• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

เบรกเกอร์ หรือคัทเอาท์ช่วยชีวิต

Started by homemie, November 19, 2021, 12:55:10 PM

Previous topic - Next topic

homemie

เบรกเกอร์และตู้ไฟ คัทเอาท์ (Breaker Consumer Unit)
เบรกเกอร์ ตู้ไฟฟ้า หรือ ตู้คอนซูเมอร์ยูนิต (ตู้ เซอร์วิสไฟ) หรือ คัทเอาท์ เป็นอุปกรณ์สำหรับการป้องกันระบบไฟฟ้าภายในบ้านและตัวอาคาร ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานระบบไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทุกอาคารบ้านเรือนจะต้องมีการติดตั้งเบรกเกอร์และตู้ไฟไว้ใช้งานอย่างแน่นอน โดยหน้าที่ของเบรกเกอร์นั้นจะเป็นตัวเปิดปิดกระแสไฟฟ้าในกรณีที่มีการใช้งานกระแสไฟฟ้าสูงเกินไป หรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจร สามารถป้องกันปัญหาไฟรั่วและป้องกันอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าได้อย่างเยี่ยมมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการเลือกเบรกเกอร์และตู้ไฟฟ้า สำหรับใช้งานจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานภายในบ้านให้ได้มากที่สุด
สำหรับตู้ไฟและเบรกเกอร์ที่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปในประเทศก็มีให้เลือกหลากหลายแบบและยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ชั้นนำอย่าง คัทเอาท์ เซฟทีคัท (SAFE-T-CUT), HACO, SCHNEIDER, B-TICINO หรือ PANASONIC ซึ่งแต่ละแบรนด์สินค้าก็มีความโดดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ที่สำคัญคือเรื่องของราคาตู้ไฟและเบรกเกอร์ที่มีให้เลือกหลากหลายราคา ซึ่ง
ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต (Consumer Unit)
ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต หรือตู้ไฟ เป็นชุดกล่องเหล็กหรือกล่องพลาสติกสำหรับใส่ฟิวส์หรือเบรกเกอร์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเรียงกันเป็นแถวเดียว นิยมใช้เป็นแผงไฟฟ้าสำเร็จรูปตามบ้านเรือนหรือสำนักงานทั่วไป ตู้ไฟโดยทั่วไปที่มีให้เลือกใช้งานในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ แบบปลั๊กอิน (Plug-In Type) และ แบบเดินราง (Din-Rail Type) โดยทั้ง 2 ชนิดก็จะประกอบไปด้วย เมนเบรกเกอร์ (Main Circuit Breaker) และ เบรกเกอร์ย่อย (Branch Circuit Breaker) เป็นตัวที่เสียบต่ออยู่กับบัสบาร์ (Bus Bar) มีขั้วต่อสายนิวทรัล (Neutral) และขั้วต่อสายกราวด์หรือสายดิน ขนาดที่นิยมใช้ทั่วไปจะมีจำนวนเบรกเกอร์ย่อยหรือวงจรย่อยตั้งแต่ 4-18 วงจร
ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต การเลือกตู้ไฟฟ้ามาใช้งานนั้นให้พิจารณาจากวงจรหน่วยย่อยที่ต้องการใช้งาน และควรเลือกเผื่อเอาไว้สัก 1-2 วงจรสำหรับโหลดในอนาคต โดยปกติแล้วการเลือกซื้อตู้คอนซูเมอร์หรือตู้ไฟ จะได้รับเพียงตัวกล่องเท่านั้น จะต้องทำการซื้อเมนเบรกเกอร์และวงจรย่อยต่างหาก เนื่องจากความต้องการในการใช้งานเมนเบรกเกอร์และเบรกเกอร์ย่อยของแต่ละสถานที่มีความแตกต่างกันไป แต่สำหรับบ้านเรือนและที่อยู่อาศัยโดยทั่วไปตามมาตรฐานแล้วได้กำหนดค่า IC ของเมนเบรกเกอร์ต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ 10 kA ซึ่งค่าดังกล่าว คือ ค่าพิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดของตัวเบรกเกอร์ โดยค่าพิกัดที่คุณควรรู้เบื้องต้นมีดังนี้ ...
Interrupting Capacitive (IC): พิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดโดยปลอดภัยของเบรกเกอร์นั้นๆ
Amp Trip (AT): ขนาดกระแสที่ใช้งาน เป็นตัวบอกให้รู้ว่าเบรกเกอร์ตัวนั้นสามารถทนต่อกระแสในภาวะปกติได้สูงสุดเท่าใด
Amp Frame (AF): พิกัดกระแสโครง หมายถึงขนาดการทนกระแสของเปลือกหุ้มเป็นพิกัดการทนกระแสสูงสุดของเบรกเกอร์นั้นๆ