• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - hs8jai

#6841
รับทำข้าวกล่อง อาหารกล่อง จ.ชุมพร
อร่อย-สะอาด-คุณภาพ-น่ารับประทาน
เสร็จตรงเวลา
#6842
หากย้อนเวลาไปในช่วงปี 1995 - 2005 หรือยุค 90 นักเตะสมัยนั้นไม่ว่าจะเป็น โรนัลโด้ ของบราซิล, เธียรี่ อองรีของฝรั่งเศส หรือคนอื่น ๆ อีกมากมาย ล้วนแล้วแต่พัฒนาไปที่ความเร็วและเทคนิกการเลี้ยงลูก.ระดับเทพ แต่ยังมีกองหน้าอีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่ได้เน้นเรื่องความเร็วหรือการเลี้ยงลูก.เหล่านี้ แต่จะเน้นไปที่พลังการเตะในการยิงที่รวดเร็วและทรงพลัง ชนิดที่ว่าถ้าหากผู้รักษาประตูรับไม่ดี อาจมีหามขึ้นเปลสนามอย่างแน่นอน เอาละไม่รอช้า มาทำความรู้จักกับประวัติคราว ๆ ของ Batistuta กัน โดยเค้าคนนี้มีชื่อเต็มๆว่า Gabriel Batistuta กาเบรียล โอมาร์ บาติสตูตา เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969 ในเมืองรีคอนกีสตา ประเทศอาร์เจนติน่า 

  • 1988-1989 บาติสตูต้าเริ่มต้นเล่นฟุต.ให้กับ Newell's Old Boys ทีมนีเวลล์โอลด์บอยส์
  • 1898-1990 ก่อนจะย้ายไปเล่นให้กับ River Plate ริเวอร์เพลทส โมสรในประเทศอาร์เจนติน่า โดยในตอนนั้นยังเป็นเพียงกองหน้าธรรมดา ๆ เขาใช้เวลาอยู่กับทีมนี้ถึง 2 ปี แต่ก็ไม่ได้มีชื่อเสียงหรืออะไรมากมาย เขาจึงมีความคิดที่จะย้ายทีม
  • 1990-1991 ทีมต่อไปที่เขาเซ็นสัญญาด้วยก็คือ Boca Juniors โบค่า จูเนียร์ ทีมดังของประเทศอาร์เจนติน่า ซึ่งการมาค้าแข้งที่นี่เขาได้เจอกับเพื่อนร่วมทีมที่เข้าขาและค้นพบตัวเองว่าเป็นคนที่มีพลังการเตะที่สุดยอด เขาจึงโชว์ฟอร์มการเล่นได้อย่างยอดเยี่ยม
  • 1991-2000 Fiorentina ฟีออเรนตีนา ตรงนี่เองเป็นที่โชว์ฟอร์มของบาร์ติสตูต้า โดยค้าแข้งให้กับทัพขุนพลม่วง 9 ปี
จะให้พิมพ์หมดทุกอย่างก็คงจะไม่ไหว นี้คือประวัติคราว ๆของ Gabriel Batistuta กาเบรียล โอมาร์ บาติสตูตา ต้องบอกเลยว่านี้คือนักเตะอีกหนึ่งคนในตำนาน ที่คนยุค 90 ทุกคนที่ดูฟุต.ต้องรู้จัก
#6844
QYou 8เป็นกลุ่ม 8 สมุนไพรที่ดูแลเรื่องเลือดได้ชัดเจนขึ้นเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัดเปลือกสนเมอร์ไทด์เพิ่มโสมซานชี สุดยอดของโสมที่ดูแลเรื่องระบบเลือดและ เพิ่มสูตร เก๋ากี้ พุทราจีนและขิง ซึ่งเป็นสามประสานในการปกป้องหลอดเลือดป้องกันหลอดเลือด แตก ตีบ ตันและช่วยลดภาวะการเกิดซีสต์ในที่ต่างๆ ได้ ช่วยลดอาการปวดหลังปวดท้องระหว่างมีรอบเดือนได้ มีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ให้เพิ่มขึ้น ช่วยลดขยะและของเสียไขมัน ที่อยู่ในหลอดเลือดให้น้อยลง ช่วยเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น ลดอาการชาปลายมือปลายเท้าอันเนื่องมาจากเลือดใหลเวียนได้น้อยให้อาการดีขึ้นราคากล่องละ 990 บาท ราคาสมาชิก 500 บาทสนใจสมัครตัวแทนได้ที่ลิงค์ด้านล่างhttps://www.qyousatta.com/?ref=62สั่งซื้อสินค้าได้ที่ LINE : ttps://line.me/ti/p/Upkd4c7jzG

#6845

SCB ประกาศแต่งตั้ง นางสาวลลิตภัทร ธรณวิกรัย ดำรงตำแหน่งรองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Private Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นแม่ทัพนำทีมสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจบริหารความมั่งคั่งให้กับลูกค้าบุคคลที่มีความมั่งคั่งระดับสูงในประเทศไทย เป็นผู้คร่ำหวอดในแวดวงการเงินการลงทุน มีความรู้ ความสามารถและเชี่ยวชาญ ด้านการบริหารความมั่งคั่งให้กับลูกค้าระดับสูงของประเทศ จนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ด้านนางสาวลลิตภัทร พร้อมต่อยอดความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนให้กับลูกค้าระดับสูงของธุรกิจไพรเวทแบงก์กิ้ง โดยยึด 3 แกนหลักพัฒนาต่อเนื่องทั้งด้าน Wealth Preservation , Wealth Creation และเสริมศักยภาพ SCB Financial Business Group ให้เต็มรูปแบบจากความแข็งแกร่งของกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์มากยิ่งขึ้น รวมทั้งนำระบบ Digital platform มาใช้ในการคัดสรรผลิตภัณฑ์เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆจากทั่วโลก ตามความเสี่ยงที่รับได้อย่างแท้จริง สามารถส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างมั่นคงทั้งด้านธุรกิจและการลงทุน

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการประกาศแต่งตั้ง นางสาวลลิตภัทร ธรณวิกรัย ดำรงตำแหน่งรองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Private Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ ควบคู่กับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด เพื่อนำทีมสร้างการเติบโตในธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับสูงให้กับลูกค้าในประเทศไทยโดยนางสาวลลิตภัทร เป็นบุคคลหนี่งในแวดวงการเงินการธนาคาร ที่มีประสบการณ์สูงในเรื่องของไพรเวทแบงก์กิ้ง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและความรู้ด้านการเงิน การลงทุนที่รอบด้าน คร่ำหวอดในแวดวงธุรกิจบริหารความมั่งคั่งเป็นอย่างดี ด้วยประสบการณ์การทำงานกับธนาคารต่างชาติ และที่ธนาคารไทยพาณิชย์กว่า 20ปี จนเป็นที่ยอมรับในกลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่งระดับสูงในประเทศไทย จึงเชื่อมั่นว่านางสาวลลิตภัทร จะนำเอาความรู้ ความเข้าใจ และความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ มาช่วยในการสานต่อแผนยุทธศาสตร์และสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจไพรเวทแบงก์กิ้ง ให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่งและเป็นที่หนึ่งในใจลูกค้าได้อย่างยั่งยืน

นางสาวลลิตภัทร ธรณวิกรัย รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Private Bnaking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า พร้อมที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจบริหารความมั่งคั่งให้กับลูกค้าระดับสูงของประเทศไทย ผ่านธุรกิจไพรเวทแบงก์กิ้ง ให้เติบโตไปพร้อมกับความมั่งคั่งของลูกค้าอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี โดยธุรกิจไพรเวทแบงก์กิ้ง รับบริหารสินทรัพย์เพื่อการลงทุนตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป (High Net Worth Individuals ) ส่วนไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ รับบริหารสินทรัพย์ตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป (Ultra High Net Worth Individuals ) เพื่อเป็นการต่อยอดบริหารความมั่งคั่งให้กับลูกค้าที่สนใจลงทุนในต่างประเทศทั้ง100% โดยหัวใจสำคัญในการบริหารความมั่งคั่งคือต้องเข้าใจลูกค้า เข้าใจตลาดการลงทุน คัดสรรผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่นด้านการลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ในทุกช่วงเวลา เพื่อให้เงินลงทุนของลูกค้างอกเงยขึ้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

โดย SCB PRIVATE BANKING ยังคงยึด 3 แกนหลักที่เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ได้แก่ 1) การพัฒนาด้าน Wealth Preservation โดยยกระดับคุณภาพของทีมที่ปรึกษาด้านการบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคล (RM) ให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ความต้องการของลูกค้าด้านการลงทุนอย่างแท้จริง 2) การพัฒนาด้าน Wealth Creation บริการที่ปรึกษาด้านการเงินการลงทุนทั้งในส่วนบุคคลและธุรกิจของลูกค้าแบบครบวงจรมีการลงทุนแบบ Open Architecture Platform ที่สามารถเข้าถึงการลงทุนทั้งในและต่างประเทศในหลากหลายสินทรัพย์มากที่สุดในประเทศ และ 3) เสริมศักยภาพด้าน SCB Financial Business Group ให้เต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้นจากความแข็งแกร่งของกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ที่ครบเครื่องทั้งด้านความรู้ ความชำนาญและสินทรัพย์ที่ครบวงจร สามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า ครอบคลุมทั้งเรื่องธุรกิจและการลงทุน การผนึกกำลังทุกช่องทางของ SCB Group นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญในการเสริมศักยภาพของ SCB PRIVATE BANKING
#6847
วว. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เสริมแกร่งเกษตรกร ผู้ประกอบการไทย ด้วย วทน.

การขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG อยู่บนพื้นฐานของ 4 + 1 ประกอบด้วย 4  สาขายุทธศาสตร์ คือ 1. เกษตรและอาหาร  2. สุขภาพและการแพทย์  3. พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และ 4. การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์  โดยรัฐบาลกำหนดแผนยุทธศาสตร์ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG  พ.ศ. 2564-2569  ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ 1  สร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ  ด้วยการจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ธรรมชาติ ไม่ใช่เพียงทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตที่ใช้แล้วหมดไป แต่ธรรมชาติจะเป็นแหล่งกำเนิดของชีวิตและทุกสรรพสิ่งบนโลก เป็นพื้นฐานของความอยู่ดีกินดีของมนุษย์ รวมถึงการนำกลับมาใช้ซ้ำตามหลักการหมุนเวียน

ยุทธศาสตร์ที่ 2  การพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง  ด้วยทุนทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้ศักยภาพของพื้นที่โดยการระเบิดจากภายใน เน้นการตอบสนองความต้องการในแต่ละพื้นที่เป็นอันดับแรก ใช้ประโยชน์จากความเข้มแข็งของ "ความหลากหลายทางชีวภาพ" และ "ความหลากหลายทางวัฒนธรรม" มาต่อยอดและยกระดับมูลค่าในห่วงโซ่การผลิตสินค้าและบริการให้มีมูลค่าสูงขึ้น

ยุทธศาสตร์ที่ 3  ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน นำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมายกระดับประสิทธิภาพการผลิต ลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตให้เป็นศูนย์ การหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ หรือการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ยกระดับมาตรฐานและให้ความสำคัญกับระบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นลักษณะเศรษฐกิจแบบ "ทำน้อยได้มาก" แทน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก เน้นการสร้างภูมิคุ้มกัน และสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างเท่าทันเพื่อบรรเทาผลกระทบ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปเพิ่มศักยภาพของชุมชน ผู้ประกอบการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต/บริการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด สร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในฐานะหน่วยงานวิจัยและพัฒนาของประเทศ มีภารกิจสำคัญในการวิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ปัจจุบันดำเนินงานก้าวสู่ปีที่ 60 ตอบสนองนโยบายรัฐบาลและร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ โดยนำนโยบายเศรษฐกิจ BCG เป็นกรอบการดำเนินงาน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจทั้งระบบ เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ กระจายรายได้สู่ชุมชน สร้างชุมชนเข้มแข็ง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินงานของ วว. ประสบผลสำเร็จในการผลิตผลงาน ดังนี้

โครงการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคกลางตะวันตกด้วย BCG โมเดล สนับสนุนทุนวิจัยจาก สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภายใต้โครงการตาม พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ดำเนินงานจำนวน 2 โครงการ คือ

โครงการศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร (ICPIM)   เป็นคลังหัวเชื้อจุลินทรีย์กว่า 10,000  ชนิด  สร้างผู้ประกอบการได้  41  ราย  ชดเชยการนำเข้าหัวเชื้อจุลินทรีย์ได้ 30%  ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ  380  ล้านบาท และส่งผลกระทบทางสังคม 110  ล้านบาท   ประสบผลสำเร็จ  ดังนี้  1)  ขยายการผลิตจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นได้ 25,000 ลิตรต่อปี  2) พัฒนานวัตกรรมจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่โดดเด่น 15 สายพันธุ์ที่มีศักยภาพตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขึ้นทะเบียนสายพันธุ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกกับ อย.  จำนวน 8 สายพันธุ์ อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียน 7 สายพันธุ์  3) พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เสริมโพรไบโอติก  ได้แก่  ไอศกรีม  นมอัดเม็ด ปลาร้าผง  น้ำพริกพร้อมทาน เครื่องดื่มชงเย็น  jelly  และอาหารเสริมสูตรฟังก์ชั่นสำหรับลดน้ำหนัก  สร้างภูมิคุ้มกัน  ลดความเสี่ยงการเป็นเบาหวาน  กระตุ้นการทำงานของสมอง และปรับสมดุลร่างกาย  4) พัฒนานวัตกรรมการยืด Shelf  life ของโพรไบโอติกในผลิตภัณฑ์ต่างๆ   5) นวัตกรรมลดต้นทุนการผลิตโพรไบโอติกเพื่อการแข่งขันด้านราคากับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ   และ 6) นวัตกรรม synbiotics และ post-biotics  เพื่อเสริมภูมิสุขภาพและป้องกันโรค NCDs

โครงการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคกลางตะวันตกด้วย BCG โมเดล ส่งผลให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจำนวน 370 ล้านบาท ดังนี้ 1) ผลิตสารชีวภัณฑ์จำนวน 5 สายพันธุ์ นำไปสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานพื้นที่ "กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัด" รวมจำนวน 1.3 ล้านลิตร เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชทดแทนสารเคมีทางการและลดการนำเข้าสารเคมี โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสารชีวภัณฑ์ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และอยุธยา ครอบคลุม 4 กลุ่มพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ไม้ผล พืชไร่ (ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง) พืชสมุนไพรและพืชผัก 2) พัฒนากระบวนการขยายชีวภัณฑ์ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการเพื่อขยายสู่การผลิตเชิงพาณิชย์และระดับชุมชน 3) จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมผลิตเชื้อจุลินทรีย์ทางการเกษตร (Innovative Center for Production of Microorganisms Used in Agro- Processing Industry, ICAP) มีกำลังการผลิต 115,000 ลิตรต่อปี

นอกจากนี้ วว. ยังประสบผลสำเร็จในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ร่วมขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ BCG ในสาขาอื่นๆ ที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นรูปธรรม ดังนี้

โครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับด้วยนวัตกรรมเกษตร โดยใช้แนวทางมาลัยวิทยสถาน อว. สนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อร่วมสนับสนุนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ด้วยการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ พร้อมทำหน้าที่เป็นวิทยสถานแห่งปัญญา พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรม ตลาดไม้ดอกไม้ประดับและผลิตภัณฑ์ นำร่องส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่จังหวัดเลยและลำปาง สามารถรวมกลุ่มผู้ประกอบการได้จำนวน 6 กลุ่มเป็นคลัสเตอร์ ประกอบด้วย คลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับจังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา เลย สุพรรณบุรี นครนายก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 90 ล้านบาทต่อปี

โครงสร้างพื้นฐานธนาคารเมล็ดพันธุ์ชุมชน (Community Seed Bank) ณ สถานีวิจัยลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา มีศักยภาพอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พืช 20-50 ปี เก็บรักษาตัวอย่างเมล็ดพืชสูงสุด 10,000 ตัวอย่าง มุ่งขับเคลื่อน 3 มิติ คือ สำรวจ-อนุรักษ์ วิจัย-นำไปใช้ประโยชน์และให้บริการชุมชน

โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมและนวัตกรรมอาหารปลอดภัยประสบผลสำเร็จพัฒนาและทดสอบ "ข้าวสมุนไพรที่มีสารสำคัญถั่งเช่า" มีคุณสมบัติเด่นช่วยต้านอนุมูลอิสระ สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย พร้อมต่อยอดแปรรูปเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพร "ชาใบข้าว" เพื่อสุขภาพ และพัฒนาต่อยอดด้านบรรจุภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อช่วยรักษาคุณภาพและลดความสูญเสียสินค้า รวมทั้งให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการส่งออกสินค้า

โครงการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ประสบผลสำเร็จพัฒนานวัตกรรมน้ำตาลที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้สมดุล และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต "น้ำตาลพาลาทีน" ให้แก่ บริษัทน้ำตาลราชบุรี โดยมีกำลังการผลิต 60 ตันต่อปี มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ 10 ล้านบาทต่อปี และมีแผนการส่งออกในอนาคต

โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสกัดโปรตีนเข้มข้นจากพืชฐานชีวภาพของไทยระดับห้องปฏิบัติการ โดยร่วมกับบริษัทไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สำหรับผลิตเป็นอาหารฟังก์ชั่นสู่เชิงพาณิชย์ (Plant Based Meat) ที่ไม่มีสารก่อภูมิแพ้ เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์เทียม

โครงการพัฒนาสมุนไพรอัตลักษณ์ประจำถิ่น  โดยการทดสอบคุณภาพ  ประสิทธิภาพ  และส่งเสริมให้วิสาหกิจชุมชนจังหวัดน่านผลิตสารสกัดสมุนไพรส่งให้บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรตรีผลา มีมูลค่าการตลาด  50 ล้านบาทต่อปี และส่งเสริมสมุนไพรอัตลักษณ์อื่นๆ เช่น ใบหมี่ และมะไฟจีน เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากทรัพยากรภายในประเทศ

โครงการวิจัยและพัฒนาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากแพะ (การสกัดแยกกลิ่นและศึกษา Male Pheromone จากขนแพะเหลือทิ้ง) สนับสนุนทุนวิจัยโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประสบผลสำเร็จวิจัยพัฒนานวัตกรรมการสกัดขนแพะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์น้ำหอมได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยผลิตภัณฑ์มีกลิ่นเฉพาะตัว โดดเด่น และลอกเลียนแบบยาก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมน้ำหอมและเครื่องสำอางในอนาคต เป็นการส่งเสริมนโยบาย BCG ในการเป็น Circular Economy ที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้ง และทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ มีคุณค่า

โครงการพัฒนาไบโอเมทานอลจากวัสดุเหลือทิ้ง เพื่อต่อยอดการสร้างโรงงานไบโอเมทานอลต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทยและลดการนำเข้าเมทานอล 100% โดย บริษัท BLCP นำผลงานวิจัยระดับห้องปฏิบัติการไปขยายผลและต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะพลาสติกในชุมชนเพื่อการบูรณาการอย่างยั่งยืน ณ ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ภายใต้ "ตาลเดี่ยวโมเดล" เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ 4 ภูมิภาค ได้แก่ สระบุรี ชลบุรี เชียงราย และหนองคาย สร้างรายได้ให้หน่วยงานท้องถิ่นกว่า 10 ล้านบาทต่อปี พร้อมมุ่งขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ ของประเทศต่อไป

การดำเนินงานตามนโยบายเศรษฐกิจ BCG ของ วว. ดังกล่าว เป็นผลงานที่สำเร็จเป็นรูปธรรมและนำไปใช้จริงทั้งในบริบทเชิงเศรษฐกิจและเชิงสังคม มุ่งมั่นขยายผลโครงการให้ครอบคลุมพื้นที่การใช้ประโยชน์ตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและมุ่งวิจัยพัฒนาผลงานใหม่อย่างต่อเนื่อง ให้บริการเบ็ดเสร็จครบวงจร ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน เพื่อความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนของประเทศไทย
#6848
ดาวโจนส์เปิดตลาดพุ่งกว่า 500 จุด ขานรับเจรจารัสเซีย-ยูเครนคืบหน้า ปูทางยุติสงคราม

ดัชนีดาวโจนส์เปิดตลาดพุ่งขึ้นกว่า 500 จุดในวันนี้ หลังการเจรจาระหว่างรัสเซียและยูเครนประสบความคืบหน้า ซึ่งจะปูทางให้สงครามในยูเครนยุติลง

นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากการที่ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มปรับตัวมีเสถึยรภาพ หลังจากที่พุ่งขึ้นก่อนหน้านี้ และสร้างความกังวลเกี่ยวกับการดีดตัวขึ้นของเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

ณ เวลา 21.32 น.ตามเวลาไทย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์อยู่ที่ 33,201.55 จุด บวก 568.91 จุด หรือ 1.74%

หุ้นกลุ่มธนาคารพุ่งขึ้นนำตลาดวันนี้ สวนทางหุ้นพลังงานที่ดิ่งลงเพียงกลุ่มเดียวในตลาด สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่ทรุดตัวลงอย่างหนัก

นักลงทุนคาดหวังว่าสงครามในยูเครนใกล้ยุติลง หลังจากมีข่าวว่ายูเครนได้ล้มเลิกความตั้งใจที่จะเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ขณะที่รัสเซียเปิดเผยว่าการเจรจากับยูเครนมีความคืบหน้า

ทั้งนี้ ทางการรัสเซียแถลงในวันนี้ว่า การเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนเพื่อแก้ไขความขัดแย้งกำลังมีความคืบหน้า และรัสเซียไม่มีความประสงค์ที่จะโค่นล้มรัฐบาลยูเครน

"การเจรจาประสบความคืบหน้า" นางมาเรีย ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียกล่าว โดยระบุถึงการเจรจาสันติภาพ 3 รอบระหว่างคณะผู้แทนของรัสเซียและยูเครน

นางซาคาโรวากล่าวว่า รัสเซียไม่มีความประสงค์ที่จะยึดครองยูเครน หรือโค่นล้มรัฐบาลยูเครน

"เป้าหมายของกองทัพไม่ได้ต้องการยึดครองยูเครน หรือทำลายความเป็นรัฐของยูเครน หรือคว่ำรัฐบาลยูเครน และไม่มีเป้าหมายโจมตีพลเรือน" นางซาคาโรวากล่าว
นายดมิทรี เพสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน กล่าวว่า รัสเซียต้องการที่จะเจรจาสันติภาพรอบใหม่กับยูเครน ทันทีที่คณะผู้แทนของยูเครนมีความพร้อม

นอกจากนี้ นายเพสคอฟยังกล่าวว่า การเจรจาระหว่างนายเซอร์เก ลาฟรอฟ รมว.ต่างประเทศรัสเซีย และนายดมิโทร คูเลบา รมว.ต่างประเทศยูเครน ในวันพรุ่งนี้ที่ตุรกี ถือว่ามีความสำคัญในกระบวนการหารือเพื่อหาทางออกต่อวิกฤตการณ์ในยูเครน

ราคาน้ำมันดิบร่วงลงในวันนี้ โดยล่าสุด สัญญาล่วงหน้า WTI ร่วงหลุดระดับ 117 ดอลลาร์ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์หลุดระดับ 121 ดอลลาร์ หลังมีข่าวว่า สำนักงานพลังงานสากล (IEA) เตรียมระบายน้ำมันออกสู่ตลาดเพื่อสกัดราคาที่พุ่งขึ้นในขณะนี้

นักลงทุนจับตาตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันพรุ่งนี้ ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 15-16 มี.ค. ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 2 ในปีนี้

นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ส่งสัญญาณว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนนี้ ซึ่งไม่รุนแรงเหมือนกับที่นักวิเคราะห์บางรายคาดว่าจะปรับขึ้น 0.50%
#6849
ดาวโจนส์พุ่งไม่หยุด ล่าสุดทะยานกว่า 700 จุด ขานรับความหวังใกล้ปิดฉากสงคราม

ดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในวันนี้ ล่าสุดทะยานกว่า 700 จุด หลังการเจรจาระหว่างรัสเซียและยูเครนประสบความคืบหน้า ซึ่งจะปูทางให้สงครามในยูเครนยุติลง

นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากการที่ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มปรับตัวมีเสถึยรภาพ หลังจากที่พุ่งขึ้นก่อนหน้านี้ และสร้างความกังวลเกี่ยวกับการดีดตัวขึ้นของเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

ณ เวลา 00.01 น.ตามเวลาไทย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์อยู่ที่ 33,364.09 จุด บวก 731.45 จุด หรือ 2.24%

หุ้นกลุ่มธนาคารพุ่งขึ้นนำตลาด สวนทางหุ้นพลังงานที่ดิ่งลงเพียงกลุ่มเดียวในวันนี้ สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่ทรุดตัวลงอย่างหนัก

นักลงทุนคาดหวังว่าสงครามในยูเครนใกล้ยุติลง หลังจากมีข่าวว่ายูเครนได้ล้มเลิกความตั้งใจที่จะเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ขณะที่รัสเซียเปิดเผยว่าการเจรจากับยูเครนมีความคืบหน้า

ทั้งนี้ ทางการรัสเซียแถลงในวันนี้ว่า การเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนเพื่อแก้ไขความขัดแย้งกำลังมีความคืบหน้า และรัสเซียไม่มีความประสงค์ที่จะโค่นล้มรัฐบาลยูเครน

"การเจรจาประสบความคืบหน้า" นางมาเรีย ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียกล่าว โดยระบุถึงการเจรจาสันติภาพ 3 รอบระหว่างคณะผู้แทนของรัสเซียและยูเครน

นางซาคาโรวากล่าวว่า รัสเซียไม่มีความประสงค์ที่จะยึดครองยูเครน หรือโค่นล้มรัฐบาลยูเครน

"เป้าหมายของกองทัพไม่ได้ต้องการยึดครองยูเครน หรือทำลายความเป็นรัฐของยูเครน หรือคว่ำรัฐบาลยูเครน และไม่มีเป้าหมายโจมตีพลเรือน" นางซาคาโรวากล่าว
นายดมิทรี เพสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน กล่าวว่า รัสเซียต้องการที่จะเจรจาสันติภาพรอบใหม่กับยูเครน ทันทีที่คณะผู้แทนของยูเครนมีความพร้อม

นอกจากนี้ นายเพสคอฟยังกล่าวว่า การเจรจาระหว่างนายเซอร์เก ลาฟรอฟ รมว.ต่างประเทศรัสเซีย และนายดมิโทร คูเลบา รมว.ต่างประเทศยูเครน ในวันพรุ่งนี้ที่ตุรกี ถือว่ามีความสำคัญในกระบวนการหารือเพื่อหาทางออกต่อวิกฤตการณ์ในยูเครน

นายอิฮอร์ โซฟวา เจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเครน และเป็นผู้ช่วยของประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน กล่าวว่า ยูเครนเปิดกว้างที่จะหาทางออกตามแนวทางการทูตเพื่อยุติสงครามกับรัสเซีย

นอกจากนี้ นายโซฟวากล่าวว่า ปธน.เซเลนสกีพร้อมที่จะพบกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน

ราคาน้ำมันดิบร่วงลงในวันนี้ โดยล่าสุด สัญญาล่วงหน้า WTI ร่วงหลุดระดับ 117 ดอลลาร์ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์หลุดระดับ 120 ดอลลาร์ หลังมีข่าวว่า สำนักงานพลังงานสากล (IEA) เตรียมระบายน้ำมันออกสู่ตลาดเพื่อสกัดราคาที่พุ่งขึ้นในขณะนี้

นักลงทุนจับตาตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันพรุ่งนี้ ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 15-16 มี.ค. ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 2 ในปีนี้

นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ส่งสัญญาณว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนนี้ ซึ่งไม่รุนแรงเหมือนกับที่นักวิเคราะห์บางรายคาดว่าจะปรับขึ้น 0.50%
#6850
ปธน.จีนเน้นย้ำความมั่นคงด้านอาหาร ตั้งเป้าพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่

จีนให้คำมั่นในการยกระดับความสำคัญของกำลังการผลิตทางการเกษตรแบบครบวงจร ระหว่างการประชุมสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและที่ปรึกษาทางการเมืองของจีนที่กรุงปักกิ่ง เพื่อจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาในปี 2565

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ประชุมร่วมกับที่ปรึกษาทางการเมืองระดับชาติจากภาคเกษตรกรรม สวัสดิการ และประกันสังคม เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่สองของการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) พร้อมเรียกร้องว่า อย่าละเลยประเด็นเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร เพราะความมั่นคงด้านอาหารเป็นหนึ่งในผลประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่สุดของประเทศ และในขณะเดียวกันผู้นำจีนก็ตั้งคำถามว่า "ใครจะเป็นคนเลี้ยงจีน"

ปธน.สี กล่าวว่า การกินเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด และอาหารเป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานที่สุดของประชาชน พร้อมกล่าวว่า เมื่อเจ็ดทศวรรษที่แล้ว จีนมีประชากรขาดอาหารถึง 400 ล้านคน แต่วันนี้ผู้คน 1.4 พันล้านคนได้กินอย่างดีและมีทางเลือกหลากหลาย จีนสามารถเลี้ยงคนได้ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งโลก ด้วยพื้นที่เพาะปลูก 9% และแหล่งน้ำจืด 6% ของทั้งโลก

"แม้จีนจะเป็นชาติอุตสาหกรรมแล้ว แต่ก็ไม่ควรมองว่าอุปทานอาหารเป็นปัญหาที่ไม่สำคัญ และจีนไม่สามารถพึ่งพาตลาดต่างประเทศแต่เพียงอย่างเดียวในการแก้ปัญหานี้" ปธน.จีน กล่าว
ปธน.สี เน้นด้วยว่า ความมั่นคงด้านทรัพยากรเมล็ดพันธุ์เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของประเทศ จำเป็นต้องเพิ่มการพึ่งพาตนเองในเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ และสร้างความมั่นใจว่าทรัพยากรเมล็ดพันธุ์ของประเทศสามารถเลี้ยงตัวได้และมีการควบคุมที่ดีขึ้น ปธน.สี กล่าวโดยเน้นถึงความสำคัญของการปฏิรูปกลไกทางวิทยาศาสตร์การเกษตร และบทบาทด้านนวัตกรรมของวิสาหกิจ

การไม่มีอาหารเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมจัดเลี้ยงถือเป็นภารกิจระยะยาว และเราต้องใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสังคมอนุรักษ์ทรัพยากร

นอกจากนี้ จีนตั้งเป้าที่จะสร้างระบบนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ภายในปี 2568 ตามแนวทางการพัฒนาของสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศจีน (CAAS) สำหรับแผนห้าปี ฉบับที่ 14

โดยในระหว่างการหารือ ปธน.สี จิ้นผิง ยังชี้ด้วยว่า ต้องมีความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบประกันสังคมคุณภาพสูง และเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมจะต้องได้รับการพัฒนาต่อไปเพื่อสวัสดิภาพของประชาชน

 
#6851
Line : Lakkana99 , 0812079977
เบอร์ติดต่อ : 081-6428557 (คุณสมนึก) , 081-6428556 (คุณลักขณา)
เรียบเรียงบทความโดย : https://www.cctgroup.co.th
#6854
ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 2/2565 การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2565


โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ กพอ. เป็นประธาน ประชุมผ่าน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้รับทราบ และพิจารณาความก้าวหน้า การดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้

1. ยกระดับสินค้าโอทอป นำนวัตกรรมพัฒนาสินค้า ขายตรงความต้องการตลาด เพิ่มรายได้ชุมชนในพื้นที่ อีอีซี

ที่ประชุม กพอ. รับทราบ โครงการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและผู้ค้ารายย่อยในอีอีซี นำเทคโนโลยี มาส่งเสริมสินค้าโอทอป (OTOP) เพิ่มศักยภาพการขยายช่องทางจำหน่ายให้ตรงตามความต้องการของตลาด อีกทั้ง ช่วยหาแหล่งเงินทุนให้ผู้ค้ารายย่อย ชุมชน พร้อมตั้งกลุ่มเป้าหมายและสินค้าที่นิยมในพื้นที่นำร่อง อย่างน้อย 10 ชุมชน ได้แก่

จังหวัดระยอง เช่น ทุเรียนทอดกรอบ เครื่องเงิน จังหวัดชลบุรี เช่น พุดดิ้งมะพร้าวอ่อน ข้าวกล้อง สบู่เปลือกมังคุด จังหวัดฉะเชิงเทรา เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ หมูแท่งอบกรอบ เป็นต้น โดยมีแนวทางดำเนินการ 2 รูปแบบ ได้แก่ ตั้งบรรษัทวิสาหกิจชุมชน (EEC EnterPrise) เช่น การลงทุนร่วมระหว่าง สกพอ. สำนักงานกองทุนหมู่บ้าน เอกชน ทำหน้าที่ วางแผนการผลิต การตลาดส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง และศูนย์พัฒนาธุรกิจชุมชน (EEC Incubation Center) ทำหน้าที่ ศึกษาวิจัย พัฒนาสินค้าชุมชนให้มีคุณภาพ ในระดับมาตรฐานมีรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ รวมทั้งฝึกอบรมบุคลากรให้ทำงานร่วมกับนวัตกรรมใหม่ โดยคาดว่าโครงการฯ จะเริ่มดำเนินการได้ภายในตุลาคม 2565 นี้

ประโยชน์ที่ได้รับ สามารถเพิ่มยอดขายสินค้าชุมชนไม่ต่ำกว่า 30% รายได้รวม (GDP) ระดับชุมชนประมาณ 20% และเศรษฐกิจชุมชนเพิ่มขึ้นประมาณ 20% นอกจากนี้ ทำให้ผู้ซื้อสินค้า ผู้บริโภค และนักท่องเที่ยว ได้ใช้สินค้าและบริการที่ดี
มีคุณภาพ เกิดแรงจูงใจกลับมาเที่ยวซ้ำ ทำให้ชุมชนคนพื้นที่ อีอีซี เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ มีรายได้ดีมั่นคง

2. สิทธิประโยชน์อีอีซี ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ก้าวสำคัญดึงลงทุนสู่พื้นที่ อีอีซี

ความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการอีอีซี โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 ครม. มีมติเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษ ซึ่งเป็นการกำหนดสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมพิเศษ รวม 7 เขต ได้แก่ เมืองการบิน ภาคตะวันออก (EECa) เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันอออก (EECi) เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) เขตส่งเสริมรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (EECh) ศูนย์นวัตกรรมการแพทยครบวงจรธรรมศาสตร์ (พัทยา) การแพทย์จีโนมิกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) และศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีชั้นสูงบ้านฉาง

โดยเริ่มนำร่องที่เขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) เป็นพื้นที่ต้นแบบ (Sandbox) ให้สิทธิประโยชน์ อีอีซี แก่นักลงทุน ก่อนขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ เพื่อสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี โดยร่างประกาศสิทธิประโยชน์ฯ มีหลักการที่สำคัญคือ การสร้างนวัตกรรมการให้บริการสนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐ เน้นการออกแบบสิทธิประโยชน์ตรงตามความต้องการของนักลงทุน โดยการเจรจาให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนแต่ละราย ซึ่งจะเป็นต้นแบบที่ใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นกลุ่มนักลงทุนที่มีศักยภาพ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความสำคัญต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ หุ่นยนต์ โลจิสติกส์ การแพทย์สมัยใหม่ ดิจิทัล และอุตสาหกรรมกลุ่ม BCG ที่ลงทุนใน 7 เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษฯ ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์อีอีซี เน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ทำให้เกิดการลงทุนที่คล่องตัว เพื่อจูงใจนักลงทุนรายใหญ่เข้าสู่พื้นที่ อีอีซี ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเงินลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า ได้ตามเป้าหมายของอีอีซี

3. เตรียมงานระดับโลก International Air Show โชว์ศักยภาพอุตสาหกรรมการบิน จูงใจการลงทุนสู่พื้นที่ อีอีซี

ที่ประชุม กพอ. พิจารณาให้ สกพอ. ร่วมกับ กองทัพเรือ และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์กรมหาชน) หรือ สสปน. จัดงานแสดงสินค้านานาชาติด้านอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย (Thailand International Air Show) ในพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา เพื่อแสดงศักยภาพและความพร้อมธุรกิจการให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยาน และจะส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวสู่ศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาค อีกทั้งทำให้เกิดแรงจูงใจกับนักลงทุนและเชื่อมโยงนักธุรกิจในอุตสาหกรรมการบินระดับโลกเข้ามาลงทุนในเขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก เกิดการเจรจาจับคู่ทางธุรกิจร่วมกันจุดนี้ถือเป็นกำลังสำคัญ เสริมแกร่งการลงทุนเข้าสู่ในพื้นที่ อีอีซี ตามเป้าหมายเม็ดเงินลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท ภายใน 5 ปี

การจัดงานฯ จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2568 สอดคล้องกับระยะเวลาเปิดบริการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา คาดว่าจะมีผู้ร่วมงานรวมประมาณ 5,425 คน และการจัดงานอย่างเต็มรูปแบบในปี 2570 จะมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 36,300 คน มีผู้เข้าแสดงงานประมาณ 1,240 ราย ทั้งนี้ การดำเนินงานภายใต้โครงการฯ จะมีการจัดงานที่เกี่ยวข้องทั้งงานใหม่และงานที่จัดต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ปี 2566 - 2570 จำนวน 28 งานในพื้นที่ อีอีซี ซึ่งเมื่อรวมมูลค่าทางเศรษฐกิจของงาน Thailand International Air Show ทั้งหมด จะสามารถสร้างรายได้รวมให้แก่ประเทศ มากถึงประมาณ 8,200 ล้านบาท
#6855
ครม.ขยายเวลาโครงการสนับสนุน SME มุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียว อีก 18 เดือน

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบขยายระยะเวลาดำเนินโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียวโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำออกไปอีก 18 เดือน ถึงวันที่ 30 มิ.ย.66 หลังจากสิ้นสุดโครงการไปเมื่อวันที่ 31 ธ.ค.64

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถเพื่อยกระดับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันและมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงาน ตลอดจนลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศในระยะยาวต่อไป

สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฯ ที่ผ่านมามาจากเงินทุนร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) โดย GEF สนับสนุนเงินจำนวน 1.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฝ่ายไทยร่วมสมทบงบดำเนินการที่อยู่ในรูปแบบเงินสด และไม่อยู่ในรูปแบบเงินสดจากกระทรวงอุตสาหกรรมจำนวน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ในฐานะหน่วยงานร่วมดำเนินการสำหรับเงินกู้สำหรับเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการ หรือที่สนใจกู้เพี่อใช้ในการปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์จำนวน 7.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยยังมีกิจกรรมที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เช่น การปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ของเอสเอ็มอี เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยได้ใช้เงินที่ได้รับสนับสนุนจาก GEF ไปจำนวน 0.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คงเหลือ 1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในส่วนของงบดำเนินการที่อยู่ในรูปแบบเงินสดและที่ไม่ใช่เงินสดจากกระทรวงอุตสาหกรรม 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และวงเงินสินเชื่อสำหรับเอสเอ็มอีจากธพว.จำนวน 7.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งว่า ยังไม่ได้มีการเบิกจ่าย ดังนั้นจึงต้องขอขยายระยะเวลาโครงการฯ ออกไปอีก 18 เดือน สิ้นสุดโครงการวันที่ 30 มิ.ย.66 เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการฯได้สำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์