มีมูลค่ารวมเกือบ 3,000 ล้านบาท บริษัทฯ จึงได้มีการหารือกับธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อดังกล่าว เพื่อเร่งออกมาตรการช่วยเหลือเจ้าของร่วมทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยมี 9 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารยูโอบี ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสิน โดยมาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกค้าที่จะทำการ Retention จะมีการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยพิเศษ

พร้อมย้ำว่า บริษัทในฐานะผู้บริหารโครงการ แอชตัน อโศก จะดำเนินการตามกฎหมายร่วมกันกับเจ้าของร่วมอย่างเต็มที่ เพื่อประโยชน์แก่ลูกค้าและเจ้าของร่วมและจะแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ให้ทราบอย่างใกล้ชิดต่อไป และเจ้าของร่วมสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดที่เจ้าหน้าที่โครงการ

อย่างไรก็ดี หนึ่งในลูกบ้านโครงการ "แอชตัน อโศก" กล่าวว่า ระหว่างที่รอกระบวนการทางศาล ลูกบ้านยังไม่ได้ข้อสรุปกันว่าต้องทำอย่างไร ให้รอไปอย่างนี้หรือ? เพราะยังต้องมีเรื่องของไฟแนนซ์ด้วย เพราะหากซื้อตอนนี้ธนาคารคงไม่ปล่อยสินเชื่อ (ปล่อยกู้) ให้ หรือแม้กระทั่งจะรีไฟแนนซ์ก็น่าจะไม่ได้แล้ว นอกจากนี้ ห้องที่ซื้อมาจะขายในราคาที่ซื้อมายังไม่ได้เลย ไม่มีคนกล้าซื้อ สิ่งเหล่านี้คือผลกระทบที่ลูกบ้านแอชตัน อโศกได้รับจากคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างของศาลปกครองกลาง

"จุดประสงค์ที่ลูกบ้านต้องออกมาชี้แจงผ่านสื่อเพื่อต้องการบอกเล่าถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับลูกบ้านในโครงการแอชตัน อโศก มันคืออะไร และเราเป็นผู้ที่เดือนร้อนตัวจริง เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบว่า มีปัญหาจริงๆ ไม่ใช่เป็นข่าวแค่ช่วงเวลาหนึ่งเงียบหายไป สุดท้ายลูกบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดจะไม่ได้รับการช่วยเหลือหรือเยียวยา"

โดยวันนี้ (10 ส.ค.) จะมีตัวแทนลูกบ้าน 3-4 คนออกมาพูดคุยกับสื่อ ในช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/saveourhomeashtonasoke/ เพื่อฉายภาพผลกระทบที่ได้รับในทิศทางเดียวกัน แทนที่จะต่างคนต่างพูด ส่วนของการอัพเดทข้อมูลของอนันดาฯ กับทางลูกบ้าน ยังมีบางส่วนที่ยังไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนกับทางลูกบ้านในหลายๆ เรื่อง

"ตอนนี้ลูกบ้านจ่ายเงินไปแล้ว คิดดูแล้วกันว่าอยู่ดีๆ คอนโดที่ซื้อจะถูกทุบหรือไม่ก็ยังไม่รู้ เพราะว่าผิดกฎหมาย แบบนี้จะรู้สึกเชื่อมั่นได้อย่างไร บางคนที่ผ่อนอยู่ไม่อยากอยู่ แล้วก็ขายไม่ได้ เพราะไม่มีใครกล้าคนซื้อโครงการที่มีปัญหา ทางเข้าออก หากกรณีที่วันหนึ่งไม่สามารถเข้าใช้พื้นที่ได้จากคำสั่งศาล ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร"
#3730


โฆษกรัฐบาล เผย ครม.ปรับโครงการเยียวยา ม.33 เพิ่มกรอบวงเงินจำนวนทั้งสิ้น 17,050 ล้านบาท ครอบคลุม 29 จังหวัดแดงเข้ม อนุมัติวงเงิน 33,471 ล้านบาท เยียวยาผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม

วันนี้ (10 ส.ค.) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สำนักงานประกันสังคม ปรับปรุงรายละเอียดสาระสำคัญของโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้

(1) เปลี่ยนชื่อโครงการ เป็น โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จากเดิม โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดและพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง

(2) ขยายพื้นที่ดำเนินการจาก 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด โดยเพิ่มเติม 16 จังหวัด (กาญจนบุรี ตาก นครนายก นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง)

(3) กรอบวงเงินโครงการ จากเดิม 15,027.6860 ล้านบาท เป็น 17,050.4145 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2,022.7285 ล้านบาท
(4) ขยายระยะเวลาให้นายจ้างในพื้นที่ 3 จังหวัด (ข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 28) และ 16 จังหวัด (ข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 30) สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมรายใหม่ได้ โดยสำนักงานประกันสังคมจะตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2564 นี้

นายอนุชา ยังเปิดเผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้เห็นชอบกรอบวงเงิน 33,471.0050 ล้านบาท เยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่ 29 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐตามข้อกำหนดฯ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยช่วยเหลือค่าครองชีพคนละ 5,000 บาท รวมทั้งสิ้น 6,694,201 คน โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

1. พื้นที่ดำเนินการ 29 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ระยอง ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี ตาก อ่างทอง นครนายก สมุทรสงคราม และสิงห์บุรี

2. กลุ่มเป้าหมายรวมประมาณ 6,694,201 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จำนวน 1,436,171 คน และมาตรา 40 จำนวน 5,258,030 คน

3. คุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่มีสัญชาติไทย สถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะ A (Active) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด) หรือ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 16 จังหวัด) กรณีเป็นผู้สมัครเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะรอชำระเงิน W (Wait) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ทั้งนี้ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ต้องไม่เป็นข้าราชการหรือผู้รับบำนาญของกรมบัญชีกลาง

4. วิธีการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 จะโอนเงินให้กับผู้ประกันตนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) เฉพาะที่ผูกบัญชีกับเลขประจำตัวประชาชน

โฆษกรัฐบาลยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ครม.ยังให้กระทรวงแรงงาน เร่งตรวจสอบยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือตามเป้าหมายเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน รวมทั้งขอให้โอนเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนตาม ม.39 และ ม.40 ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดใน 10 จังหวัด ก่อนระยะเวลาที่กำหนด ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เนื่องจากเป็นกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ที่มีสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงและได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ ก่อนพื้นที่อื่นๆ อีกทั้งกำหนดให้ผู้ที่ลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 เพิ่มเติมในพื้นที่ 10 จังหวัด ต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนและจ่ายเงินสมทบงวดแรกภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 และในพื้นที่ 19 จังหวัดต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนและจ่ายเงินสมทบงวดแรกภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564

นอกจากนี้ ได้ให้กระทรวงแรงงานจัดทำข้อเสนอขยายระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมายที่รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในพื้นที่ 13 จังหวัดเพิ่มเติม อีกจำนวน 1 เดือน ซึ่งจะช่วยให้การให้ความช่วยเหลือนายจ้างและผู้ประกันตนในพื้นที่ดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
#3731


รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมประกวดราคาจ้างบริหารจัดการอาคารจอดแล้วจร 3 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 200 ล้านบาท แบ่งออกเป็น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต มูลค่าราว 37 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม มูลค่า 120 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิรัชมงคล มูลค่าราว 61 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี รฟม.ได้กำหนดให้เอกชนผู้สนใจร่วมประกวดราคาในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต เตรียมยื่นข้อเสนอผ่านระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 26 ส.ค.นี้ ส่วนโครงการรถไฟฟ้ามหานครทั้ง 2 สายนั้น จะกำหนดภายหลัง เนื่องจากปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนร่างเอกสารประกวดราคา แต่เบื้องต้นทุกโครงการจะต้องแล้วเสร็จ เพื่อจัดหาเอกชนเข้ามาบริหารตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้

"สัญญาจ้างบริหารอาคารจอดแล้วจรทั้ง 3 โครงการ มีอายุสัญญา 3 ปี โดยจะเริ่มสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2564 – 1 ต.ค. 2567 ซึ่งเอกชนจะต้องรับหน้าที่บริหารจัดเก็บค่าบริการจอดรถ การรักษาความสะอาด ตลอดจนจัดการจราจรและดูแลพื้นที่ของ รฟม.ให้เป็นระเบียบ เพื่อรองรับการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ"

สำหรับหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนประกวดราคานั้น รฟม.กำหนดราคาที่ยื่นข้อเสนอ ให้น้ำหนักคำนวณคะแนนข้อเสนอด้านราคาเท่ากับ 30 คะแนน และข้อเสนอด้านเทคนิค คุณภาพและคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อ รฟม. น้ำหนักเท่ากับ 70 คะแนน โดยผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 70 คะแนน รฟม.จึงจะพิจารณาข้อเสนอด้านราคา


ส่วนหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค คุณภาพและคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อ รฟม. 100 คะแนน แบ่งออกเป็น คะแนนผลงานของผู้ยื่นข้อเสนอ 60 คะแนน แผนการบริหารจัดการอาคารจอดแล้วจร 20 คะแนน ประสบการณ์การทำงานของผู้จัดการอาคารจอดแล้วจร 10 คะแนน และข้อเสนออื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการอีก 10 คะแนน

ทั้งนี้ รฟม.จะพิจารณาให้คะแนนผลงานและประสบการณ์ของผู้ยื่นข้อเสนอเพียง 1 ผลงานในการบริหารจัดการอาคารหรือลานจอดรถที่ประกอบด้วยงานจัดเก็บค่าบริการจอดรถ โดยใช้เครื่องไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ งานรักษาความสะอาด และงานจัดการจราจรดูแลพื้นที่จอดรถ ซึ่งเป็นผลงานที่สิ้นสุดระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยหากมีผลงานบริการจอดรถ 1,501 ช่องจอดขึ้นไป จะได้คะแนนสูงสุดอยู่ที่ 60 คะแนน

รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า อาคารจอดแล้วจรที่ รฟม.นำมาเปิดประกวดราคานี้ ถือเป็นอาคารที่อยู่ในส่วนของรถไฟฟ้าที่มีสถิติการเดินทางสูงต่อเนื่อง และถือเป็นอาคารจอดแล้วจรในย่านชุมชนที่มีผู้อยู่อาศัย มีผู้เดินทางค่อนข้างมาก เช่น โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม มีอาคารจอดแล้วจรจุดใหญ่อย่าง สถานีรถไฟฟ้าคลองบางไผ่ ใกล้กับห้างสรรพสินค้า ส่วนสายเฉลิมรัชมงคล มีลานจอดรถใจกลางเมือง อย่างสถานีลาดพร้าว รัชดาภิเษก พระราม 9 และสถานีสุขุมวิท เป็นต้น
#3733


นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า หลังจากที่ ส.อ.ท. ได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนามสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ศูนย์ห่วงใยคนสาครแห่งที่ 10 ขึ้นบริเวณเชิงสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างเพียง 28 วัน ซึ่งปัจจุบันที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร ได้พิจารณายกระดับให้ศูนย์แห่งนี้เป็นสถานที่รองรับการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 สีเหลืองเข้ม

โดยปรับรูปแบบจากโรงพยาบาลสนามเดิมให้ใกล้เคียงกับห้อง ICU มากที่สุด เพื่อรองรับผู้ป่วยในจังหวัดสมุทรสาครที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากเดิมโรงพยาบาลสนามสภาอุตสาหกรรมฯ มีเครื่องมือทางการแพทย์พร้อมสำหรับดูแลผู้ป่วยอยู่แล้วในระดับหนึ่ง อาทิ เครื่องเอ็กซเรย์ปอด เครื่องวัดค่าออกซิเจนในปอด ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารที่ช่วยลดความเสี่ยงในการพบปะกับผู้ป่วย ซึ่งหุ่นยนต์ดังกล่าวยังสามารถให้แพทย์และผู้ป่วยพูดคุยกันได้ผ่าน Application อีกด้วย

จึงทำให้การปรับรูปแบบเป็น ICU ในครั้งนี้มีการปรังปรุงโครงสร้างเพิ่มเติมหลักๆ คือ การวางระบบจ่ายออกซิเจนทั้งอาคาร และติดตั้งถังออกซิเจนเหลว (Liquid Oxygen) ขนาด 5,000 ลิตร ซึ่งหากมีผู้ป่วย 200 คนรักษาตัวอยู่ จะสามารถใช้ถังออกซิเจนนี้ได้ 3-4 วันต่อถัง

การปรับปรุงในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากนายอุดม ไกรวัฒนุสสรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ที่มาให้บริการในโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ คือทีมจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วย แพทย์ 1 คน เภสัชกร 1 คน พยาบาล 12 คน และทีมพยาบาลจากจังหวัดกาญจนบุรี 3 คน รวมทั้งทีมหลักที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาครมาร่วมปฏิบัติงานด้วย

นอกจากนี้ ส.อ.ท. ได้ส่งเสริมผู้ประกอบการและสมาชิกจัดทำมาตรการ Bubble and seal ในโรงงาน ที่มีพนักงานตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยไม่ต้องปิดโรงงาน พร้อมสนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในรูปแบบ Community Isolation ในโรงงาน ที่รับรองโดยสาธารณสุขจังหวัดและดูแลโดยโรงพยาบาลในสังกัดประกันสังคม ยกตัวอย่างในนิคมอุตสาหกรรมสินสาครในจังหวัดสมุทรสาครที่จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม (Factory Accommodation Isolation: FAI) ด้วยความร่วมมือจากสถานประกอบการภายในนิคมฯ มีจำนวนเตียงเพียงพอต่อการรองรับผู้ติดเชื้อไม่น้อยกว่า 10%

ซึ่งการทำ Factory Quarantine ในจังหวัดสมุทรสาคร แบ่งเป็น 2 กรณี คือ หากพบผู้ติดเชื้อในโรงงานน้อยกว่า 10% ให้ดำเนินการจัดทำ FAI แต่หากเกินกว่า 10% โรงงานจะต้องการ Bubble & Seal พร้อม FAI

โดยมี 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) จัดเตรียมสถานประกอบการให้พร้อมสำหรับการทำ FAI 2) ส่งข้อมูลการจัดทำ FAI ไปยังสำนักงานแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร 3) ส่งภาพการจัดทำ FAI ที่เรียบร้อยแล้วให้สำนักงานสาธาณสุขจังหวัดสมุทรสาคร

4) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาครนัดหมายสถานประกอบการประเมินผ่านระบบ Video Conference โดยให้นำตรวจสถานที่แบบ Real Time ผ่านระบบ Video Conference 5) เมื่อผ่านการประเมิน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาครจะจัดทำใบรับรองส่งให้

และ 6) ดำเนินงานตามมาตรการ Bubble & Sealed กรณีที่โรงงานสุ่มตรวจและพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 10% ของจำนวนพนักงาน โดยการจัดการระบบดูแล ลดการกระจายเชื้อสู่ภายนอก จำนวน 28 วัน

ส.อ.ท. ยังได้จัดตั้ง "กองทุน ส.อ.ท. สู้ภัยโควิด-19" ภายใต้มูลนิธิพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อระดมทุนจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ สิ่งของจำเป็น อาทิ ห้องความดันลบแบบประกอบเคลื่อนย้ายได้ (Modular Unit) , "ชุดจัดทำห้องความดันลบแบบติดตั้งถาวร (Non-Mobility), ชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 (Antigen Test Kit), เมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจรและกล่องห่วงใยจากใจ ส.อ.ท.

ส่งมอบกับให้สถานพยาบาลนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 จึงขอเชิญร่วมบริจาคเงินได้ที่ชื่อบัญชี มูลนิธิพัฒนาอุตสาหกรรม เลขที่บัญชี 009-1-71583-0 ธนาคารกรุงไทยสาขาไทยเบฟควอเตอร์ (ใบบริจาคสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 100%) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน ส.อ.ท. หมายเลข 1453 ทุกปัญหาอุตสาหกรรมมีคำตอบ
#3734


นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และนายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) (AMATA) ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง EXIM BANK และ AMATA โดยมีนายอาสา สารสิน ประธานกรรมการ บริษัท อมตะ ซิตี้ ระยอง จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยานกิตติมศักดิ์และแสดงความยินดีในความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยในนิคมอุตสาหกรรมกลุ่ม AMATA และพันธมิตรในเครือข่ายธุรกิจสามารถขยายการส่งออกและลงทุนภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) เพิ่มมากขึ้น ผ่านการประชุมออนไลน์ เมื่อเร็ว ๆ นี้

กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ภายใต้ MOU นี้ EXIM BANK จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมกลุ่ม AMATA และพันธมิตรในเครือข่ายธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุนและโอกาสใหม่ ๆ ทางการค้าและการลงทุนภายในและระหว่างประเทศ โดยสอดคล้องกับภารกิจของ EXIM BANK ที่จะเร่ง "ซ่อม สร้าง เสริม" ผู้ประกอบการไทย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในภาวะวิกฤตโควิด-19 ภายใต้บทบาทที่มุ่งจะเป็น "ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย" กล่าวคือ EXIM BANK จะ 'ซ่อม' ภาคอุตสาหกรรมที่ประสบวิกฤต 'สร้าง' อุตสาหกรรมใหม่สู่อนาคต เช่น อุตสาหกรรมสีเขียว ดิจิทัล และสุขภาพ (Green, digital, health : GDH) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) และ 'เสริม' ความสมดุลของการส่งออกและการลงทุนของไทยในตลาดเดิมและตลาดใหม่ซึ่งรวมถึง CLMV เพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย เชื่อมโยงกับการส่งออกและการลงทุนของไทยทั้งในและต่างประเทศ ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว


"ความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK กับ AMATA ในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเติมเต็มช่องว่างทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการทุกระดับในนิคมอุตสาหกรรมกลุ่ม AMATA ตั้งแต่รายย่อยไปจนถึงรายกลางและรายใหญ่ตลอดทั้ง Supply Chain ให้มีความพร้อมที่จะยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาธุรกิจส่งออกและลงทุนให้มีความแข็งแกร่ง เชื่อมโยงการลงทุนภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมถึงโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาคและโลกโดยรวม"
#3735


"ยูเอซี โกล." อวดครึ่งปีแรก EBITDA รวม 219.88 ล้านบาท นับเป็น 62.82% ของแผนปี 64 และกำไรส่วนที่เป็นของบริษัท 133.85 ล้านบาท ชี้ธุรกิจเทรดดิ้งฟื้นตัว และบุ๊กกำไรเงินปันผลบริษัทร่วมทุน BBF อีก 119.92 ล้านบาท ผู้บริหารเดินหน้าลงทุนธุรกิจพลังงานทั้งโรงไฟฟ้าชุมชน และโรงไฟฟ้าขยะใน สปป.ลาว ควบคู่กับการให้บริการ Consulting Service และเร่งพิจารณาการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ 

นายชัชพล ประสพโชค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเอซี โกล. จำกัด (มหาชน) หรือ UAC เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 2564 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ว่า บริษัทฯ มีกำไรส่วนที่เป็นของบริษัท 133.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.93% เมื่อเทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรส่วนที่เป็นของบริษัท 131.32 ล้านบาท โดย Gross Margin อยู่ที่ระดับ 18.61% ขณะที่ EBITDA งวด 6 เดือนแรกปี 2564 อยู่ที่ 219.88 ล้านบาท คิดเป็น 62.82% จากเป้าหมายปี 2564 ที่ 350 ล้านบาท

สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2564 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายและการให้บริการ จำนวน 374.92 ล้านบาท โดยกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 68.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.56% มากกว่างวดเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรักษาความคงที่ของ Gross Margin ไว้ได้ใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วที่ 18.23% ทั้งนี้ เป็นผลจากการฟื้นตัวของธุรกิจเทรดดิ้ง ตามภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงต้นปีที่ยังคงเป็นปัจจัยเชิงบวก ส่งผลให้มีการรับรู้รายได้เพิ่มขึ้นจาก Backlog ของธุรกิจเทรดดิ้งที่มีเข้ามาในช่วงครึ่งปีแรกกว่า 250 ล้านบาท และคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีกราว 230 ล้านบาท ในช่วงครึ่งปีหลังนี้

ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังรับรู้ส่วนแบ่งกำไรสุทธิ และการเงินปันผลปันผลงวดครึ่งปีหลัง 2563 จากบริษัทร่วมทุน บจ.บางจากไบโอฟูเอล (BBF) จำนวน 119.92 ล้านบาท ซึ่งได้ประโยชน์จากการส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจำหน่ายและราคาขายเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นจากความต้องการใช้นำมันดีเซลในภาคการขนส่งภาคการเกษตร ประกอบกับความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบในช่วงที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับสูงขึ้น

นอกจากนี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ UAC ยังได้กล่าวถึงภาพรวมธุรกิจครึ่งปีหลัง 2564 ว่า บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าสร้างโอกาสทางธุรกิจ โดยการนำ Business model ใหม่ เช่น การทำ Consulting Service พร้อมทั้งพยายามรักษาการให้บริการและฐานะลูกค้าให้ดีอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งพิจารณาการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ภายใต้นโยบายการลงทุนด้าน Energy Efficiency และ Bio Circular Economy ทั้งในประเทศ และกลุ่มประเทศ CLMV

ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนของบริษัทฯ ขณะนี้ได้ผ่านคุณสมบัติและข้อเสนอขอขายไฟฟ้าด้านเทคนิคของการไฟฟ้าภูมิภาคแล้ว จำนวน 2 โครงการ ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมราว 6 เมกะวัตต์ และยังรอการพิจารณาอีก 4 โครงการ ประมาณ 12 เมกะวัตต์ หลังจากที่บริษัทฯ ได้ยื่นอุทธรณ์ไปก่อนนี้ ซึ่งคาดว่าจะทราบผลชัดเจนภายในเดือนกันยายนนี้

สำหรับแผนความคืบหน้าโครงการจัดการขยะ เพื่อผลิตพลังงานทดแทนและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ที่นครเวียงจันทน์ สปป.ลาว นั้น การลงทุนในเฟสแรกในโครงการบริหารจัดการขยะได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วกว่า 98% ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ตามแผนที่วางไว้ในปี 2564 นี้ และหลังจากนั้นบริษัทฯ จะเร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าขยะ ขนาด 6 เมกะวัตต์ในเฟสที่ 2 เป็นลำดับต่อไป ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้บริษัทฯ เชื่อมั่นใจว่าจะรักษาระดับอัตราการเติบโตรายได้ในปีนี้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% ขณะที่ EBITDA คาดว่าไม่ต่ำกว่า 20% ของรายได้อย่างแน่นอน
#3737


"อาลีบาบา กรุ๊ป" รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสเดือน มิ.ย. 2564 ไปเมื่อเร็วๆ นี้ เริ่มต้นปีงบประมาณด้วยไตรมาสแรกที่ดี ในเดือนมิถุนายน 2564 อีโคซิสเต็มทั้งหมดของอาลีบาบา มีจำนวนลูกค้าประจำทั่วโลกแตะ 1,180 ล้านคน เพิ่มขึ้น 45 ล้านคนจากไตรมาสเดือนมีนาคม ในจำนวนนี้เป็นผู้บริโภคในจีน 912 ล้านคน

ปัจจุบันอีโคซิสเต็มของอาลีบาบา ครอบคลุมทั้งฝั่งผู้บริโภคและอุตสาหกรรม มีกลไกมากมายที่ขับเคลื่อนการเติบโตในระยะยาว การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน และการสร้างคุณค่าในระยะยาวของอาลีบาบา จะหนุนนำให้ยักษ์เทคฯ รายนี้ เดินหน้าสร้างความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมประสบการณ์ให้ผู้บริโภค และช่วยให้ลูกค้าองค์กรประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนธุรกิจไปสู่ดิจิทัล

อาลีบาบา กับกลยุทธ์ในอนาคต ​

แดเนียล จาง ประธานกรรมการและซีอีโอของอาลีบาบา กรุ๊ป กล่าวเปิดใจกับกลุ่มผู้ถือหุ้น หลังรายงานผลประกอบการงวดล่าสุด ว่า หลังจากนี้ การกำหนดจุดยืนเชิงกลยุทธ์ของบริษัทในอนาคต จะเน้นเพื่อการผสานอินเทอร์เน็ตทั้งในฝั่งของผู้บริโภค และอุตสาหกรรมเข้าด้วยกันให้ประสบความสำเร็จตามทิศทางการพัฒนาของการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัล

"อาลีบาบาได้ปรับตัวเองกลายเป็นบริษัทที่มีกลไกหลากหลาย ด้วยธุรกิจในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน เรากำลังสร้างคุณค่าที่มากกว่าให้กับผู้บริโภค และผู้ใช้ โดยกระตุ้นให้ธุรกิจดั้งเดิมเข้า สู่ระบบการค้าออนไลน์แบบใหม่ อาลีบาบายังมุ่งมั่นที่จะมีส่วนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลด้วยเช่นกัน"


สิ้นเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา จำนวนผู้บริโภคทั่วโลกที่ใช้งานเป็นประจำในอีโคซิสเต็มของอาลีบาบา แตะระดับ 1.13 พันล้านราย สร้างประวัติศาสตร์จำนวนผู้ใช้เกิน 1 พันล้านราย ยอดซื้อสินค้าจากทุกธุรกิจ( GMV) จากผู้บริโภคทั้งในจีนและต่างประเทศรวมกันมีมูลค่ามากกว่า 8.119 ล้านล้านหยวน หรือ 41 ล้านล้านบาท 

ขณะที่ ปีงบประมาณที่ผ่านมา ยอดเฉลี่ยการซื้อสินค้าต่อคนต่อปีของผู้บริโภคจากทุกแพลตฟอร์มหรือ GMV ของอาลีบาบามีมากกว่า 9,200 หยวน หรือ ราว 46,524 บาท

ยอมรับปีแห่งความยากลำบาก 

"วันนี้ของปีก่อน ผมคาดว่า ทั่วโลกน่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติและเปิดให้ท่องเที่ยวได้เหมือนเดิม แต่มันก็ยังไม่เกิดขึ้น เราผ่านปีที่ยากลำบากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน"  

จาง ยอมรับ พร้อมบอกว่า นอกจากสถานการณ์โรคระบาดจะซับซ้อนขึ้นแล้ว ยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงลึก และยาวนานในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจโลก และสิ่งแวดล้อมมหภาคโดยรวม

แม้จะมีอุปสรรคแต่ ซีอีโออาลีบาบา ยังยืนยัน มุ่งดำเนินตามวิสัยทัศน์และพันธกิจ รวมทั้งเปลี่ยนความท้าทายให้กลายเป็นโอกาสอย่างต่อเนื่อง 


ทั่วโลก 240 ล้านคนอุดหนุนประจำ 

ขณะที่ กลยุทธ์การขยายธุรกิจไปทั่วโลกของอาลีบาบา ยังมีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม มีจำนวนผู้บริโภคในต่างประเทศที่ซื้อสินค้าเป็นประจำแตะ 240 ล้านคน จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของ "ลาซาด้า" ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วของ "อาลีเอ็กซ์เพรส" ในยุโรป 

จาง บอกด้วยว่า ด้วยความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมาหลายปี ทั้งในแง่สินค้าและซัพพลายเชน การส่งและกระจายสินค้า การบริหารจัดการผู้บริโภค การพัฒนาและดำเนินช่องทางโซเชียลคอมเมิร์ซ ทำให้อาลีบาบามีความพร้อมในการพัฒนาธุรกิจใหม่ที่ทำกำไรและยั่งยืน เพื่อเติมเต็มมิติต่างๆ ของ New Retail 

บูม "คลาวด์" ฐานที่มั่นใหม่ 

"อาลีบาบา คลาวด์" เป็นอีกหนึ่งเสาหลักที่สองของการเติบโตของ อาลีบาบา กรุ๊ป สามารถรักษาความเป็นผู้นำในตลาดได้อย่างต่อเนื่อง มีรายได้ 6 หมื่นล้านหยวน ซึ่งเติบโตขึ้น 50% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อาลีบาบา คลาวด์ ถือเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure as a Service (IaaS) ที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก 

"เราเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าอินเทอร์เน็ตเชิงอุตสาหกรรม เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพทั่วโลก เมื่อมองไปยังอนาคต อาลีบาบา คลาวด์ อยู่ในตำแหน่งที่ดีด้วยหนึ่งในเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างจีน จึงพร้อมคว้าโอกาสทองของยุคนี้ ซึ่งต่อไปทุกบริษัทจะก้าวเข้าไปสู่โลกอินเทอร์เน็ต อาลีบาบาจะต่อยอดความสามารถด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะ โดยใช้มาตรฐานเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกเป็นหลัก" 

จากนี้ อาลีบาบา จะเร่งเดินหน้าผลักดันกลยุทธ์ในการผสานคลาวด์และดิงทอล์ค เพื่อสร้างแพลตฟอร์มสำนักงานเคลื่อนที่สำหรับองค์กร ลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี และสร้างมิดเดิลแพลตฟอร์มที่ดีเยี่ยม รวมถึงพัฒนาอีโคซิสเต็มส์ให้แข็งแกร่งขึ้น และให้บริการอย่างมีคุณภาพ และทำให้เสาหลักแห่งการเติบโตนี้เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

"เมื่อเริ่มก่อตั้ง อาลีบาบาตั้งพันธกิจว่าจะช่วยให้คุณ ทำธุรกิจอย่างสะดวกในทุกที่ ตลอด 22 ปีที่ผ่านมา มุ่งทำตามแผนระยะยาว และลงทุนเพื่ออนาคต พันธกิจนี้เป็นตัวแปรสำคัญในการพัฒนาของเรา และเป็นหลักที่นำทางเราทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต" 

ย้ำ'ดีเอ็นเอ'เน็ตที่เปิดกว้างและโปร่งใส 

ความเป็นผู้นำและจุดแข็งของอาลีบาบา คลาวด์ ยังเป็นผลจากการลงทุนหลายสิบปี และการเป็นบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยกลไก 2 ส่วน คืออินเทอร์เน็ตในฝั่งผู้บริโภคและอินเทอร์เน็ตเชิงอุตสาหกรรม จากข้อมูลเชิงลึกและการทดลองเป็นเวลาหลายปี กลยุทธ์ New Retail ของอาลีบาบา ได้เห็นผลและมีมิติมากขึ้น 

"อาลีบาบาก้าวเข้าสู่ปีงบประมาณใหม่แล้ว เราเชื่อว่า อาลีบาบาจะสามารถผสานอินเทอร์เน็ตในฝั่งผู้บริโภคและอินเทอร์เน็ตเชิงอุตสาหกรรมได้สำเร็จ เราเริ่มต้นจากการเป็นบริษัทบนอินเทอร์เน็ต และนำดีเอ็นเอที่เป็นจุดเด่นของอินเทอร์เน็ตคือความเปิดกว้าง โปร่งใส และเชื่อมถึงกันทั่วโลกมาใช้ เรากำลังสร้างคุณค่าที่มากกว่าให้กับผู้บริโภคและผู้ใช้ ด้วยการผลักดันให้ธุรกิจดั้งเดิมเข้ามาสู่การค้าออนไลน์แบบใหม่ อาลีบาบายังมุ่งมั่นที่จะมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลด้วย" ซีอีโอ อาลีบาบา กรุ๊ป ทิ้งท้าย 
#3738


ในฐานะแชมป์เอฟเอ คัพ ดวลกับ "เรือใบสีฟ้า" แมนเชสเตอร์ ซิตี ในฐานะแชมป์พรีเมียร์ลีก ลงเตะกันที่สนามเวมบลีย์ สเตเดียม กรุงลอนดอน

ในเกมนี้ เลสเตอร์จัดตัวแบบเอาจริง นำโดยตัวหลักอย่าง "เจมี วาร์ดี" "เจมส์ แมดดิสัน" "อโยเซ เปเรซ" "ยูริ ตีเลอมองส์" และ "ฮาร์วีย์ บาร์นส" ส่วน แมนฯ ซิตี จัดตัวผสมตัวจริงกับสำรอง นำโดย "เฟร์รัน ตอร์เรส" "ริยาด มาห์เรซ" "อิลคาย กุนโดกัน" และใช้ "แซก สเตฟเฟน" เฝ้าเสาประตู

รูปเกมส่วนใหญ่ ทั้งสองทีมเน้นความแน่นอน ไม่มีฝ่ายไหนเปิดเกมบุกเต็มตัว โดยเรือใบสีฟ้าเป็นฝ่ายครอง.ได้ส่วนใหญ่และมีโอกาสทำประตูมากกว่า แต่ส่วนใหญ่ไม่เข้าเป้า ขณะที่เลสเตอร์แม้โอกาสยิงน้อยกว่าแต่ส่องเข้ากรอบแบบได้ลุ้นกว่า


นาที 65 ถึงเวลาที่แฟน.ซิตีรอคอย เมื่อ แจ็ค กรีลิช นักเตะใหม่ที่ย้ายจาก แอสตัน วิลลา ด้วยสถิติค่าตัวสูงสุดในสหราชอาณาจักร 100 ล้านปอนด์ ได้ลงสนามมาแทน ซามูเอล เอโดซี


- แจ็ค กรีลิช ในยูนิฟอร์มแมนฯ ซิตี ลงสนามเป็นตัวสำรอง -


นาที 87 นาธาน อาเก เล่นพลาดหน้าประตูตัวเองเปิดช่องให้ เคเลชี อิเฮียนาโช เข้าปะทะ แล้ว.ไหลมาให้ แพตสัน ดากา โฉบเข้ายิงติดเซฟ แซก สเตฟเฟน

อย่างไรก็ตาม ผู้ตัดสินตัดสินใจเป่าฟาวล์ย้อนหลังจังหวะที่อาเกปะทะอิเฮียนาโช และให้จุดโทษแก่เลสเตอร์


จากนั้น อิเฮียนาโช รับหน้าที่สังหารไม่พลาด และกลายเป็นประตูชัยให้เลสเตอร์เฉือนชนะไป 1-0 ทำให้ทัพจิ้งจอกคว้าแชมป์รายการการกุศลนี้เป็นสมัยที่ 2 ต่อจากเมื่อปี 1978 ส่วนแมนฯ ซิตี ยังอยู่ที่ 6 สมัยต่อไป
#3739


"ธนกร" เผยประชาชนยังใช้สิทธิมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐต่อเนื่อง แม้บางพื้นที่ถูกล็อกดาวน์ แจงยอดใช้จ่ายคนละครึ่ง-ยิ่งใช้ยิ่งได้-บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทำเศรษฐกิจในประเทศหมุนเวียนกว่า 5.8 หมื่นล้าน คาดภายใน ต.ค.64 เชื่อมแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ใช้"คนละครึ่ง" ได้

วันนี้(8 ส.ค.) นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบศ.) กล่าวว่า แม้รัฐบาลจะประกาศล็อกดาวน์ยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) เพิ่มจาก 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด เนื่องจากอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการตรวจหาเชื้อโควิด- 29 เชิงรุกทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้ตัวเลขของผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ขอให้ประชาชนงดออกจากเคหสถาน หรือที่พำนักโดยไม่จำเป็น เพื่อเป็นการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 แต่รัฐบาลก็มีมาตรการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาเร่งด่วนผู้ประกอบการนายจ้าง ลูกจ้าง ตลอดจนแรงงานกลุ่มอาชีพอิสระ และพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการ 9 ประเภท 29 จังหวัดล็อกดาวน์ โดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้โอนเงินเยียวยาผู้ประกันตน ม.33 ใน 10 จังหวัด (กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, สงขลา) เข้าบัญชีไปแล้ว 2,434,182 คน เบิกจ่ายเป็นเงินรวมแล้ว 6,085.45 ล้านบาท แต่มีบางส่วนที่เกิดความขัดข้อง โอนเงินไม่ผ่าน เนื่องจากอาจจะมีข้อมูลผิดพลาด ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลหน้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมได้จนถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2564 หากข้อมูลได้รับแก้แก้ไขตรวจถูกต้องแล้ว จะดำเนินการโอนในวันที่ 13 สิงหาคม 2564 ต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของนายจ้าง ม. 33 สำนักงานประกันสังคมอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลสถานะจำนวนลูกจ้าง และจะเริ่มทยอยโอนให้นายจ้าง 3,000 ต่อจำนวนลูกจ้างไม่เกิน 200 คน ในวันที่ 10 สิงหาคม 2564

นายธนกร กล่าวต่อว่า แม้จะมีข้อติดขัดเรื่องการออกมาใช้จ่ายของประชาชนบางพื้นที่บ้างในช่วงนี้ แต่จากการรายงานของกระทรวงการคลังพบว่า มาตรการเยียวยาและการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งโครงการคนละครึ่ง เฟส 3 เพิ่มกำลังซื้อในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ยังมีการใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยยอดการใช้จ่ายของแต่ละโครงการ ผู้ใช้สิทธิสะสมรวม 37.66 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม รวม 58,495.4 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.โครงการคนละครึ่ง เฟส 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสม 23.22 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม 52,466.8 ล้านบาท แบ่งเป็นส่วนที่ประชาชนจ่ายสะสม 26,600.7 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 25,866.1 ล้านบาท 2.โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 63,093 คน ยอดใช้จ่ายสะสม 977.5 ล้านบาท 3.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 13.45 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม 4,760.2 ล้านบาท และ 4.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 931,228 คน ยอดใช้จ่ายสะสม 290.9 ล้านบาท

นายธนกร กล่าวอีกว่า รัฐบาลมีความห่วงใยพี่น้องประชาชน และเข้าใจสถานการณ์ ตอนนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบบริการแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ให้สามารถเชื่อมกับโครงการ "คนละครึ่ง" สอดคล้องกับมาตรการป้องกันโควิด-19 โดยกระทรวงการคลังได้กำชับให้ธนาคารกรุงไทยเร่งดำเนินการปรับปรุงระบบการเชื่อมระบบโครงการ "คนละครึ่ง" กับระบบของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ เพื่อให้สามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการ คาดว่าจะดำเนินการเชื่อมระบบเสร็จสิ้นและพร้อมใช้งานได้ในเดือนตุลาคม 2564 นี้ เพื่อรองรับการใช้จ่าย หลังกระทรวงการคลังโอนเงิน "คนละครึ่ง" รอบ 2 อีก 1,500 บาทเข้าแอพพลิเคชันเป๋าตัง ซึ่งประชาชนสามารถใช้จ่ายได้จนถึงสิ้นปี 2564
#3740


การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินได้มีการลงนามร่วมลงทุนกับบริษัทอู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จํากัด ไปแล้ว ในขณะที่การพัฒนาส่วนอื่นเพื่อผลักดันเมืองการบินจะเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะใน พื้นที่อุตสาหกรรมการบิน หรือ ATZ ที่จะทำให้สนามบินอู่ตะเภามีศักยภาพเป็นศูนย์กลางการบินได้มากขึ้น

รายงานข่าวจากกองทัพเรือ (ทร.) ระบุว่า ขณะนี้การพัฒนาในพื้นที่ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในส่วนสนามบินอู่ตะเภายังมีความก้าวหน้า เอกชนผู้รับสัมปทานโครงการต่างๆ อาทิ ท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ยังคงเริ่มดำเนินงานในส่วนที่สามารถทำได้ เช่น สำรวจพื้นที่โครงการ และออกแบบโครงการ

ขณะเดียวกันกองทัพเรือและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ยังหารือในการพัฒนาโครงการอื่นเพื่อรองรับการลงทุนที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลลาย โดยส่วนหนึ่งของแผนพัฒนา สกพอ.มีเป้าหมายดำเนินโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมพัฒนาพื้นที่ ATZ บนพื้นที่ 500 ไร่ เพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมการบิน

สำหรับโครงการ ATZ จะรองรับการลงทุนจากเอกชนที่เกี่ยวเนื่องกับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ ศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกของอีอีซีเป็นศูนย์กลางการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอากาศยาน เบื้องต้น สกพอ.อยู่ระหว่างจัดทำแผน คาดว่าจะเริ่มทดสอบความสนใจของนักลงทุน และเชิญชวนนักลงทุนภายในเดือน ก.ย.นี้

"ขณะนี้แผนลงทุนในอีอีซีไม่ได้หยุดชะงัก โดยเฉพาะโครงการพัฒนาในพื้นที่ใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการบิน โดย สกพอ.ยังมีแผนจะปรับพื้นที่ศูนย์ซ่อมอากาศยานของการบินไทยให้เล็กลง เนื่องจากปัจจุบันการบินไทยยังมีแผนลงทุนโครงการไม่ชัดเจน เพื่อวางแผนเพิ่มพื้นที่ให้เอกชนรายอื่นเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง หรือศูนย์ซ่อมอากาศยานใน ATZ"

รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า ขณะนี้มีเอกชนสนใจสอบถามเกี่ยวกับการลงทุนศูนย์ซ่อมอากาศยานในพื้นที่ ATZ อย่างต่อเนื่อง เพราะเล็งเห็นว่าภายหลังโควิด-19 คลี่คลายแล้วจะทำให้อุตสาหกรรมการบินกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากช่วงปี 2563-2564 การเดินทางท่องเที่ยวชะลอตัว โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียจะมีการเดินทางมากที่สุด ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมการบินฟื้นตัวอย่างก้าวกระโดด นำมาสู่การลงทุนศูนย์ซ่อมอากาศยานเพื่อรองรับ

ทั้งนี้ กองทัพเรือได้ประเมินว่า หาก สกพอ.เร่งผลักดัน ATZ โดยมีการสอบถามความสนใจของนักลงทุนและประกาศเชิญชวนภายในปีนี้ จะทำให้โครงการ ATZ มีการลงทุนและพัฒนาโครงการอย่างเป็นรูปธรรมในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งจะสอดคล้องไปกับสถานการณ์โควิด-19 ที่มีท่าทีจะคลี่คลายใน 2565 จากการเร่งฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และคาดว่าการบินจะกลับมาฟื้นตัวเป็นปกติเช่นเดียวกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ในช่วงปี 2566–2567

"โครงการ ATZ หากมีการพัฒนา คาดว่าจะเพิ่มอัตราการจ้างงานด้านอุตสาหกรรมการบินกว่า 3,000 ตำแหน่ง และส่งเสริมให้อีอีซีเป็นศูนย์กลางด้านการบิน"

ทั้งนี้ความพร้อมของพื้นที่ฐานรากศูนย์ซ่อมอากาศยานที่กองทัพเรือรับผิดชอบในการดำเนินงาน ปัจจุบันกองทัพเรือได้ประกวดราคาจัดหาเอกชนเริ่มงานแล้ว รวม 4 งาน มูลค่ากว่า 1,890 ล้านบาท ประกอบไปด้วย 

1.การจ้างปรับถมดินและส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องสำหรับงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน มูลค่าโครงการ 660 ล้านบาท 

2.การจ้างควบคุมงานถมดินและอื่นที่เกี่ยวข้องสำหรับงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน มูลค่าโครงการ 16.5 ล้านบาท

3.การจ้างปรับพื้นที่สำหรับก่อสร้างทางขับระยะที่ 1 และลานจอดของศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน มูลค่าโครงการ 1,180 ล้านบาท

4.การจ้างควบคุมงานปรับพื้นที่สำหรับก่อสร้างทางขับระยะที่ 1 และลานจอดของศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน มูลค่าโครงการ 29.6 ล้านบาท

ส่วนความคืบหน้าโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามแผนจะพัฒนาบนพื้นที่ราว 210 ไร่ โดยปัจจุบันการบินไทยยังอยู่ระหว่างทบทวนแผนพัฒนา ซึ่งมีเป้าหมายจะปรับการลงทุนให้สามารถรองรับซ่อมอากาศยานหลายรูปแบบ และยังอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางการลงทุน โดยขณะนี้มี 3 ทางเลือก คือ 

1.การบินไทยร่วมทุนกับแอร์บัส 2.การบินไทยลงทุนเองและใช้เทคโนโลยีของทางแอร์บัส 3.หาผู้ร่วมทุนใหม่

นอกจากนี้ การการพัฒนาสนามบินยานอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 ของกรุงเทพฯ จะเป็นการเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่ง 3 รูปแบบ คือ 1.รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) 2.ถนน 3.ทางเรือ โดยพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาครอบคลุมบนพื้นที่ 6,500 ไร่ ให้สิทธิบริษัทอู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จํากัด 30 ปี ซึ่งจะเป็นการยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเพิ่มการใช้เชิงพาณิชย์ จากเดิมที่เน้นภารกิจด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ

เชิดพันธ์ โชติคุณ ประธานเจ้าหน้าที่สายช่าง การบินไทย กล่าวก่อนหน้านี้ว่า ตามแผนลงทุนของการบินไทย โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานจะดำเนินการบนพื้นที่ประมาณ 210 ไร่ เป็นพื้นที่ของกรมธนารักษ์ที่อยู่ในความครอบครองของกองทัพเรือ โดยแบ่งระยะการลงทุนออกเป็น ระยะแรกช่วงปี 2565-2583 จะลงทุนประมาณ 6,400 ล้านบาท โดยการบินไทยลงทุนเอง 2,000 ล้านบาท ที่เหลือจะเป็นการลงทุนของภาคเอกชน เพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงซ่อมบำรุง และจัดซื้ออุปกรณ์

ทั้งนี้ จะพัฒนาเพื่อรองรับการซ่อมบำรุงอากาศยานได้ 80-100 ลำ โดยตามแผนเดิมคาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในปี 2565 มีเป้าหมายสร้างรายได้ในปีแรกอยู่ที่ 400-500 ล้านบาท จากการซ่อมอากาศยาน 10 ลำ และประเมินว่าจะมีการเติบโตของรายได้เฉลี่ยอีกปีละ 2% และในช่วง 50 ปีจะมีรายได้รวม 2 แสนล้านบาท